ก.พ.ท. รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ วุฒิ ปวส.ขึ้นไป เงินเดือน 16,500 บาท สมัครทางเน็ต วันที่ 8 – 28 มิ.ย. 61

กรมพัฒนาที่ดิน รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ วุฒิ ปวส.ขึ้นไป เงินเดือน 16,500 บาท สมัครทางเน็ต
วันที่ 8 – 28 มิ.ย. 61

ข่าวเปิดสอบราชการเเละเเนวข้อสอบ 28 พฤษภาคม เวลา 19:33 น. กรมพัฒนาที่ดิน รับสมัครสอบเข้ารับราชการ สมัครทางเน็ต วันที่ 8 – 28 มิ.ย. 61 เดี๋ยวเรามาดูความเป็นมาของกรมที่ดินกะนต่อเลยนะค่ะว่าการทำงานมีความมั่นคงมากแค่ไหน ในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง พระองค์ทรงดำเนินรัฐประศาสนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชน

โดยให้ราษฏรทำประโยชน์บนที่ดินซึ่งผลประโยชน์จะตกแก่คนๆนั้น ครั้นมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีระบบการบริหารประเทศแบบจตุสดมภ์ที่เรียกว่า เวียง วัง คลัง นา ซึ่งเรื่องของที่ดินนี้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของ นา หรือ กรมนา นั่นเอง โดยหน้าที่ของกรมนาสมัยนั้น แบ่งออกเป็น 2 หน้าที่ คือ บริหารและตุลาการ หน้าที่บริหารจะจัดหาที่ดิน

โดยให้ราษฏรเข้าไปบุกเบิกที่ดินเปล่าที่รกร้างอยู่และให้ใช้ประกอบการทำกิน โดยเขียนโฉนดไว้ให้แก่ผู้เข้าไปบุกเบิกที่ดินตรงนั้น พร้อมกับหาที่ดินเพื่อการศาสนา สร้างเป็นวัดวาอารามต่าง ๆ ส่วนหน้าที่ตุลาการจะมีหน้าที่ดูแลการเข้าไปโค่นร้างว่าผู้ใดลักลอบกระทำการให้นำมาลงโทษ อีกทั้งระงับเหตุทะเลาะวิวาทในเรื่องที่ดิน เช่น กรณีแย่งนากันทำ

รวมถึงข้อพิพาทเกี่ยวกับการลักเครื่องมือทำนา ขโมยไถ ลักแอก เป็นต้น ต่อมากรุงรัตนโกสินทร์ลักษณะการบริหารที่ดินส่วนคงยึดหลักเดียวกันไว้ กระทั่งสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เกิดกรณีพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ ที่ดินบ่อยครั้ง ๆ ขนาดขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นว่าเล่น เพราะเจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากรออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของที่ดินไว้ยึดถือ

ไม่อาจระงับข้อพิพาทโต้แย้งปัญหาเรื่องกรรมสิทธิได้ เนื่องจากข้อความบนหนังสือ ไม่กระจ่างไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงโปรดฯ ให้ เจ้าพระยาเทเวศวิวัฒน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการ จัดทำทะเบียนที่ดินให้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับกรมสิทธิในที่ดินจริงจังและเร่งด่วนด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าที่ดินมีราคายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก

ย่อมเป็นสาเหตุให้ราษฏรมีข้อพิพาทมากขึ้นอีก สมควรจัดหมายเขตที่ดินนั้นให้มั่นคงยิ่งขึ้น พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ออกพระบรมราชโองการวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 ให้ พระยาประชาชีพบริบาล(ผึ่ง ชูโต) ข้าหลวงเกษตรให้อยู่ในบังคับบัญชาของเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ออกไปดำเนินการออกโฉนด โดยกำหนดท้องที่ทิศใต้แต่แยกบางไทรขึ้นไปตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันตก

และตามฝั่งแม่น้ำแควอ่างทอง ทิศตะวันออกไปจนถึงคลองตะเคียนเป็นที่สุดฝ่ายเหนือ พระยาประชาชีพบรบาลกับเจ้าพนักงานแผนที่ทำการเดินสำรวจครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2444 ได้ถือเอาโฉนดเป็นหลักทะเบียน ซึ่งหลายตำบลในเขตอำเภอบางปะอินมณฑลกรุงเก่าได้รับการออกโฉนดหรือแจกโฉนดให้ ทว่าช่วงเวลานั้นยังไม่มีกฎหมายเป็นหลักในการออกโฉนดชัดเจน

พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ออกประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2444 วางระเบียบเรื่องโฉนดไว้อย่างชัดเจน และพระบรมราชโองการนี้ถือเป็นกฎหมายใช้ในการออกโฉนด นอกจานี้พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา กรมทะเบียนที่ดิน สังกัดกระทรวงเกษตรธิการขึ้นมา เพื่อจัดการดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้

โดยประกาศพระบรมราชการโองการเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ซึ่งมี นาย ดับบริว เอ.เกรแฮม เป็นเจ้ากรมคนแรก ด้วยเหตุนี้กรมที่ดิน จึงถือเอาวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2444 เป็นวันสถาปนากรมที่ดิน ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กรมทะเบียนที่ดิน ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น กรมที่ดิน สังกัดกระทรวงมหาดไทยตามประกาศพระบรมราชโองการผลัดเปลี่ยนเสนาบดีปลัดทูลฉลอง กระทรวงต่าง ๆ

และรวมกระทรวง พ.ศ. 2475 หลังจากนั้นถัดมาอีกหนึ่งปีก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น กรมที่ดินและโลหะกิจ พร้อมทั้งโอนมาสังกัดกระทรวงเศรษฐการ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ไม่นานนักก็ต้องโอนกลับมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการอีกครั้งในอีก 2 ปีต่อมา ท้ายสุดเมื่อมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 ต้องเปลี่ยนชื่อกันอีก

โดยใช้ชื่อว่า กรมที่ดิน เพียงอย่างเดียวและมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ พ.ศ. 2497 ทางราชการได้ตั้งสำนักงานที่ดินอำเภอชุมแพ โดยรวมอยู่กับที่ว่าการอำเภอ ชุมแพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้บริการประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน พ.ศ. 2520 กรมที่ดิน

ได้เร่งรัดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศในท้องที่อำเภอชุมแพ จึงทำปริมาณเอกสารสิทธิในสำนักงานที่ดินมีปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้ได้รับงบประมาณสร้างอาคารสำนักงานที่ดินอำเภอชุมแพ เมื่อปี พ.ศ. 2522 (ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาชุมแพ ในปัจจุบัน)

พ.ศ. 2538 ได้มีโครงการพัฒนากรมที่ดินและเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ ซึ่งอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ก็เป็นพื้นที่เป้าหมายตามโครงการดังกล่าว เมื่อผลการดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทำให้ประชาชนได้รับเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน จำนวนมาก

และประชาชนสามารถนำโฉนดที่ดินไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อนำเงินมาลงทุนและพัฒนาด้านการเกษตรกรรมในพื้นที่ดินของตนเองให้ได้ผลผลิตสูง และเป็นการสร้างความเจริญให้แก่อำเภอชุมแพ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศลงวันที่ 22 สิงหาคม 2538 มีเขตดำเนินการในท้องที่ 3 อำเภอ

คือ อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบัน สำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาชุมแพ มีเขตดำเนินการในท้องที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอชุมแพ และอำเภอภูผาม่าน เนื่องจากที่ดินอำเภอสีชมพู ได้ยกฐานะเป็นสำนักงานที่ดินจังหวัด สาขา แล้ว

สามารถสมัครได้ที่ https://ldd.thaijobjob.com