มาแล้ว! เปิดตัว ‘แท็กซี่รถเบนซ์’ 100 คัน ให้บริการผู้โดยสาร ‘แบบวีไอพี’ เริ่ม 1 มิ.ย. นี้! (ภาพ-รายละเอียด)

มาแล้ว! เปิดตัว ‘แท็กซี่รถเบนซ์’ 100 คัน ให้บริการผู้โดยสาร ‘แบบวีไอพี’ เริ่ม 1 มิ.ย. นี้! (ภาพ-รายละเอียด)

ออลไทยแท็กซี่ นำ รถเบนซ์ ให้บริการลูกค้าในรูปแบบ VIP เริ่มต้นที่ 150 บาท เปิดตัวทางการ 1 มิ.ย. 61 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 คุณเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร กรรมการ บริษัท ออลไทยแท็กซี่ จำกัด กล่าวว่า ตามที่กระทรวงคมนาคม มีนโยบายเพื่อต้องการยกระดับมาตรฐานแท็กซี่ไทยให้มีคุณภาพสูงขึ้นเทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยล่าสุดกรมการขนส่งทางบกได้ยกระดับด้วยการเปิดตัวโครงการ TAXI OK และ TAXI VIP นั้น

บริษัท ออลไทยแท็กซี่ จำกัด ได้ร่วมสนองตอบนโยบายภาครัฐด้วยการเปิดตัวบริการรูปแบบใหม่ ALL THAI TAXI ให้บริการด้วยรถ TOYOTA Prius Hybrid ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง บัดนี้ ออลไทยแท็กซี่ ยังคงยืนยันและมุ่งมั่นดำเนินตามวัตถุประสงค์หลัก ด้วยการเปิดโอกาสให้คนไทยได้นั่งรถรับจ้างที่ดีที่สุด และเป็นรถที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย

จึงได้เลือกใช้รถยนต์ Mercedes – Benz โดยกำหนดพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ณ กรมการขนส่งทางบก เพื่อร่วมเคียงข้างสนองนโยบายภาครัฐสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ “ออลไทยแท็กซี่” เลือกรถยนต์ Mercedes-Benz รุ่น C350e Avantgarde มาให้บริการในรูปแบบ TAXI VIP เนื่องจากเป็นรถยนต์สมรรถนะสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ

อีกทั้งยังเป็นรถที่มีคุณสมบัติถูกต้องสามารถจดทะเบียนเป็นรถ TAXI VIP ได้ตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบกเป็นรถรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คนแบบพิเศษ มีสมรรถนะสูงกว่ารถแท็กซี่ทั่วไป คุณสมบัติเด่น มีเทคโนโลยี Plug-in Hybrid ช่วยประหยัดพลังงานลดการใช้น้ำมันเขื้อเพลิง มีระบบกันสะเทือนแบบ AIRMATIC พร้อมช่วงล่างที่นิ่มนวลเป็นพิเศษ

โดยช่วงล่างจะปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการขับขี่ ตอบสนองการขับขี่ที่ให้ความนุ่มนวล และการควบคุมที่ยอดเยี่ยม เสริมความปลอดภัยด้วยระบบช่วยเบรกแบบแอคทีฟ (Active Brake Assist) ระบบจะทำหน้าที่ตรวจจับระยะห่าง ระหว่างรถกับรถคันหน้าตลอดเวลาโดยใช้สัญญาณเรดาร์ แจ้งเตือนด้วยเสียงเมื่อมีความเสี่ยงต่อการชน และช่วยเพิ่มแรงดันในระบบเบรกให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการชนในสถานการณ์ไม่คาดคิด

ในส่วนของมาตรฐานความปลอดภัย ตัวรถTAXI VIP ที่จะนำมาให้บริการนั้นกำหนดติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบเหมือนกับTAXI OK ประกอบด้วย การติดตั้งระบบ GPS Tracking, ติดตั้ง CCTV 360 องศา ปุ่มฉุกเฉินสำหรับผู้โดยสารอย่างน้อย 1 จุด ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้และใช้งานสะดวก รูปแบบการให้บริการมี น้ำดื่มฟรี, หนังสือพิมพ์, ผ้าเย็น, บริการฟรี WI-FI, ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

