ประโยชน์ไม่ธรรมดา “ว่านหางจระเข้” ช่วยรักษาฝ้า รอยแผลเป็น และความงามอื่นๆ

ประโยชน์ไม่ธรรมดา “ว่านหางจระเข้” ช่วยรักษาฝ้า รอยแผลเป็น และความงามอื่นๆ

ดีมาก ๆ “ว่านหางจระเข้” ประโยชน์เยอะมากตั้งแต่รากยันใบ ช่วยดูแลรักษาสุขภาพ ความงาม เรียกได้ว่าตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยล่ะค่ะ จะมีวิธีใช้อย่างไรมาดูกันเลยค่ะ

เด็ด! ประโยชน์ของ “ว่านหางจระเข้” ที่หมอไม่ได้บอก ปลูกเก็บไว้เลยนะ



1. ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
Aloetin เป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรีย สามารถฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อโรคอื่น ๆได้ มันสามารถยับยั้ง ระงับการพัฒนาและการสืบพันธุ์ของโรค

2. ต่อต้านการอักเสบ
ว่านหางจระเข้มี bradykinin ซึ่งมีบทบาทในการต่อต้านการอักเสบของหลอดเลือด และยังมี polysaccharides สามารถเพิ่มความต้านทานต่อโรคของร่างกาย รักษาโรคผิวหนังอักเสบ ไตอักเสบเรื้อรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หลอดลมอักเสบ และโรคเรื้อรังอื่นๆ



3. เพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว
ในว่านหางจระเข้มี polysaccharides และวิตามินที่เป็นอาหารที่ดีของผิว ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น และขาวใส โดยเฉพาะปัญหาสิวของสาวๆวัยรุ่น ว่านหางจระเข้ก็มีประสิทธิภาพในการกำจัดสิวอย่างดี Aloe emodin และสาร anthraquinone glycosides อื่น ๆในว่านหางจระเข้ช่วยทำให้เส้นผมนุ่มเงา เบาสบายและป้องกันรังแค

4. ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานน้อยลง
ในว่านหางจระเข้มี aloin, emodin, และสารสำคัญอื่นๆที่ช่วยให้อยากอาหาร ผ่อนคลายลำไส้ใหญ่ การรับประทานว่านหางจระเข้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร ประสิทธิภาพของร่างกาย เพราะงั้นสำหรับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร การรับประทานว่านหางจระเข้จะช่วยให้กลับมาอยากอาหารขึ้น



5. หัวใจแข็งแรงและการไหลเวียนโลหิตดี
Calcium isocitrate ในว่านหางจระเข้ทำให้หัวใจแข็งแรง ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น เส้นเลือดแดงนิ่มลง ลดระดับคลอเรสเตอรอล เส้นเลือดฝอยขยายตัว ลดภาระของหัวใจ ความดันโลหิตเป็นปรกติ ขับสารพิษออกจากเลือด

6. สร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
Aloein A, Traumatic hormone, Polyglyceride nectar (Ke-2) มีฤทธิ์ต้านไวรัส ช่วยรักษาแผล ต้านการอักเสบ ลดบวม ทำให้ผิวนิ่ม ทำให้เซลล์มีชีวิตชีวา เจล polysaccharide และ Callus acid ช่วยรักษาบาดแผล ดังนั้นมันจึงช่วยรักษาแผลให้ไม่มีแผลเป็น ไม่ว่าจะเป็นแผลมีเลือดออกหรือไม่มีก็ตาม

7. สร้างภูมิคุ้มกันและต้านทานการเกิดเนื้องอก
สารที่มีความหนืดในว่านหางจระเข้ polysaccharides (acetylated glucomannan, mannan, acetylated mannan, aloe mannan, alocutin, alomicin ฯลฯ ) มีผลต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและยับยั้งการเจริญของเซลล์ผิดปกติ เพิ่มความต้านทานโรคให้ร่างกาย



8. ล้างพิษ
ว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มากเกินไป เพิ่มบทบาทของฟังก์ชัน phagocytic phagocytic ช่วยให้ร่างกายขับพิษผ่านการเผาผลาญ aloetin alomicin และสารอื่น ๆในว่านหางจระเข้ มีบทบาทในการส่งเสริมการสลายตัวของสารที่เป็นอันตรายในตับ และยังช่วยลดการบุกรุกทางชีวภาพของสารพิษ

9. แก้ปวด กดประสาท
การศึกษาทางเภสัชวิทยาสมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นว่าว่านหางจระเข้สดมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และแก้ปวด ว่านหางจระเข้ยังช่วยปกป้องเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกัน

