สอนทำง่าย วิธีปลูกผักบุ้งในโอ่ง ให้ยอดสวย เก็บขายได้ทั้งปี

สอนทำง่าย วิธีปลูกผักบุ้งในโอ่ง ให้ยอดสวย เก็บขายได้ทั้งปี

ปลูกผักบุ้งในโอ่ง จริงๆแล้วเราต้องขอบอกก่อนเลยนะว่า นี่คืออีกหนึ่งเรื่องราวที่หลายคนให้ความสนใจการเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้หวังดีคนหนึ่งได้ออกมาเผยเรื่องราวของวิธีการปลูกผักบุ้งในโอ่ง บอกเลยว่าเป็นวิธีที่ไม่ธรรมดา เป็นวิธีที่ไม่เคยเห็นเคยพบมาก่อน

ผักบุ้งนั้นเป็นผักท้องถิ่นของบ้านเราที่นิยมรับประทานกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปลูกผักบุ้งมาก นำมาทำอาหารก็อร่อยด้วย ตั้งแต่ร้านข้างทางจนถึงภัตตาคารใหญ่ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีผักบุ้งเป็นส่วนประกอบของอาหาร มีทั้งผักบุ้งมีโภชนาการสูงและมีประโยชน์มาก ดังนั้นแล้วผักบุ้งสามารถทำรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปดูวิธีการปลูกผักบุ้งในโอ่งกัน

ผักบุ้งที่คนในบ้านเรานิยมนำมาประกอบอาหารมักจะมี 3 สายพันธุ์ดังต่อไปนี้ก็คือ ผักบุ้งไท ผักบุ้งจี น และผักบุ้งนา โดยผักบุ้งบ้านเรามักจะปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่ามันบก

ข้อดีของการปลูกผักบุ้งในโอ่ง

1 เพราะว่าเนื่องจากผักบุ้งเป็นผักที่ต้องการปริมาณแสงไม่มาก วิธีการปลูกผักบุ้งในโอ่ง ดัดแปลงมาจากการปลูกผักบุ้งในนาที่มีน้ำท่วมสูง แต่ผักบุ้งก็ไม่เสีย และสามารถพุ่งยอดขึ้นสู่เหนือน้ำได้

2 ได้ลำต้นที่เป็นส่วนของยอดสูงและมีความอวบอิ่ม แต่ใบน้อยและเล็ก เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบรับประทานยอดผักบุ้งมากกว่ารับประทานใบ

3 วิธีจะคล้ายๆกับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งสีขาว การปลูกผักบุ้งในโอ่งดีอย่างไร สิ่งนั้นก็คือผักบุ้งเป็นผักไม้เลื้อยล้มลุก มีอายุการเก็บเกี่ยวนาน

4 ผักบุ้งมีการแตกยอดอยู่เรื่อยๆ ตราบใดที่ลำต้นยังคงอยู่และได้รับสารอาหารเพียงพอ ก็ยังสามารถเจริญเติบโตและแตกยอดใหม่ได้แน่นอน

วัสดุอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักบุ้งในโอ่งก็มีดังต่อไปนี้

– โอ่ง ไม่จำกัดขนาด ไม่ต้องเจาะก้นโอ่ง

– ตะกร้า ไว้สำหรับทำแปลงปลูก ให้เล็กกว่าก้นโอ่งเล็กน้อย หรือไม่มีก็ได้

– ดินปลูก ใช้ดินปลูกผักทั่วไป หรือดินผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์แล้ว

– กระสอบเก่า กระดาน หรือตาข่ายเก่า ไว้สำหรับคลุมปากโอ่ง

เริ่มต้นจากการปลูกผักบุ้งในโอ่งกันก่อนเลย โดยให้เรานำดินที่เราผสมเอาไว้แล้วใส่ในตะกร้าที่เราเตรียมเอาไว้ หรือนำดินที่ผสมเอาไว้แล้วใส่ลงในก้นโอ่งได้เลย ให้ความสูงก้นโอ่งอยู่ประมาณ 4-5 นิ้วกำลังดี

เนื่องจากในระยะต่อไปเราจำเป็นจะต้องรดน้ำ และเราไม่ได้เจาะรูที่ก้นโอ่งเพื่อระบายน้ำออก จะทำให้มีน้ำขังในก้นโอ่ง ดังนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องใช้ระดับดินที่สูงกว่าเล็กน้อยเพื่อป้องกันให้ดินกับน้ำผสมกันจนต้นผักบุ้งล้ม

