หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า “มะเฟือง” ผลไม้รูปดาว
ก็มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อย ด้วยสรรพคุณที่มีส่วนช่วยในการชะลอวัย
ต้านแก่ ช่วยลดไขมันในเลือด แต่มีข้อห้ามสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต
ห้ามรับประทานเด็ดขาด เพราะจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงจนอาจถึงขั้นไตวาย
เราไปทำความรู้จักผลไม้ชนิดนี้ให้มากขึ้นกันก่อน
มะเฟือง 1 ส่วน (159 กรัม) หรือฝานตามแนวขวาง 5 ชิ้น มีเบต้าแคโรทีน 33 ไมโครกรัม และมีใยอาหารสูงถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำใน 1 วัน หากเปรียบเทียบในปริมาณที่เท่ากัน มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ แต่มีสารแอนติออกซิแดนต์ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอวัยในปริมาณสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น
โดยมะเฟือง 1 ส่วน ให้น้ำตาลเพียง 11.2 กรัม มีสารแอนติออกซิแดนต์ เช่น พอลิฟีนอล (Polyphenol) แทนนิน (Tannin) และคาเทชิน (Catechin) สูงถึง 236 มิลลิกรัม 14.6 และ 12.8 มิลลิกรัม ตามลำดับ
มะเฟืองเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดไขมันในเลือด
งานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศึกษาในกลุ่มผู้สูง-อายุ พบว่า การกินมะเฟืองฝานวันละ 3 ชิ้น (100 กรัม) ติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ มีผลให้ปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) และนิวโทรฟิล (Neutrophil) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเสริมภูมิคุ้มกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ยังมีผลเพิ่มระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือด (HDL Cholesterol) ซึ่งทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลร้ายไปกำจัดที่ตับ จึงช่วยให้ระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
มะเฟืองเป็นผลไม้ต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคไต
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ม.ล.ชาครีย์ กิติยากรอายุรแพทย์หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความเห็นว่า มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีสารออกซาเลต (Oxalate) สูงโดยในภาวะปกติ สารออกซาเลตในอาหารสามารถดูดซึมและขับออกทางไต แต่หากการทำงานของไตผิดปกติ สารออกซาเลตอาจรวมตัวกับแคลเซียมภายในไต กลายเป็นผลึกนิ่วออกซาเลต ผลึกนิ่วจำนวนมากอาจตกตะกอนอุดตันในเนื้อไตและท่อไตจนนำมาสู่ภาวะไตวายได้
สำหรับผู้ที่ไตทำงานเป็นปกติ นายแพทย์แอนดรูว์ ไวล์ (Andrew Weil) พ่อมดแห่งการแพทย์ทางเลือก แนะนำว่า สามารถกินมะเฟืองในปริมาณที่พอเหมาะได้โดยไม่ต้องเป็นกังวล แต่หากมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคไต ไม่ควรกินอย่างเด็ดขาด
เพราะกินมะเฟืองเพียงครึ่งผลหรือดื่มน้ำมะเฟืองเพียงเล็กน้อย อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จิตใจสับสน ชัก ไตวาย กระทั่งเกิดอันตรายถึงชีวิต
หากพบอาการดังกล่าวภายใน 1 – 5 ชั่วโมงหลังกินมะเฟือง ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาและฟอกไตอย่างทันท่วงที
วิธีสังเกตมะเฟืองสุกและการเก็บรักษามะเฟือง
มะเฟืองดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองใสบริเวณขอบแฉกรูปดาวมีสีออกน้ำตาล
วางมะเฟืองดิบไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 - 3 วันจะได้มะเฟืองสีเหลืองสุกพร้อมกิน หากใส่มะเฟืองดิบในถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหารและเก็บในตู้เย็นสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 สัปดาห์
