นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า
ภายหลังเสนอข้อกังวลและปัญหาการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ต่อนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด
สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารจัดการและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์
โดยให้นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน
ให้เชิญตัวแทนผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.), กระทรวงการคลัง และสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ร่วมเป็นคณะกรรมการในการร่วมแก้ปัญหาสหกรณ์
กรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องการผู้เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนเข้ามาช่วยศึกษาผลกระทบและวางเกณฑ์การกำกับที่เหมาะสม เพื่อให้มาช่วยออกเกณฑ์การกำกับในเรื่องการลงทุน การกำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนต่อทุนสหกรณ์ การกำหนดอันดับเครดิตที่สหกรณ์สามารถลงทุนได้เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง ซึ่งปัจจุบันการกำกับดูแลในเรื่องการลงทุน ความเสี่ยง สหกรณ์ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีแรงต้านจากสหกรณ์ขนาดใหญ่ และกังวลเรื่องผลกระทบต่อระบบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ปัญหาที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กังวลสถานการณ์ความผันผวนของตลาดเงิน และแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ในอนาคต จะทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์มีปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากขณะนี้สหกรณ์ออมทรัพย์เกิดความไม่สมดุลระหว่างหนี้ที่ให้กู้ระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน โดยสหกรณ์ผู้ให้กู้มีประมาณ 40-50 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ มีสถานะเงินล้นระบบ เพราะมีอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5-4% สูงกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 0.75-1% ซึ่งเป็นเงินฝากระยะสั้นดอกเบี้ยสูง จึงมีการนำเงินมาฝากจำนวนมาก
ขณะที่สหกรณ์ผู้กู้ ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร เป็นต้น กลุ่มนี้สมาชิกจะเป็นหนี้ค่อนข้างสูงประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 50% หนี้ทั้งระบบของสหกรณ์ที่มีประมาณ 2.03 ล้านล้านบาท หากหักเงินเดือนหรือรายได้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เป็นลูกหนี้มาชำระหนี้ สมาชิกจะเหลือเงินเพียง 10-20% ของเงินเดือน ทำให้ต้องมีการกู้เพิ่ม กู้วนไป 4-5 เดือนกู้อีกทำให้หนี้สินของสมาชิกพอกพูน ซึ่งอาจนำมาซึ่งสหกรณ์นั้นๆ ขาดสภาพคล่องในที่สุด หากสถานการณ์ด้านการเงินโลก หรือระบบของประเทศไทยผันผวน สมาชิกสหกรณ์กลุ่มนี้จะกลับไปสู่วังวนหนี้นอกระบบในที่สุด
นอกจากนี้ สหกรณ์ยังมีความเสี่ยงเรื่องการนำเงินฝากไปลงทุนในตราสารหนี้และตลาดหุ้นจำนวน 468,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีหุ้นกู้ 236,000 ล้านบาท หรือ 50% ของการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งการนำเงินฝากของสมาชิกในระยะสั้นไปลงทุนในระยะยาว อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาพคล่องของสหกรณ์
ส่วนกรณีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ขณะนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนการฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ตามแผน มีการผิดชำระหนี้มาแล้ว 2 งวดติดต่อกัน จึงอยากขอให้เจรจาดีเอสไอปล่อยทรัพย์ที่อายัดหรือยึดไว้วงเงิน 3,800 ล้านบาท และให้จัดทีมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการการฟื้นฟูกิจการ เข้ามาช่วยวิเคราะห์และทบทวนฟื้นฟูฯเพื่อให้สามารถที่จะฟื้นฟูกิจการต่อไปได้
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
กรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องการผู้เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนเข้ามาช่วยศึกษาผลกระทบและวางเกณฑ์การกำกับที่เหมาะสม เพื่อให้มาช่วยออกเกณฑ์การกำกับในเรื่องการลงทุน การกำหนดสัดส่วนของเงินลงทุนต่อทุนสหกรณ์ การกำหนดอันดับเครดิตที่สหกรณ์สามารถลงทุนได้เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง ซึ่งปัจจุบันการกำกับดูแลในเรื่องการลงทุน ความเสี่ยง สหกรณ์ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีแรงต้านจากสหกรณ์ขนาดใหญ่ และกังวลเรื่องผลกระทบต่อระบบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ปัญหาที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กังวลสถานการณ์ความผันผวนของตลาดเงิน และแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ในอนาคต จะทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์มีปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากขณะนี้สหกรณ์ออมทรัพย์เกิดความไม่สมดุลระหว่างหนี้ที่ให้กู้ระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน โดยสหกรณ์ผู้ให้กู้มีประมาณ 40-50 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ มีสถานะเงินล้นระบบ เพราะมีอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5-4% สูงกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 0.75-1% ซึ่งเป็นเงินฝากระยะสั้นดอกเบี้ยสูง จึงมีการนำเงินมาฝากจำนวนมาก
ขณะที่สหกรณ์ผู้กู้ ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร เป็นต้น กลุ่มนี้สมาชิกจะเป็นหนี้ค่อนข้างสูงประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 50% หนี้ทั้งระบบของสหกรณ์ที่มีประมาณ 2.03 ล้านล้านบาท หากหักเงินเดือนหรือรายได้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เป็นลูกหนี้มาชำระหนี้ สมาชิกจะเหลือเงินเพียง 10-20% ของเงินเดือน ทำให้ต้องมีการกู้เพิ่ม กู้วนไป 4-5 เดือนกู้อีกทำให้หนี้สินของสมาชิกพอกพูน ซึ่งอาจนำมาซึ่งสหกรณ์นั้นๆ ขาดสภาพคล่องในที่สุด หากสถานการณ์ด้านการเงินโลก หรือระบบของประเทศไทยผันผวน สมาชิกสหกรณ์กลุ่มนี้จะกลับไปสู่วังวนหนี้นอกระบบในที่สุด
นอกจากนี้ สหกรณ์ยังมีความเสี่ยงเรื่องการนำเงินฝากไปลงทุนในตราสารหนี้และตลาดหุ้นจำนวน 468,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีหุ้นกู้ 236,000 ล้านบาท หรือ 50% ของการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งการนำเงินฝากของสมาชิกในระยะสั้นไปลงทุนในระยะยาว อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาพคล่องของสหกรณ์
ส่วนกรณีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ขณะนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนการฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้ตามแผน มีการผิดชำระหนี้มาแล้ว 2 งวดติดต่อกัน จึงอยากขอให้เจรจาดีเอสไอปล่อยทรัพย์ที่อายัดหรือยึดไว้วงเงิน 3,800 ล้านบาท และให้จัดทีมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการการฟื้นฟูกิจการ เข้ามาช่วยวิเคราะห์และทบทวนฟื้นฟูฯเพื่อให้สามารถที่จะฟื้นฟูกิจการต่อไปได้
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์