Home »
Uncategories »
ไม่อยากหลังพังรีบเปลี่ยนท่านอนด่วน!!! 4 ท่านอนแก้ปวดหลัง
ไม่อยากหลังพังรีบเปลี่ยนท่านอนด่วน!!! 4 ท่านอนแก้ปวดหลัง
ท่านอนแก้ปวดหลัง แค่ปรับลักษณะท่านอนให้ถูกต้อง อาการปวดเมื่อยตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนหลังก็จะบรรเทาลงได้
คนที่มีอาการปวดหลังมานาน
บริหารร่างกายด้วยท่าไหนอาการปวดหลังก็ไม่บรรเทาลงสักที
เคสนี้อาจต้องลองปรับสิ่งเล็ก ๆ ที่เราอาจจะไม่ทันคิดดูก่อน
อย่างลักษณะท่านอนแก้ปวดหลังต่อไปนี้
ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดีเลย
1. นอนตะแคง หนุนหมอนที่ขา
ท่านอนแก้ปวดหลังท่าแรกขอแนะนำให้นอนตะแคง
เพราะเป็นท่าที่กระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะโค้งอย่างเหมาะสม
และควรจะนอนตะแคงแบบงอเข่าเล็กน้อย พร้อมกับหนุนหมอนที่ระหว่างขาทั้ง 2
ข้าง เพื่อให้สะโพกอยู่ในระนาบเดียวกันกับกระดูกสันหลัง
ไม่เกิดการคดงอที่ผิดไปจากปกติ
อีกทั้งการนอนในท่านี้จะช่วยให้คุณนอนหลับสนิทขึ้นด้วย
4. ท่านอนหงาย แขนวางข้างลำตัว
ท่านี้เป็นท่านอนเบสิกที่หลาย ๆ คนโปรดปราน
ทว่าหากอยากแก้อาการปวดหลังควรนอนหงายโดยมีหมอนหนุนใต้เข่าสักหน่อย
เพื่อเป็นการจัดเรียงกระดูกสันหลังให้อยู่ในลักษณะโค้งอย่างเหมาะสม
ทว่าหากที่นอนนุ่มนิ่มจนเกินไป
ทำให้ท่านอนหงายของเราอยู่ในลักษณะโค้งจนคล้าย ๆ ลักษณะของช้อน
เคสนี้อาจต้องใช้หมอนรองที่บริเวณหลังส่วนล่างเพื่อเป็นการรักษาความโค้งงอของกระดูกสันหลังให้เหมาะสมด้วย
นอกจากท่านอนที่ถูกต้องเพื่อแก้อาการปวดหลังแล้ว เรายังควรหลีกเลี่ยงท่านอนต่อไปนี้ ที่อาจทำให้เสี่ยงปวดหลังมากขึ้นด้วย
1. ท่านอนแบบทารก
แม้ท่านอนแบบทารกจะช่วยแก้ปัญหานอนกรน
หรือเป็นท่าที่ดีสำหรับหญิงตั้งครรภ์
ทว่าสำหรับอาการปวดหลังแล้วจัดว่าเป็นท่าที่ไม่ควรนอนมากที่สุด
เนื่องจากท่านอนแบบทารกจะอยู่ในลักษณะขดตัว
ทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าทางที่ไม่เป็นธรรมชาติ
จนนำมาสู่อาการปวดหลังนั่นเอง
2. ท่านอนคว่ำ
นอกจากการนอนคว่ำจะทำให้หายใจไม่สะดวกแล้ว
ยังสามารถก่ออาการปวดหลังได้อีกด้วย
เพราะแน่นอนว่าเมื่อนอนคว่ำกระดูกสันหลังก็จะอยู่ในลักษณะที่ผิดธรรมชาติ
แถมยังอาจมีอาการปวดลามมาถึงต้นคอเนื่องจากเกิดแรงกดทับด้วยนะคะ
อย่างไรก็ตาม
วิธีแก้ปวดหลังจากการนอนที่สำคัญอีกอย่างคือต้องคำนึงถึงหมอนและที่นอนของเราด้วย
โดยหมอนที่ใช้หนุนควรเป็นหมอนที่เรานอนแล้วรู้สึกสบาย
ไม่รู้สึกปวดตึงที่ต้นคอยามตื่นนอน
ส่วนที่นอนก็ไม่ควรใช้ฟูกนอนที่นุ่มจนเกินไปอย่างที่นอนฟองน้ำ
เพราะอาจทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ผิดปกติหรือจมกับที่นอนมากเกินไปในขณะที่เรานอนอยู่นั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : K@POOK! และ หมอชาวบ้าน