ถ้ำหลวงต้องรอด! ย้อนรอยปาฏิหาริย์กู้ภัย 33 คนงานเหมืองถ้ำชิลี ติดอยู่ใต้ดิน 69 วัน

ต้องรอด! ย้อนรอยปาฏิหาริย์กู้ภัย 33 คนงานเหมืองชิลี ติดอยู่ใต้ดิน 69 วัน

โดยเหตุการณ์ดังกล่าว ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “33” ฉายทั่วโลกในปี 2015
(ชมตัวอย่างภาพยนตร์)

ในขณะที่ตอนในปฎิบัติการภารกิจกู้ภัยนักฟุตบอลเยาวชน และโค้ชรวม 13 ชีวิตที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงรายจะเข้าวันที่ 5 แล้ว แต่ทุกหน่วยงานก็ยังคงระดมกำลังอย่างสุดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือ

*** HUGO INFANTE/GOVERNMENT OF CHILE ***
President Sebastian Pi–era watches the first dry run of the descent of the unmanned Phoenix 2 rescue capsule into the hole that will save the 33 trapped miners at San Jose mine near Copiapo, Chile on October 12, 2010.
*** MANDATORY CREDIT: HUGO INFANTE/GOVERNMENT OF CHILE *** NO SALES. EDITORIAL USE ONLY.
ซึ่งในการปฎิบัติการกู้ภัยครั้งนี้ทางโพสต์ทูเดย์ออนไลน์จะพาไปย้อนชมสุดยอดภารกิจกู้ภัยที่เคยสร้างความระทึกไปทั้งโลก สำหรับเหตุการณ์คนงานเหมือนในประเทศชิลีจำนวน 33 ชีวิต ติดอยู่ลึกลงลงไปในใต้ดินราว 700 เมตร และต้องใช้เวลาในการกู้ภัยนานถึง 69 วัน


โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม ถึง13 ตุลาคม 2010 ที่เหมืองในโกเปียโป ประเทศชิลี (2010 copiapó mining accident) โดยเหตุเกิดจากโครงสร้างของเหมืองที่ไม่มั่นคงและเกิดพังถล่มลงมาจนเป็นเหตุให้คนงานเหมืองทั้ง 33 คน ติดอยู่ใต้ดิน โดยมีการพบสัญญาณชีพว่าคนงานเหมืองทั้งหมดยังคงรอคอยความช่วยเหลือ

หลังจากนั้นวันที่ 22 สิงหาคม ราว 17 วันหลังจากเกิดเหตุเหมืองถล่ม เจ้าหน้าที่เหมืองได้รับแจ้งว่ามีคนงานทำงานในเหมืองราว 130 คน เจ้าหน้าที่ซึ่งได้ระดมกำลังเข้าช่วงเหลือได้พบสัญญาณชีพว่า

ผ่านทางกระดาษข้อความเขียนว่า มีคนงานเหมืองจำนวน 33 คนยังติดอยู่ใต้ดินและยังสบายดี โดยพวกเขาหลบอยู่ในโถงนิรภัย รวมทั้งยังมีอาหารและน้ำพอประทังชีวิตได้ระยะหนึ่ง

Rescue workers practice a dry run with one of the capsules that will be used to liberate the trapped miners at the San Jose mine near Copiapo, Chile on October 11, 2010.
วันที่ 3 กันยายน เกือบ 1 เดือนหลังจากเหตุถล่ม นั้นปฏิบัติการกู้ภัยได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง โดยมีการใช้เครื่องเจาะเป็นรูลงไปด้านล่าง แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคเมื่อเครื่องเจาะผ่านชั้นหินที่แข็งมาก

จนต้องมีการนำหัวเจาะจากต่างประเทศเข้ามาช่วยงาน จึงนำเนินการเจาะรู้ต่อไป แต่การเจาะก็ต้องเป็นไปด้วยความลำบากเนื่องจากมีหินขนาดใหญ่เท่ากับตึก 10 ชั้นขวางทางขุดเจาะอยู่ ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอันตรายต่อทั้ง 33 ชีวิตที่ติดอยู่ข้างใต้

จนกระทั้งวันที่ 27 สิงหาคม ก็สามารถขุดเจาะไปยังส่วนที่ทั้ง 33 ชีวิตติดอยู่ และมีการส่งภาพวิดิโอแรกกลับมายังบนพื้นดิน และฝากไปยังครอบครัวของพวกเขา รวมถึงยังสามารถส่งความช่วยเหลือด้านอาหารและน้ำ รวมถึงสิ่งของต่างๆผ่านช่องขนาดเล็กที่เจาะลงไปถึงจุดทื่คนงานติดอยู่

วันที่ 5 กันยายน ปฏิบัติการขุดเจาะช่วยเหลือได้เริ่มต้นขึ้น เครื่องขุดเจาะขนาดใหญ่ Schramm T130XD เริ่มทำงาน โดยต้องขุดเจาะตามแบบแผนต้องเจาะลึกลงตามระดับชั้นดิน

