แนะนำคลายเครียดภายใน 3นาที ด้วยบทสวดที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธ

วันนี้มาแนะนำให้คลายเครียดภายใน 3นาที ด้วยบทสวดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ในศ าสนาพุ ทธ

เป็นไปได้ที่ความเครียด จัดจะบรรเทา เบาบางลง หรือส ลายหายไปจนเกลี้ยงภายใน 3นาที โดยไม่ต้องลงทุนสักบาท ขอแค่รู้วิธีที่ถูกต้องต่างๆ หนึ่ง ในวิธีที่ง่ายที่สุด และ ไม่จำเป็นต้อง ฝึกหัดกันนาน คือ การสวดมนต์ คนส่วนใหญ่ สวดกันไม่ถูกจึงไม่ได้ผล เช่น สวดไปด้วยอธิษฐาน ขอพรพระไปด้วย หรืองึมงำสวดเบาไป จนแทบไม่มีเสียง หรือ สวดไปด้วยฟุ้งซ่าน เรื่องอื่นไปด้วย

ในความจดจำ ของคนส่วนใหญ่ การสวดมนต์ จึงเป็นเรื่องเ สียเวลาเปล่า น่าเบื่อหน่าย ก่อนอื่นต้อง ทำความเข้าใจว่า ไม่ว่าจะตามแนวศรัทธาของศ าสนาไหนๆ การสวดมนต์ที่แท้จริง จะเกี่ยวข้องกับการอาศัยคำ และ คลื่นเสียงที่เปล่งจาก แก้วเสียงผู้สวด ซึ่งจะรวมเอาการทำงานของร่างกาย และ จิตใจ ไปในทางที่ก่อให้เกิด ความสบายหายห่วง

ปัจจุบันแ พทย์ อธิบายโดยใช้เครื่อง mri สแกนเพื่อดูความเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพของสมอง และพบว่าสมองส่วนที่ ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างรู้สึกทั้งหลาย มีการทำงานที่ต่างไป อย่างเห็นได้ชัด เหมือนสวดถึงจุดหนึ่ง ส มองบอกตัวเองว่า ถึงเวลาที่ร่างกายทั้งหมด เป็นสุขได้แล้ว ไม่ต้องเกร็งแล้ว

อธิบายในแง่ ของพุ ทธ คือ การสวดมนต์ ทำให้จิตผูกอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในทางดี จึงเกิดกุศลจิต ซึ่งมีธรรมชาติ สว่าง ปรุงแต่ง สภาพทางกาย ให้คลายจากปม เ ครียดเกร็ง เข้าสู่จุดสมดุล ทางความสุข สัมผัสถึงสันติภายใน

บทสวดที่ศักดิ์สิทธิ์ ในศ าสนาพุ ทธ

บทสวดมนต์ที่ เป็นพุทธพจน์ หรือพระพุทธเจ้าตรัสไว้ ด้วยพระองค์เอง

บทสวด อิ ติ ปิ โส ครับ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ /สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญูหิติ /สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ /ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

คําแปลบทสวด อิ ติ ปิ โส

พระผู้มีพระภาค เจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ โดยพระองค์เอง เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความรู้ และ ความประพฤติ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลก อย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ สามารถจําแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ เป็นครูของเทวดา และมนุษยทั้งหลาย โดยไม่มีใครยิ่ง ไปกว่า

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริงไม่จํากัดกาลเวลา เป็นสิ่งที่ควรกล่าวแก่ใครๆว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อม เข้ามาใส่ตน เป็นสิ่งที่รู้ได้ เฉพาะตน

พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม อันเป็นเครื่องออกจากทุ กข์แล้ว พระสง์ฆสาวกของพระผู้ มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่อริยบุคคล ๔คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘บุรุษ พระสงฆ์ เหล่านั้นแหละเป็นผู้ควรแก่ สักการะที่เข้านํามาบูชา เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควร แก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่การทําอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า

ที่มาของบทสวด อิ ติ ปิ โส

สมัยโบราณ ผู้คนจะร่ําลือ ถึงพระศาสดา ที่ตนนับถือตลอดไป จนกระทั้ง ธรรมะของพระองค์ รวมทั้งคุณลักษณของ ผู้เป็นสาวก แห่งองค์ท่าน เพื่อที่จะให้กิตติศัพท์เป็นที่กล่าวขวัญ ขจรขจายตรงกัน ไม่ใช่พูดอย่าง โน้นทีอย่างนี้ทีกันตามอําเภอใจ ของแต่ละคน แบบเห็นไม่ครบ รู้ไม่จริง หรือข าดๆเกินๆด้วยประการใด ก็จําเป็น ที่องค์ศาสดา ต้องเป็นผู้ตรัสนํา ด้วยพระองค์เองก่อน

ดังเช่น เมื่อพระพุทธองค์ตรัสตอบ พระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งมีที่มาใน “สามัญ ผลสูตร” ว่าถ้าทําตามคําสอนของ พ ระพุทธเจ้า แล้วจะได้อะไร หรืออีกนัยคือพระองค์เองมีดีอย่างไร จะให้แก่เหล่าสาวก ท่านก็จาระไนคุณลักษณะสามัญ แห่งความเป็น พระพุทธเจ้า ไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน ซึ่งเหมือนๆกันทุกพระองค์อย่างละเอียด ก่อนจะแสดงถึงผล ที่สาวกปฏิบัติได้ กันเป็นปกติ

หรืออย่างเช่นใน “ปุญญาภิ สันทสูตร” ที่พระองค์แสดงห่วง กุศลอันเป็นเหตุให้ไปสู่สวรรค และ นิพพาน ท่านก็ตรัสทิ้งท้าย จาระไนความประเสริฐแห่งธรรมะ ตลอดจน ความเป็นสาวกผู้ปฏิบัติชอบ คือ ธรรมะเป็นสิ่งที่ผู้บรรลุพึง เห็นเองได้ไม่จํากัด กาลเวลา อริยสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติ ตามอย่างดีแล้ว ย่อมเป็นนาบุญแห่งโลก เป็นต้น

สรุปว่า การสวด อิ ติ ปิ โส นั้น

ก็คือ การท่องในสิ่ง ที่คนยุค พุทธกาล พากันกล่าวขาน สรรเสริญพระคุณ ลักษณแห่งพระศาสดา ตลอดจนพรรณนา ว่าธรรมะ กับพระภิกษุสงฆ์แห่งพระองค์ควรแก่ การน้อมปฏิบัติ และ ต้อนรับกราบไหว้เพียงไร อานิสงส์ของการพร่ํา สวดอิติปิโส จึงเหมือนกับที่เหล่าคน ในสมัยพุทธกาลท่านได้รับกัน นั่นคือ มีใจเปิดรับ พุทธคุณ ธรรมคุณ ความสว่าง ความชื่นบาน แก่จิตใจ ได้ไมจํากัด

ขอบคุณสิ่งดีๆ : Dungtrin