ใครมีอคติต่อผลไม้รสเปรี้ยวอย่างมะเฟือง น่าจะเปลี่ยนใจมาอยากลองรับประทานกันบ้าง นอกจากสุขภาพดีแล้วยังคงไว้ซึ่งความหนุ่มสาวด้วยนะ แต่สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไตห้ามเสี่ยงเด็ดขาด มีสิทธิ์ไตวายได้นะ
ขอบคุณที่มา : goodlifeupdate
มะเฟือง 1 ส่วน (159 กรัม) หรือฝานตามแนวขวาง 5 ชิ้น มีเบต้าแคโรทีน 33 ไมโครกรัม และมีใยอาหารสูงถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำใน 1 วัน หากเปรียบเทียบในปริมาณที่เท่ากัน มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ แต่มีสารแอนติออกซิแดนต์ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอวัยในปริมาณสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น
โดยมะเฟือง 1 ส่วน ให้น้ำตาลเพียง 11.2 กรัม มีสารแอนติออกซิแดนต์ เช่น พอลิฟีนอล (Polyphenol) แทนนิน (Tannin) และคาเทชิน (Catechin) สูงถึง 236 มิลลิกรัม 14.6 และ 12.8 มิลลิกรัม ตามลำดับ
มะเฟืองเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดไขมันในเลือด
งานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศึกษาในกลุ่มผู้สูง-อายุ พบว่า การกินมะเฟืองฝานวันละ 3 ชิ้น (100 กรัม) ติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ มีผลให้ปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) และนิวโทรฟิล (Neutrophil) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเสริมภูมิคุ้มกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ยังมีผลเพิ่มระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือด (HDL Cholesterol) ซึ่งทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลร้ายไปกำจัดที่ตับ จึงช่วยให้ระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
มะเฟืองเป็นผลไม้ต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคไต
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ม.ล.ชาครีย์ กิติยากรอายุรแพทย์หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความเห็นว่า มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีสารออกซาเลต (Oxalate) สูงโดยในภาวะปกติ สารออกซาเลตในอาหารสามารถดูดซึมและขับออกทางไต แต่หากการทำงานของไตผิดปกติ สารออกซาเลตอาจรวมตัวกับแคลเซียมภายในไต กลายเป็นผลึกนิ่วออกซาเลต ผลึกนิ่วจำนวนมากอาจตกตะกอนอุดตันในเนื้อไตและท่อไตจนนำมาสู่ภาวะไตวายได้
สำหรับผู้ที่ไตทำงานเป็นปกติ นายแพทย์แอนดรูว์ ไวล์ (Andrew Weil) พ่อมดแห่งการแพทย์ทางเลือก แนะนำว่า สามารถกินมะเฟืองในปริมาณที่พอเหมาะได้โดยไม่ต้องเป็นกังวล แต่หากมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคไต ไม่ควรกินอย่างเด็ดขาด
เพราะกินมะเฟืองเพียงครึ่งผลหรือดื่มน้ำมะเฟืองเพียงเล็กน้อย อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จิตใจสับสน ชัก ไตวาย กระทั่งเกิดอันตรายถึงชีวิต
หากพบอาการดังกล่าวภายใน 1 – 5 ชั่วโมงหลังกินมะเฟือง ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาและฟอกไตอย่างทันท่วงที
วิธีสังเกตมะเฟืองสุกและการเก็บรักษามะเฟือง
มะเฟืองดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองใสบริเวณขอบแฉกรูปดาวมีสีออกน้ำตาล
วางมะเฟืองดิบไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 - 3 วันจะได้มะเฟืองสีเหลืองสุกพร้อมกิน หากใส่มะเฟืองดิบในถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหารและเก็บในตู้เย็นสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 สัปดาห์
ใครมีอคติต่อผลไม้รสเปรี้ยวอย่างมะเฟือง น่าจะเปลี่ยนใจมาอยากลองรับประทานกันบ้าง นอกจากสุขภาพดีแล้วยังคงไว้ซึ่งความหนุ่มสาวด้วยนะ แต่สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไตห้ามเสี่ยงเด็ดขาด มีสิทธิ์ไตวายได้นะ
ขอบคุณที่มา : goodlifeupdate