ตะกร้าจะสามารถช่วยให้ผักบุ้งยืนต้นได้ ในกรณีที่ภายในโอ่งมีน้ำมากเกินไป เมื่อเรานำดินลงเรียบร้อยจนได้ระดับดีแล้ว ก็ทำการหย่อนเมล็ดผักบุ้งลงไป

คนส่วนใหญ่มักจะใช้ผักบุ้งแก้ว เพราะว่าเนื่องจากโตเร็ว ต้นสวย และเป็นที่นิยมของตลาด จำนวนเมล็ดที่ใช้ตามปริมาณที่ต้องการแต่ไม่ควรที่จะแน่นมากจนเกินไป

เมื่อเราทำการหยอดเมล็ดแล้วให้ทำการรดน้ำให้ดินชุ่มแต่ไม่ต้องเเฉะมาก ปล่อยทิ้งไว้แบบนั้นรอจนกว่าผักบุ้งจะพุ่งยอดอ่อนขึ้นมา แล้วก็เริ่มใช้กระสอบเก่าหรือว่าตาข่ายปิดบังแสงก็ได้ แต่จะต้องให้อากาศเข้าได้นะ ทิ้งระยะเวลาจนยอดผักบุ้งสูงถึงเกือบปากโอ่ง จึงสามารถตัดยอดอ่อนไปรับประทานได้ ในกรณีที่ไม่มีเมล็ด ผักบุ้งแก้วสามารถนำกิ่งไม้ปักชำได้เลย

การปักชำผักบุ้งแก้ว

จำเป็นต้องรดน้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่บ่อยครั้ง และน้ำจะต้องท่วมดินปลูกเล็กน้อย แล้วก็เริ่มการปักชำได้เลย จำนวนตามความต้องการแต่ไม่ควรที่จะหนาแน่นมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้รากเสียได้ และเมื่อเสร็จแล้วให้เราใช้ตาข่ายทำการปิดปากโอ่ง รอจนกว่าผักบุ้งจะแตกยอดใหม่ แล้วก็นำผักบุ้งไปรับประทานตามปกติได้เลย

ดังนั้นแล้วเมื่อผักบุ้งของเราอยู่ในโอ่ง และมีความต้องการแสงแดด จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างลำต้นให้สูงพ้นโอ่งเพื่อต้องการให้แสงมาสังเคราะห์อาหารอยู่ตลอดเวลา การตัดลำต้นผักบุ้งให้ต่ำจนติดโคน เป็นวิธีที่ทำให้ผักบุ้งสามารถแตกยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง เพาะผักบุ้งจะพยายามหาแสงแดด และเติบโตได้ดี

วิธีการนี้ยังทำให้ลำต้นได้ยอดที่ยาว ไม่แข็งและไม่เหนียว ไม่เหมือนกับการปลูกที่แปลงผักบุ้งทั่วไปโดยการสังเคราะห์แสงเพียงอย่างเดียว นี่ก็คือข้อดีของการปลูกผักบุ้งในโอ่งที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ตราบใดที่ยังมีสารอาหารในโอ่งเพียงพอก็สามารถแตกยอดออกมาใหม่ได้เสมอ

วิธีการทำสูตรน้ำเพื่อหมัก บำรุงดินปลูกผักบุ้ง

1 น้ำเปล่า

2 ผักบุ้ง 2 กิโลกรัม

3 หยวกกล้วยอ่อนจำนวน 3 กิโลกรัม

4 กากน้ำตาลจำนวน 2 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำบำรุงดินปลูกผักบุ้ง

ให้เรานำน้ำสะอาด ผักบุ้ง กากน้ำตาล หยวกกล้วย นำมาหมักรวมกันทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน 10 วัน ก่อนที่เราจะนำไปใช้ เมื่อครบกำหนดแล้วเราจะใช้น้ำที่เราหมัก 3 ช้อนแกง ผสมกับน้ำสะอาดจำนวน 20 ลิตร แล้วก็เอาไปฉีดพ่นทางใบ การใส่น้ำที่เราหมักลงไปในแปลงนั้น จะช่วยในเรื่องของการสร้างสารอาหารให้กับน้ำ และไม่ทำให้น้ำเสียอีกด้วย

เขียน / เรียบเรียงใหม่โดย : Postsod