Miner Osman Araya hugs his wife after arriving as the sixth miner to be hoisted to the surface in Copiapo October 13, 2010. Chile’s 33 trapped miners are set to travel nearly half a mile through solid rock in a shaft just wider than a man’s shoulders on Tuesday night, as their two month ordeal after a cave-in draws to an end. CREDIT: Reuters
โดยต้องใช้เวลาในการวางแผนอย่างรอบคอบโดยแบ่งเป็นการเจาะแบบแผน A แผน B และ แผน C โดยการเจาะจะเป็นการเจาะให้มีขนาดใหญ่พอที่จะพาคนงานทั้ง 33 คนออกมาได้

*** HUGO INFANTE/GOVERNMENT OF CHILE ***
Mario Sepulveda, 39, is the second miner to leave the San Jose mine with the Phoenix rescue capsule the night of October 12, 2010. An accident trapped 33 miners for over nine weeks in the mine located near Copiapo, Chile.
*** MANDATORY CREDIT: HUGO INFANTE/GOVERNMENT OF CHILE *** NO SALES. EDITORIAL USE ONLY.
วันที่ 24 กันยายน ถึงขณะนี้นับเป็นเวลากว่า 50 วันแล้วที่คนงานเหมืองติดอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นระยะเวลานานที่สุดในประวัติศาสตร์ การขุดเจาะยังคงดำเนินต่อไป

จนกระทั้งวันที่ 11 ตุลาคม แคปซูลที่มีชื่อว่า”ฟีนิกซ์” มีลักษณะเป็นกระสวยขนาดมีเซนผ่าศูนย์กลาง 54 เซนติเมตร ซึ่งทางรัฐบาลชีลีได้ขอความช่วยเหลือไปทางองค์การนาซาของสหรัฐในการดัดแปลงกระสวยดังกล่าวรวมกับกองทัพของชิลี เพื่อใช้สำหรับภารกิจกู้ภัยนี้โดยเฉพาะ

วันที่ 12 ตุลาคม คนงานเหมืองคนแรกทยอยนำขึ้นสู่พื้นดินครั้งละ 1 คน ตลอดทั้งคืน โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 22 ชั่วโมง 50 นาที จนกระทั้งเวลา 21:56 น.ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 13 ตุลาคม คนงานเหมืองทั้ง 33 คน ก็สามารถช่วยขึ้นมาบนพื้นดินได้สำเร็จ

โดยเหตุการณ์ครั้งนี้นับว่าเป็นปฎิบัติการช่วยเหลือครั้งปาฏิหาริย์ทั้งคนงานทุกคนปลอดภัย และภายหลังมีการถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ชื่อว่า “The 33” ด้วย

ย้อนรอยเหตุระทึก คนงานเหมืองชิลี 33 ชีวิต ติดอยู่ใต้ดิน ลึกเกือบ 700 เมตร 68 วัน แห่งการรอคอย 68 วันแห่งความทรงจำ
13 ตุลาคม : วันที่หลายคนเฝ้ารอก็มาถึง ภายหลังการทำงานกันอย่างหามรุ่งหามค่ำ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย เริ่มดำเนินการช่วยเหลือคนงานเหมือง 33 คน ในช่วงเช้าตรู่วันนี้ตามเวลาประเทศไทย จนสามารถช่วยชีวิตคนงานคนแรกไว้ได้ ในเวลา 24:10 น. ตามเวลาท้องถิ่น คือ นายฟลอเรนซิโอ อวาลอส คุณพ่อลูกสอง วัย 31 ปี โดยมีประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปิเนรา ผู้นำชิลี เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีด้วยตนเอง พร้อมด้วยการโห่ร้องด้วยความยินดีของคนทั้งโลก
9 ตุลาคม : การส่งท่อกู้ภัย ซึ่งมีความยาว 624 เมตร ลงไปใต้ดินเสร็จสิ้นลง ซึ่ง นายโกลบอร์น กล่าวว่า ปฏิบัติการช่วยชีวิตคนงานเหมืองทั้ง 33 คน จะเริ่มขึ้นในวันพุธที่ 13 ต.ค.
8 ตุลาคม : นายโกลบอร์น เชื่อมั่นว่า ท่อ T-130 หรือที่เรียกว่า Plan B จะถูกส่งลงไปใต้ดินจนถึงตำแหน่งที่อยู่ของคนงานเหมืองในวันดังกล่าว และคาดว่าการอพยพคนงานจะเริ่มต้นขึ้นในสัปดาห์ถัดไป
5 ตุลาคม : คนงานเหมืองทั้ง 33 คน ติดอยู่ใต้เหมืองครบ 2 เดือน นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์เหมืองถล่ม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม
1 ตุลาคม : นายโกลบอร์น กล่าวว่า เดือนตุลาคม จะเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นปฏิบัติการช่วยเหลือคนงานเหมือง 33 คน

