มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำลองแผนที่ภูมิศาสตร์ถ้ำหลวง ช่วย 13 ชีวิต(ชมคลิปท้ายข่าว)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พลภัทร เหมวรรณ ผู้อำนวยการ GISTNorth หรือ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) ระบุว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นการประเมินกายภาพของพื้นที่ โดยการรวบรวมข้อมูล จากนักสำรวจถ้ำทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เคยเข้าสำรวจพื้นที่
ก่อนนำข้อมูลนี้ไปสนับสนุนในการช่วยเหลือ ทีมฟุตบอลเยาวชน หมูป่าอะคาเดมี ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอง จ.เชียงราย ซึ่งแบบจำลองตัวนี้ จะเป็นการบ่งบอกภูมิประเทศและกายภาพ ในลักษณะภาพรวมของถ้ำแห่งนี้ว่ามีขนาดความลึก ความกว้างในจุดใดบ้าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พลภัทร เหมวรรณ เผยว่าข้อมูลที่เราได้เป็นการประเมินลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ส่วนหนึ่งได้ข้อมูลมากจากคุณมาร์ติน อิงลิช นักวิชาการที่สำรวจแนวถ้ำนี้ไว้และทำแผนที่ไว้ อีกท่านหนึ่งก็คือคุณอนุกูล ศรเอก เป็นนักภูมิศาสตร์ ผู้มีประสบการณื์เคยเดินสำรวจถ้ำเมื่อหลายปีก่อน
การทำข้อมูลนี้ทำในกลุ่มชมภูมิศาสตร์ศิษยืเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทำชุดข้อมูลนี้้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้คุณอนุกูล ศรเอก ซึ่งตอนนี้เข้าไปอยู่ที่ศูนย์หน้าประเมินสถานการณ์และวางแผนการเข้าช่วยเหลือเด็กๆ
จากข้อมูลที่เรามีจะเห็นได้ว่า จุดปากถ้ำมีระดับความสูงอยู่ที่445เมตร ซึ่งจากประสบการณ์ที่คุณอนุกูลได้เข้าสำรวจพื้นที่ แนวระดับของถ้ำไม่ได้มีความชันมาก
ความสูงของถ้ำหรือแนวระดับประมาณ80เมตรจากปากถ้ำไป แนวระดับถ้ำมีโอกาสที่จะขึ้นสูงไปได้อีกประมาณ525530เมตรจากปากถ้ำเข้าไป
พอได้ข้อมูลส่วนนี้ก็เอามารวมกับทางกายภาพ จากปากถ้ำเข้าไปพื้นผิวจะมีความสูงขึ้นไปเรื่อยๆเป็นหลังเต่าเป็นระยะทางเข้าไปเรื่อยๆ จากข้อมูลที่มีส่วนที่พื้นผิวจะมีส่วนใกล้เคียงกับใต้ดินน่าเป็นส่วนปลายส่วนนั้นจะมีความต่ำของไปและสูงไปอีกครั้งนึง
หาดพัทยาและส่วนปลายที่เราพูดถึงมีความห่างประมาณ3กิโลเมตร ห่างจากตัวแนวถ้ำ100เมตร ประเมินจากแนวถ้ำใกล้เคียง ถ้าเกิดเจาะเข้าไปก็ไม่ทราบว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ แต่จะมีอุปสรรคกับโพร่งผนังถ้ำ จะมีความกว้างมากพอไหม อุปสรรคในการเดินทาง แต่น่าจะใช้เวลาไม่นาน
จากปากถ้ำถึงปลายถ้ำระยะห่างประมาณ5-6กิโลเมตรกว่าๆจากแบบจำลองบอกแนวไว้ ยังไม่สามารถให้ข้อมูลการเจาะได้ ด้วยเหตุผลว่าทีมส่วนหน้าเป็นผู้ประเมิน มีเหตุผลมากกว่า ประเมินสถานการณ์และอุปสสรคที่เกิดขึ้นในหน้างาน