10. ป้องกันแสงแดด
เวลาอากาศร้อน ทาว่านหางจระเข้บนผิวจะช่วยป้องการแสงแดดได้ ถ้าโดนแดดเผา เอาว่านหางจระเข้ทาก็จะบรรเทาความเจ็บปวดได้เช่นกัน

11. กันแมลง
น้ำว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ทาน้ำว่านหางจระเข้ในหน้าร้อนช่วยกันยุงได้ ชาวโคลัมเบียมักทาน้ำว่านหางจระเข้บริเวณเท้าเด็กๆ เพื่อป้องกันแมลง นำน้ำว่านหางจระเข้ไปทาบริเวณขอบประตูหน้าต่าง แมลงวันจะไม่เข้าบ้าน

12. ช่วยระงับกลิ่น
ว่านหางจระเข้ช่วยระงับกลิ่นเหม็นของเท้า รักแร้ ปาก ใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณเหล่านี้ช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นตัวได้



สรรพคุณของว่านหางจระเข้
1. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือจะทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคเบาหวานได้ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของ
2. ว่านหางจระเข้แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วเอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ)
3. วุ้นว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ
4. สรรพคุณว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อวุ้น)
5. ใช้เป็นถ่าย ยาระบาย ที่เปลือกของว่านหางจระเข้จะมีน้ำยางสีเหลือง ในน้ำยางจะมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากนำน้ำยางไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ก็จะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำ หรือเรียกว่า “ยาดำ” ซึ่งยาดำนี้เองใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอยู่หลายตำรับ (ยางในใบ)
6. ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ (ยาดำ) แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน
7. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย (เนื้อวุ่น)
8. ช่วยแก้หนองใน (ราก, เหง้า)
9. ช่วยแก้มุตกิดหรือระดูขาวของสตรี (ราก, เหง้า)
10. ทั้งต้นของว่านหางจระเข้มีรสเย็น ใช้ดองกับสุรานำมาดื่มช่วยขับน้ำคาวปลาได้ (ทั้งต้น)
11. ช่วยบรรเทาและแก้อาการปวดตามข้อ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำ จะช่วยทำให้อาการปวดดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
12. ใบว่านหางจระเข้มีรสเย็น นำมาตำผสมกับสุราใช้พอกรักษาฝีได้ (ใบ)
13. ช่วยรักษาแผลสด แผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก แก้ฝี แก้ตะมอย ด้วยการใช้วุ้นจากใบนำมาแปะบริเวณแผลให้มิดชิดและใช้ผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้ชุ่มอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้ (วุ้นจากใบ)
14. ช่วยรักษาแผลถลอกและแผลจากการถูกครูด (แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก) ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้นำมาทาแผลเบา ๆ ในวันแรกต้องทาบ่อย ๆ จะช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ไม่เจ็บแผลมาก (วุ้นจากใบ)
15. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยดับพิษร้อนบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผล ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดที่ล้างน้ำสะอาด แล้วฝานบาง ๆ นำมาทาหรือแปะไว้บริเวณแผลตลอดเวลา จะช่วยทำให้แผลหายเร็วมากขึ้นและอาจไม่เกิดรอยแผลเป็นด้วย (วุ้นจากใบ)
16. ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น (วุ้นจากใบ)
17. ช่วยรักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต ด้วยการใช้วุ้นจากใบที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาปิดไว้บริเวณที่เป็นและหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
18. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการใช้วุ้นจากใบทาก่อนออกแดด หรือจะใช้ใบสดก็ได้ แต่ใบสดอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เพราะใบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้ง ก็อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืชหรืออาจเตรียมเป็นโลชั่นก็ได้ (วุ้นจากใบ)
19. ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โดยนำวุ้นของว่ายหางจระเข้มาทาผิวบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดการอักเสบได้ แต่ถ้าไปนาน ๆระวังผิวแห้ง ควรผสมกับน้ำมันพืช เว้นแต่ว่าจะทำให้ผิวเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา (วุ้นจากใบ)
20. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อรักษาฝ้า (วุ้นจากใบ) ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวาง (โรคสะเก็ดเงิน) ช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคเรื้อนกวาง ทำให้แผลดูดีขึ้น (วุ้นจากใบ)



คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้
– การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
– เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
– การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
– ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
– วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
– หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
การใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย
– การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันทีแ


แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล,
 www.health.howstuffworks.com
ขอขอบคุณ : liekr, เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)