เตรียมพร้อมกันยัง 1 ม.ค. 63 เริ่มเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่

เตรียมพร้อมกันยัง 1 ม.ค. 63 เริ่มเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่

สำหรับคนที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างควรจะต้องคอยติดตามข่าวนี้อย่างใกล้ชิดเลย เพราะในปีหน้า 1 ม.ค. 63 นี้ ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ยของเราจะมีการเก็บภาษีและสิ่งปลูกสร้างแบบใหม่ โดยแทนกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ที่ใช้กันมานานกว่า 80 ปี แล้วนะ เพื่อเป็นการปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ซึ่งเป็นข่าวที่หลายคนต่างหันมาให้ความสนใจกันเยอะมาก และเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะต้องเรียนรู้กฎหมายนี้เอาไว้

แต่ว่าก ฎ ห ม า ย ฉบับนี้นั้นยังใหม่และต้องทำความเข้าใจให้ละเอียด ๆ เพราะว่าค่อนข้างซับซ้อนมากทีเดียวในเรื่องของการคิดคำนวณภาษี รายละเอียดปลีกย่อยเยอะมา ๆ ฉะนั้นทุกคนจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องศึกษากฎหมายในข้อนี้

สำหรับกฎหมายนี้เรียกสั้น ๆ ว่า “ภาษีที่ดินใหม่” ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2476 และ พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เอาภาษาง่าย ๆ ก็คือ ก ฎ ห ม า ยว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และก ฎ ห มา ย ว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งแบบเดิมนั้นค่อนข้างจะมีปัญหาในการเก็บภาษีโรงเรือน ที่ดิน และ ภาษีบำรุงท้องที่ และ ข้อจำกัดเกี่ยวกับฐานภาษี อัตราภาษี การลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ไม่สอดคล้องไปกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาท้องถิ่น รั ฐ เลยจำเป็นต้องจัดสรรงบเพื่ออุดหนุนเพิ่มเติมเป็นเวลานาน

จุดหมายของกฎหมายภาษีใหม่ฉบับนี้ก็เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ลดการถือครองที่ดินเพื่อเก็งกำไรในตลอดอสังหาริมทรัพย์ และ เป็นการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้จัดเก็บภาษีโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแล หากเก็บได้จริงจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีรายได้เพิ่มนำไปพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มขึ้นคาดว่าไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยจะเริ่มเก็บตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ด้วยกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้ทำให้ผู้ถือครองหลายคนเริ่มตื่นตัวและเตรียมความพร้อมกันแล้ว และจะต้องมีการคำนวณภาษีใหม่อีกด้วย ขั้นตอนการคิดคำนวณค่อนข้างซับซ้อนกว่าแบบเดิม จึงจะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องให้ความรู้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ชาวบ้าน เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่

สำหรับกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้ มีการแบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ ดังนี้

1 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม

2 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย

3 ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1., 2.

4 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามความแก่สภาพ

อย่างไรก็ตามเพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับประชาชน จึงมีการกำหนดบทเฉพาะกาลการจัดเก็บภาษีช่วง 2 ปีแรก ดังนี้

1 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม หากมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 75 ล้านบาท เก็บภาษี 0.01 เปอร์เซ็นต์, เกิน 75-100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์, เกิน 100-500 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์, เกิน 500-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.07 เปอร์เซ็นต์ และเกิน 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์

2 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของบุคคลธรรมดาให้เป็นที่อยู่อาศัยมีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่เกิน 25 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์ หากเกิน 25-50 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์ และหากเกิน 50 ล้าน บาทขึ้นไป เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์

3 สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน ที่มีมูลค่า ไม่เกิน 40 ล้านบาท ภาษี 0.02 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกิน 40-65 ล้านบาท เก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์ หรือเกิน 65-90 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์ และเกิน 90 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์

4 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย กรณีอื่นนอกจากอยู่อาศัยตามข้อ 2. และ 3. ที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.02 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกิน 50-75 ล้านบาท เก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์ หรือเกิน 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.05 เปอร์เซ็นต์ และเกิน 100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.1 เปอร์เซ็นต์

5 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและอยู่อาศัย ไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.03 เปอร์เซ็นต์, เกิน 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4 เปอร์เซ็นต์, เกิน 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5 เปอร์เซ็นต์, เกิน 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6 เปอร์เซ็นต์ หรือ เกิน 5,000 บาทขึ้นไป เก็บ 0.7 เปอร์เซ็นต์

6 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ควรแก่สภาพ เก็บภาษี 0.3-3 เปอร์เซ็นต์ ของราคาประเมิน และเพิ่มขึ้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ ทุก 3 ปี ต่อเนื่อง ไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และจากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินพบว่ามีที่ดินทิ้งไว้ไม่ได้ทำประโยชน์ทั่วประเทศ 8.31 ล้านไร่ จากที่ดินทั้งประเทศประมาณ 300 ล้านไร่ และเพื่อบรรเทาภาระภาษี 3 ปีแรก ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม นอกจากนี้กรณีต้องเสียภาษีสูงกว่าภาษีโรงเรือน หรือภาษีบำรุงท้องที่ ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีในจำนวนที่เพิ่มขึ้นในปีที่หนึ่ง 25 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนภาษีที่เหลือ ปีที่สอง 50 เปอร์เซ็นต์ และปีที่สาม 75 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนภาษีที่เพิ่มขึ้น

สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้ ในหลายองค์กรในภาคท้องถิ่นจะยังขาดความพร้อม แต่เชื่อว่าระยะเวลาจะทำให้ทุกฝ่ายพร้อมและมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง โดยนอกจาก อปท.แล้ว อบต.ในแต่ละพื้นที่ยังมีรายได้เพิ่มในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนของตนอีกด้วย อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ควรจะต้องทำความเข้าใจและมีความรู้ทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่จะต้องเสียภาษาโดยตรง เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญที่จะปล่อยไม่ได้เลย

สำหรับท่านใดที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ จะใช้การคำนวณภาษีแบบเดิมไม่ได้แล้วนะ ควรจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ อย่าลืมติดตามข่าวสารและศึกษาข้อกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่นี้ให้เข้าใจถ่องแท้ที่สุด เพื่อจะได้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีปัญหาใด ๆ ตามมาในภายหลัง

ขอขอบคุณ khaosanok