สำหรับค่าบริการTaxi VIP เริ่มต้นที่ 150 บาท (2 กิโลเมตรแรก) กิโลเมตรต่อไป คิดที่กิโลเมตรละ 16 บาท) กรณีรถติด คิดนาทีละ 6 บาท สามารถเรียกใช้บริการ 3 ช่องทางได้แก่ ผ่านแอปพลิเคชั่น ALL THAI TAXI, ผ่านLine @allthaitaxi และ Call Center 0-2018-9799 ซึ่งมีค่าเรียกใช้บริการครั้งละ 100 บาท บวกด้วยค่าโดยสารตามมิเตอร์ Taxi VIP และการจองล่วงหน้าเกินกว่า 1 ชั่วโมง

มีค่าบริการครั้งละ 200 บาท บวกด้วยค่าโดยสารตามมิเตอร์ Taxi VIP เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรถแน่นอน ที่ให้ความมั่นใจสูงสุด เช่น เดินทางไปกลับสนามบิน และสำหรับลูกค้าองค์กรธุรกิจ ธุรกิจโรงแรม นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว ที่ต้องการบริการระดับพรีเมี่ยม ซึ่งในระยะแรกออลไทยแท็กซี่จะนำรถมาวิ่งให้บริการ 100 คัน มีมูลค่าการลงทุนกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มวิ่งให้บริการ 15 คันแรกในวันที่ 1 มิ.ย.61 นี้

คุณเครือวัลย์ กล่าวต่อไปว่า ในระยะแรกจะใช้จุดจอด หรือจุดพักรถ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเขตเมืองชั้นในย่านเศรษฐกิจ เพื่อสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว พร้อมศูนย์ให้บริการลูกค้า (Contact Center) ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับพนักงานขับรถออลไทยแท็กซี่ จะมีการฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านต่างๆเพิ่มเติม เช่น ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ความรู้เบื้องต้นในการซ่อมบำรุงรักษารถ เป็นต้น

มีความเชี่ยวชาญชำนาญในการขับขี่ที่ดี ปฏิบัติงานด้วยการให้บริการที่มีคุณภาพ มีระเบียบวินัย สุภาพเรียบร้อย และปฏิบัติตามกฎหมาย ตามมาตรฐานรถออลไทยแท็กซี่ ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของระบบขนส่งสาธารณะต่อไป

ในปัจจุบันระบบแท็กซี่ไทยได้เกิดมีปัญหาต่างๆ ทั้งในส่วนของคุณภาพของรถและคนขับรถแท็กซี่ รวมถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและการคิดราคาค่าโดยสารที่เกินมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น จำนวนรถแท็กซี่ที่มีมากเกินไป เป็นต้น นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยในปัจจุบัน

ทำให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ต้องหันมาปรับปรุงการให้บริการในการแข่งขันเชิงคุณภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์ เพื่อศึกษาการให้บริการให้บริการแท็กซี่ไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบแท็กซี่ไทย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก

คือ ผู้ประกอบการรถแท็กซี่, นักวิชาการจากฝ่ายสำนักการขนส่งผู้โดยสาร และนักวิชาการฝ่ายกองตรวจการ ประกอบกับสอบถามเพิ่มเติมในส่วนของความคิดเห็นและทัศนคติของคนขับรถแท็กซี่กับผู้โดยสาร จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาแท็กซี่ไทยที่ควรได้รับการแก้ไข คือ ความปลอดภัย, ลักษณะและคุณภาพในการให้บริการ และราคา ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับลำดับความสำคัญของการใช้มาตรการ

การแก้ไขปัญหาแท็กซี่ไทยในส่วนของความต้องการพื้นฐานและเพิ่มเติม นอกจากนี้ความคิดเห็นโดยรวมนั้น เห็นด้วยกับการนำแอพพลิเคชั่นในการเรียกรถแท็กซี่มาประยุกต์ใช้ และควรลดหรือไม่ให้มีการเรียกแท็กซี่ในรูปแบบการโบกตามท้องถนน, ใบอนุญาตการประกอบการรถแท็กซี่ควรมีการจำกัดและปรับให้อยู่ในรูปแบบผู้ประกอบการที่แท้จริง, อัตราค่าโดยสารในปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว

แต่อาจจะมีการแบ่งโครงสร้างราคาเพิ่มเติม เช่น ช่วงเวลา และคุณภาพบริการ, อุปกรณ์เพิ่มเติมที่ควรติดตั้ง คือระบบ GPS และกล้องวงจรปิด, ระบบการตรวจสอบประวัติและประเมินการให้บริการของคนขับรถแท็กซี่ควรสร้างให้เป็นเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ รวมถึงควรมีการอบรมการให้บริการที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของกรมขนส่งทางบกและผู้ประกอบการ และควรเพิ่มบทลงโทษทั้งในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งคนขับรถแท็กซี่และผู้ประกอบการ

15 ข้อต้องรู้ อูเบอร์ VS แท็กซี่ ปัญหาวุ่นคู่กัดแห่งท้องถนน  บริษัทที่ให้บริการรถแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น อย่าง บริษัท อูเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด น้องใหม่มาแรงโดนใจพลพรรคคนชอบใช้บริการรถแท็กซี่ ออกตัวแรงแซงทางโค้งเหล่าพี่แท็กซี่รุ่นเก่าแบบไม่เกรงใจขาใหญ่แม้แต่น้อย จนแล้วจนรอดไม่พ้นเกิดปัญหาสะดุดเกี่ยวกับการให้บริการที่ยังเป็นบริการไม่ถูกกฎหมาย

ต้องยอมจำนนรับคำสั่งกรมขนส่ง ยุติบริการแท็กซี่ป้ายดำในไทย สะท้อนปัญหาจากผู้คร่ำหวอดในระบบคมนาคม อย่าง ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ถึงปัญหา มุมมอง ซึ่งแฝงไปด้วยทางออกอันน่าสนใจ หากแท็กซี่เป็นเพียง only one ครองท้องถนนไทย หรืออูเบอร์ ก้าวเข้ามาเดิมพันบนถนนแห่งบริการรถยนต์สาธารณะเต็มตัว ใครจะอยู่ ใครจะไป ทางออกคือสิ่งใด ต้องดู!

คำสั่งของกรมการขนส่งทางบก ต่อกรณี บริการ UBER ทั้งในกรณี UBER Black และ UBER X ในเรื่องของการให้บริการที่ผิดกฎหมาย นั่นคือ รถไม่ได้จดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะ (กรณี UBER X) และพนักงานขับรถไม่ได้รับใบอนุญาตรถยนต์สาธารณะ (ทั้ง UBER Black และ UBER X) นั้น ถูกต้องตามกรอบกฎหมายในปัจจุบัน (พ.ร.บ.รถยนต์)

การกำกับดูแลระบบแท็กซี่ในปัจจุบัน เป็นการกำกับดูแลเพียงตัวรถ กล่าวคือ รถยนต์ ต้องจดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะ (ป้ายเหลือง) และผู้ขับขี่ ต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่รถโดยสารสาธารณะ และมีการกำกับดูแลการให้บริการ คือ ให้บริการในพื้นที่ที่กำหนด (เช่น ภายในเขตจังหวัด หรือระหว่างจังหวัด) การห้ามปฏิเสธผู้โดยสาร และการกำหนดราคาค่าบริการโดยระบบมิเตอร์ ซึ่งเราเรียกว่าแท็กซี่มิเตอร์ในปัจจุบัน

รูปแบบที่ UBER Black เป็นการจดทะเบียนรถยนต์บริการ (ป้ายเขียว) ในรูปแบบรถยนต์บริการธุรกิจ ซึ่งได้แก่ รถยนต์ที่ใช้บรรทุกคนโดยสารระหว่างท่าอากาศยาน ท่าเรือเดินทะเล สถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟกับโรงแรมที่พักอาศัย ที่ทำการของผู้โดยสาร หรือที่ทำการของผู้บริการธุรกิจนั้น ซึ่งในปัจจุบัน ค่าโดยสารของรถยนต์บริการ ผู้ประกอบการสามารถกำหนดค่าโดยสารได้ตามความเหมาะสม