ผ่อนบ้าน 30 ปี เสียดอกเบี้ยไปเท่าไหร่ แล้วถ้าผ่อนไม่ไหวจะอย่างไรต่อ

ผ่อนบ้าน 30 ปี เสียดอกเบี้ยไปเท่าไหร่ แล้วถ้าผ่อนไม่ไหวจะอย่างไรต่อ

ก่อนจะซื้อบ้านอยากให้ท่านได้อ่านเรื่องนี้ให้จบก่อน การมีบ้านเป็นของตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ดี น่าภาคภูมิใจแต่มันก็เหมือนกับว่าเราแบกเอาภาระอันหนักไม่ใช่เล่นเลยไว้บนบ่า หากผ่อนไปนาน ๆ แล้วดอกเบี้ยบ้านจะเพิ่มขึ้นอย่างที่เราทราบกัน แทบทุกคนก็จะจัดการรีไฟแนนซ์ แต่ถ้าไม่อยากจะรีล่ะ ลองมาดูตารางในภาพที่เราเอามาให้ดูนี้จะช่วยได้เยอะ หากเราเสียดอกเบี้ยเต็มก็เหมือนกับว่าดอกเบี้ยนั้นจะได้บ้านอีกหลังเลยนะ การหาทางออกมันก็มีหลายเทคนิคขึ้นอยู่กับว่าใครถนัดแบบไหน แล้วแบบนี้จะเป็นอย่างไรมาติดตามกัน

คำนวณจากดอกเบี้ย mrr 7% ตลอดระยะเวลา 30 ปี ไม่รวมโปร 3-5 ปีแรก อันนี้ไม่โปะ และไม่ทำการรีไฟแนนซ์

ลองดูตารางแล้วจะเห็นได้ชัดเลยว่าหากเราไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรเลยนั้นจะจะต้องเสียดอกเบี้ยหนักขนาดไหน และดอกเบี้ยที่เราจ่ายไปนั้นมันก็แทบจะได้บ้านอีกหลังกันเลยทีเดียว และมาดูกันว่าแล้วเราจะลดดอกเบี้ยบ้านได้อย่างไร อ่านกันให้จบนะ

ผ่อนบ้าน 30 ปี

วิธีที่ 1 : โปะเพิ่มทุก ๆ เดือน

หากอยากจะผ่อนบ้านให้หมดเร็ว ๆ สำหรับที่จะซื้อบ้าน หรือ คอนโดนะ ปลุกไปอีกเท่าตัวเลยโปะไปเลยทุกเดือน ๆ เช่นถ้าในเดือนนี้เราผ่อนบ้าน 12000 บาทต่อเดือน ก็แนะนำให้จ่ายไป 24,000 บาทไปเลย เทคนิคนี้จะช่วยให้เราสามารถผ่อนบ้านหมดไวภายในระยะเวลาไม่เกิน 9 ปี จากเดิม 30 ปี การโปะจะช่วยเพิ่ม 1 เท่าตัว จะช่วยให้เราผ่อนบ้านได้ไวกว่าปกติถึง 70 เปอร์เซ็นต์ วิธีนี้ใช้ได้ดีมากเลยล่ะ

ข้อควรระวังในการซื้อบ้านหรือคอนโดอย่างหนึ่ง ก็คือ เราควรเลือกบ้านให้เหมาะกับสถานะการเงินของเรา ไม่ควรเลือกบ้านที่ราคาสูงเกินว่าที่จะผ่อนไหว แต่ถ้าใครพลาดตรงนี้ไปแล้ว มีคนบอกเสมอของดีสำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องเงิน คือ การหารายได้เพิ่ม คำนี้พูดง่ายแต่ทำยากสักหน่อยแต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับตัวเราคนเดียวเท่านั้น

เพราะถ้าเรามองจากตัวอย่างในการผ่อนช่วงแรกๆ เงินที่ผ่อนไป 12,000 บาท กลายเป็นดอกเบี้ยไปแล้วประมาณ 10,000 บาท เหลือไปลดเงินต้นแค่ 2,000 บาทเอง ซึ่งถ้าเราโปะเงินเพิ่มไปอีก 1 เท่าหรือ 12,000 บาท ส่วนนี้จะไปช่วยลดเงินต้นลง และช่วยลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในเดือนถัดๆไปลงตามไปด้วย

ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดระยะเวลาการผ่อนจาก 30 ปี เหลือแค่ 8-9 ปีเท่านั้น แต่ถ้าใครคิดว่าวิธีนี้มันดูเกินไปหรือต้องการผ่อนบ้านแบบมีความสุข ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป ก็อาจจะไม่ต้องโปะเยอะขนาดที่พี่ทุยบอกไปก็ได้ แต่อาจจะโปะเพิ่มขึ้น 10-20% ของเงินผ่อนไปทุกเดือนแทน เช่น โปะเพิ่ม 10% ก็ผ่อนเดือนละ 13,200 บาท และถ้าสิ้นปีมีโบนัส ก็อาจจะเอาเงินก้อนมาโปะไปบางส่วน ก็จะช่วยร่นระยะเวลาในการผ่อนบ้านของเราได้เช่นกัน

วิธีที่ 2 : พยายามรีบโปะในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำๆ

ถ้าระยะยาวเราไม่สามารถโปะเพิ่มขึ้น 1 เท่า ไปได้ตลอด แนะนำว่าช่วงปกติตอน 1-3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำ มากหรือน้อยตามโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร และหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะพุ่งไปตาม MRR ในช่วงปีแรกๆเราอาจเสียดอกเบี้ยแค่ 3-4% แต่หลังจากนั้นอาจจะกลายเป็น 5-8% ไปเลยก็ได้ เราจึงควรรีบโปะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ เพราะเงินต้นจะลดลงไปได้เยอะ เราก็ประหยัดดอกเบี้ยไปได้มากขึ้น ทำให้เราผ่อนหมดได้เร็วขึ้น แต่ถ้าเราไปโปะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูงๆ เราอาจโปะไปแต่เงินต้นก็ไม่ได้ลดลงไปเท่าไหร่เลย

วิธีที่ 3 : รีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือขอปรับอัตราดอกเบี้ยผ่อนบ้านหรือคอนโดกับธนาคารเดิม (Retention)

หากจะเข้าใจการรีไฟแนนซ์ก็เป็นการกู้เงินจากอีกธนาคารเพื่อไปจ่ายดอกที่ถูกกว่าจ่ายที่ธนาคารเดิมนั่นเอง แต่ว่าจะต้องผ่อนบ้านครบ 3 ปี แล้วเท่านั้นนะ ถ้าหลัง 3 ปีแล้วดอกเบี้ยบ้านลอยตัวตาม MRR ซึ่งก่อนจะรีไฟแนนซ์ก็อย่าลืมดูเงื่อนไขสัญญากันด้วยนะ เพราะถ้ารีก่อนสัญญาจะเสียค่าปรับเอาได้ ทีนี้ตอนเราหาธนาคารใหม่ก็ทำเหมือนเดิม เหมือนตอนที่กู้ซื้อบ้านครั้งแรก คือ หาโปรโมชั่นจากแต่ละธนาคารมาเปรียบเทียบดูว่าธนาคารไหนดอกเบี้ยถูกที่สุด และถูกกว่าดอกเบี้ยที่เราจ่ายอยู่ปัจจุบัน เราก็ย้ายไปกู้กับธนาคารนั้น แต่อย่าลืมดูเงื่อนไขค่าธรรมเนียมและค่าจดจำนองด้วยว่าย้ายไปแล้วจ่ายน้อยลงจริงหรือไม่

สิ่งหนึ่งที่อยากจะให้ทุกคนที่ผ่อนบ้านทำก็คือสร้างประวัติการผ่อนบ้านให้ดี ๆ อย่างน้อยติดกัน 3 ปีให้ได้ หากเราจ่ายตรงประวัติดีมาโดยตลอด อาจจะไม่ต้องรีไฟแนนซ์ให้ยุ่งยากก็ไปคุยกับธนาคารเดิมเลยแล้วขอลดดอกเบี้ยให้ถูกลง ถ้าหากคุยดีอาจจะได้ดอกเบี้ยถูกกว่าการเปลี่ยนธนาคารอีกด้วยนะ แถมยังไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดจำนองอีกต่างหาก มันดีนะแบบนี้

ลองนำไปปรับใช้กันดูนะสำหรับใครที่กำลังผ่อนบ้านอยู่หรือกำลังคิดจะซื้อบ้านเป็นของตัวเอง ถ้าหากปล่อยให้ระยะเวลาผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย ผ่อนไปเรื่อย ๆ นาน 30 ปี มีหวังเราหมดไปกับการจ่ายดอกเบี้ยที่เกินจำเป็นอย่างมาก เพราะดอกเบี้ยที่เสียนั้นแทบจะได้บ้านอีกหลังกันเลยทีเดียวนะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : moneybuffalo ,Home2nd.com , postsod