21 กันยายน : นายโกลบอร์น กล่าวว่า การช่วยเหลือคนงานเหมืองทั้ง 33 คน อาจจะไม่แล้วเสร็จก่อนที่จะถึงเดือนพฤศจิกายน
8 กันยายน : คนงานเหมือง ที่ติดอยู่ใต้ดินทั้ง 33 คน ไม่ลืมที่จะเฉลิมฉลอง 200 ปี แห่งการเป็นเอกราชของชิลี แม้พวกเขาจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตราย โดยวิดีโอได้แพร่ภาพจากใต้ดิน ว่าคนงานเหมืองพร้อมใจกันร้องเพลงชาติ และเต้นรำกันอย่างรื่นเริง
7 กันยายน : ชาวชิลี เฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งอิสระภาพจากการปกครองของสเปน พร้อมฉลองความสำเร็จของเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ที่สามารถใช้เครื่องมือขุดเจาะลงไปใต้พื้นดิน จนถึงตำแหน่งที่อยู่ของคนงานเหมืองทั้ง 33 คน
5 กันยายน : เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยและคณะแพทย์ ระบุว่า คนงานเหมือง 33 คน ยังสามารถเอาตัวรอดในเหมืองได้ และสภาพร่างกายและจิตใจของคนงานอยู่ในสภาพที่ดี
24 สิงหาคม : ประธานาธิบดีปิเนรา กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า คนงานเหมือง ทั้ง 33 คน จะได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาได้ก่อนสิ้นปีนี้

23 สิงหาคม : เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย เริ่มส่งสารอาหารจำพวกกลูโคส และน้ำ ลงไปให้คนงานเหมือง 33 คน
22 สิงหาคม : ชาวชิลี ตื่นเต้นดีใจอย่างสุดซึ้ง หลังทางการสามารถแพร่ภาพคนงานเหมือง 33 คน ทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก หลังจากคนงานที่ติดอยู่ใต้เหมือง มาแล้ว 17 วัน
12 สิงหาคม : ประธานาธิบดีปิเนรา กล่าวว่า เขายังคงมีความหวังว่า คนงานเหมืองทั้งหมดจะได้รับความช่วยเหลือ แม้โอกาสรอดจะมีอยู่เพียงน้อยนิด
10 สิงหาคม: ประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปิเนรา แห่งชิลี กล่าวว่า รัฐบาลชิลี ได้ติดต่อคณะผู้เชี่ยวชาญจากเปรู สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย เพื่อความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ในการปฏิบัตการกู้ชีวิตคนงานเหมือง ทั้ง 33 คน
8 สิงหาคม : เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย เริ่มขุดเจาะปล่องหลุม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 12 เซนติเมตร ลงไปยังเหมืองดังกล่าว เพื่อค้นหาตำแหน่งของคนงานเหมืองทั้งหมด
6 สิงหาคม : นายลอว์เรนซ์ โกลบอร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่ รีบบินกลับมายังประเทสชิลี พร้อมนำทีมปฏิบัติการกู้ภัยด้วยตนเอง ขณะที่เจ้าหน้าที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของชิลี เปิดเผย ถึงความเป็นไปได้ที่คนงานเหมืองที่ติดอยู่ใต้ดินจะสามารถหาแหล่งที่พักพิง ซึ่งมีอ็อกซิเจน น้ำ และ อาหาร เพื่อประทังชีวิต
5 สิงหาคม : เกิดอุบัติเหตุเหมืองแร่ทองแดงและทองคำ ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายในชิลีถล่ม ส่งผลให้คนงานเหมืองทั้งหมด 33 ชีวิต ติดอยู่ใต้เหมือง ที่มีความลึกเกือบ 700 เมตร ขณะที่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย พยายามใช้อุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพื่อติดต่อกับคนงานเหมืองเหล่านี้


ทั้งนี้ ภารกิจช่วยคนงานเหมืองที่ติดอยู่ใต้ดินที่ชิลี มีเจ้าหน้าที่เทคนิคคนไทยไปช่วยด้วย 2 คน คือ นายวชิรพงศ์ นาคสารีย์ อายุ 30 ปี และนายสมพงษ์ พงกันยา อายุ 32 ปี



โดยเหตุที่ 2 คนไทยได้ไปปฏิบัติภารกิจครั้งนี้เนื่องจากว่า ทางการชิลีขอให้บริษัทเม็ตตาโลจิก อินสเป็คชั่น เซอวิสเซส จำกัด ส่งช่างเทคนิคพร้อมอุปกรณ์จากบริษัทในเครือไปยังชิลี


สำหรับเหตุผลที่ 2 คนงานดังกล่าวได้คัดเลือก เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ขยัน สู้งาน และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน