Edit มหาวิทยาลัยราชภัฏ รับสมัครสอบเป็น อาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัย วุฒิ ม.6 ขึ้นไป เงินเดือนสูงสุด 31,500 บาท มหาวิทยาลัยราชภัฏ รับสมัครสอบเป็น อาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัย วุฒิ ม.6 ขึ้นไป เงินเดือนสูงสุด 31,500 บาท มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยประจำ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๑ ดังนี้ 1.อาจารย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีและพัฒนาการเกษตร 2 อัตรา คุณวุฒิ ป.เอก/ป.โท 2.อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.เอก/ป.โท 3.อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.เอก 4.อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.เอก/ป.โท 5.อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.เอก/ป.โท 6.อาจารย์ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ภาควิชาสังคมศาสตร์ 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.เอก/ป.โท 7.อาจารย์ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ภาควิชาวิทยาศาสตร์ 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.เอก/ป.โท 8.ผู้ปฏิบัติงาน คณะครุศาสตร์ 1 อัตรา วุฒิ ปวช./ปวส. 9.ผู้ปฏิบัติงานเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร 1 อัตรา วุฒิ ปวช./ปวส. 10.นักวิชาการศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.ตรี 11.นักวิชาการเงินและบัญชี วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.ตรี 12.บุคลากร สำนักงานอธิการบดี กองบริหารงานบุคคล 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.ตรี 13.พนักงานขับรถ สำนักงานอธิการบดี กองบริหารงานบุคคล 1 อัตรา วุฒิ ม.6 14.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์ศึกษาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.ตรี 15.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.ตรี 16.นักวิชาการศึกษา ศูนย์ภาษา 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.ตรี 17.นักวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ 1 อัตรา วุฒิ ป.ตรีทุกสาขา 18.นักวิชาการศึกษา สำนักหอสมุด 1 อัตรา คุณวุฒิ ป.ตรี 19.นักวิชาการศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม 1 อัตรา วุฒิ ป.ตรีทุกสาขา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ ซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 โดยได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยน สถาบันมาโดยลำดับ เป็นระยะเวลากว่า 74 ปี มาแล้วดังนี้ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2466 มหาเสวกโท พระยาสุรบดินทร์สุรินทรภาไชย ( อุปราช ) อำมาตย์เอกพระยาพายัพพิริยะกิจ ( สุมหเทศาภิบาล ) และอำมาตย์ตรีหลวงวิสณห์ดรุณการ ( ศึกษาธิการ มณฑลพายัพ ) ได้ร่วมกันเพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงเรียน ฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพขึ้นตามแนวคิดหลักของกระทรวงธรรมการในขณะนั้น จึงได้ซื้อที่ดินด้วยเงินรายได้ของโรงเรียนรัฐบาลประจำมณฑลพายัพ ที่บ้านเวียงบัว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 แปลง มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ พร้อมด้วยเรือนไม้ 1 หลัง เป็นเงิน 318.75 บาท เพื่อเตรียมจัดตั้งโรงเรียน และต่อมาในปี พ.ศ.2467 นายร้อยเอกเจ้าราชภาติกวงษ์ เสนาวังจังหวัดเชียงใหม่ ( ยศขณะนั้น :: ต่อมาได้เลื่อนเป็นนายพันตรีเจ้าราชภาติกวงษ์ นามเดิมคือ คำตัน ณ เชียงใหม่ ) ได้ยกที่ดินด้านเหนือของ บริเวณที่ซื้อไว้เดิมพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ( แต่ตามใบบอกของมณฑลพายัพว่ามี 5 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา ) ให้แก่ มณฑลพายัพเพื่อรวมเป็นพื้นที่จัดตั้งโรงเรียน เมื่อได้สถานที่พอที่จะดำเนินการได้ หลวงวิสณห์ดรุณการศึกษาธิการมณฑล ก็ดำริที่จะให้นายบุญนาค ฉิมพะลีย์ ป.ก. ครูใหญ่โรงเรียนฮั่วเอง ( ร.ร.ราษฏร์ ) มาเป็นครูใหญ่ ได้เรียนเสนอไปถึงปลัดกรมบัญชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ( ตามหนังสือลงวันที่ 5 กรกฏาคม 2466 ) แต่ทางกระทรวงได้มีคำสั่งมาว่าเห็นควรถอนเอา นายชื่น สิโรรส ผู้สอบไล่ได้ ป.ป.ก.เมื่อ พ.ศ.2463 ที่เป็นศึกษาธิการอำเภอแม่ริมอยู่ในขณะนั้นมาเป็นครูใหญ่ และมณฑลได้จัดหา นายอุ่นเรือน ฟองศรี ป.ป.ก. และนายสิงห์คำ สุวรรณโสภณ ป.ก. มาเป็นครูน้อย แต่จาก ปากคำของนายชื่น สิโรรสได้กล่าวว่า มีนายสนิท ศิริเผ่า ซึ่งเรียน ป.ป.ก. มาด้วยกันอีกคนหนึ่ง หลังจากเตรียมสถานที่ตั้งและเตรียมครูไว้เรียบร้อยแล้วอำมาตย์เอกพระยาพายัพพิริยะกิจสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ได้มีหนังสือถึงจางวางเอกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2467 ความว่า ได้จัดเตรียมที่ดินกำหนดวันเปิดรับนักเรียนและวันเปิดทำการสอนไว้ เรียบร้อยแล้ว ขอให้กระทรวงส่งอำมาตย์เอกพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม ไปตรวจดู สถานที่และวางระเบียบการของโรงเรียนต่อไปแต่พระยาเทพศาสตร์สถิตย์ติด ราชการต้องไปภาคใต้และทาง กระทรวงก็เห็นว่ายังไม่เร่งร้อนนัก ขอให้ครูที่เตรียมไว้นั้นจัดเทียบหลักสูตรและดำเนินการตามอย่างที่ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมนครปฐม ดำเนินการไปพลางก่อน ดังนั้น ในตอนแรกโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ ซึ่งมี นายชื่น สิโรรส เป็นครูใหญ่จึงได้ ลงมือปลูกสร้างอาคารหนึ่งหลัง เพื่อเป็นทั้งห้องเรียนและหอนอน ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ไผ่ชั่วคราว พร้อมทั้งโรงอาหาร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2467 ด้วยเงินทุนที่ยืมมาจากเงินรายได้ ของโรงเรียน รัฐบาลประจำมณฑลพายัพ ( ปัจจุบันคือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ) เพียง 60 บาท นักเรียนรุ่นแรกตามหลักฐานแล้วมีอยู่ 28 คน คัดเลือกมาเรียนจาก จังหวัดเชียงราย 6 คน จังหวัดลำพูน 5 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 คนและจังหวัดเชียงใหม่ 16 คน สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม วิทยาลัยครูทั่วประเทศว่า ” สถาบันราชภัฏ ” แปลว่าผู้ที่อยู่ใกล้พระราชา แต่หลายท่านให้ความหมายเป็นนัยว่า ” นักปราชญ์ของพระราชา ” โดยมีตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันเป็นตราพระราชสัญจกรประจำพระองค์ของ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่ละสีมีความหมายดังนี้ สถาบันราชภัฏ ได้เปลี่ยนครุยวิทยฐานะใหม่ ตั้งแต่ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ลักษณะและความหมายของครุยวิทยฐานะ เป็นดังนี้ ตัวเสื้อครุยทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำเย็บเป็นเสื้อคลุม ตัวเสื้อ ผ่าอกตลอด แขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือแขนปล่อย มีสำรดรอบขอบและที่ปลายแขน ส่วนสำรดต้นแขนเป็นสิ่งแสดงถึงระดับปริญญา และมีเข็มตราสถาบันราชภัฏประดับครุยด้วยสำหรับแถบสีประจำ สาขาวิชานั้น สังเกตได้ดังนี้ แถบสีฟ้า หมายถึง บัณฑิตสาขาวิชาครุศาสตร์ แถบสีแสด หมายถึง บัณฑิตสาขาวิชาศิลปศาสตร์ แถบสีเหลือง หมายถึง บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ ส่วนที่ใช้บนแถบสำรดและบนเสื้อครุยนั้น ได้ใช้สีจากตราสถาบันราชภัฏซึ่งประกอบด้วย สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีเขียว หมายถึง สถาบันราชภัฏที่มุ่งให้การศึกษาพัฒนาท้องถิ่น สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีคุณปการอันยิ่งใหญ่ไพศาลต่อสถาบันราชภัฏ ปัจจุบันสถาบัน ราชภัฏเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 202 ถนนช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีภารกิจหลัก 6 ประการ ตามมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 ที่ระบุให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คือ ทำการศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง – ทำการวิจัย – ให้บริการวิชาการแก่สังคม – ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี – ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู สถาบันราชภัฏเชียงใหม่หวังว่าบัณฑิตใหม่ทุกท่านจะนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาท้องถิ่นและสร้างชื่อเสียง เกียรติภูมิสู่สถาบันให้เป็นที่ขจรขจายต่อสาธารณชนสืบไปตามอุดมการที่สถาบันได้ยึดมั่นที่ว่า…” คนดีสร้างชาติไทย ราชภัฏเชียงใหม่สร้างคนดี ” มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ อันมีผลให้สถาบันราชภัฏ เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ยังความปลาบปลื้ม ยินดีแก่ชาวราชภัฏทุกคน และในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นชาวราชภัฏทั้ง ๔๑ แห่ง จึงร่วมใจพิธีถวายราชสดุดี เฉลิมฉลองนามมหาวิทยาลัยราชภัฏ พร้อมกัน ในวันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๙ น. พร้อมกันทั่วประเทศ ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่า ร่วมพิธีกว่าหมื่นคน ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สมัครด้วยตนเอง บัดนี้-29 มิ.ย.61 หรือสมัครทางไปรษณีย์บัดนี้-15 มิ.ย.61 คลิกพิมพ์ใบสมัครได้ที่นี่ **ทางเว็ปเป็นเพียงสื่อกลางระหว่างผู้สมัครกับทางองค์กรเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสมัครใดๆทั้งสิ้น**