เสลดพังพอน สมุนไพรไทยชื่อเสียงคุ้นหูที่เด่นในเรื่องถอนพิษ สรรพคุณดี ๆ ที่หาได้ไม่ยากจากไม้ประดับใกล้ตัว
ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องสมุนไพรที่มีสรรพคุณถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย เสลดพังพอนก็ถือเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณโดดเด่นในด้านนี้ แต่นอกจากนี้เจ้าเสลดพังพอนก็ยังมีสรรพคุณอีกมากมายที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบ ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้กันให้มากขึ้น รวมทั้งไขข้อสงสัยที่ว่าทำไมเสลดพังพอนถึงมีทั้ง เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย ทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร และสรรพคุณจะเหมือนกันหรือไม่ รับรองว่าได้ทราบคำตอบกันแน่นอนค่ะ
ต้นเสลดพังพอน เป็นพืชในวง ACANTHACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันออกไปตามชนิด โดยเสลดพังพอนถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เสลดพังพอนตัวเมีย (Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau.) และเสลดพังพอนตัวผู้ (Barleria lupulina Lindl.) ทั้งนี้เสลดพังพอนก็ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เรียกแตกต่างกันออกไป โดยเสลดพังพอนตัวผู้บ้างก็ถูกเรียกว่า พิมเสนต้น, ทองระอา, ช้องระอา, ลิ้นงูเห่า, คันชั่ง, อังกาบ, อังกาบเมืองหรือก้านชั่ง ส่วนเสลดพังพอนตัวเมียมักจะถูกเรียกว่าพญายอ นอกจากนี้ยังอาจเรียกว่า ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องดำ, พญาปล้องทอง, ลิ้นมังกร, โพะโซ่จาง เป็นต้น
เสลดพังพอนทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกันคือ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว มีช่อดอกที่ปลายกิ่งเหมือนกัน ส่วนความแตกต่างนั้นจะอยู่ที่ลำต้นซึ่งเสลดพังพอนจะมีหนามแหลมยาวที่ลำต้น แต่ตัวเมียไม่มี สีสันของใบก็เช่นกัน เสลดพังพอนตัวผู้จะมีก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบสีเขียวเข้ม แต่ใบของเสลดพังพอนตัวเมียจะเป็นสีเขียว นอกจากนี้ดอกของเสลดพังพอนทั้ง 2 ชนิดยังมีสีที่ต่างกันอีกด้วย โดยตัวผู้จะมีสีส้ม ส่วนดอกของตัวเมียจะมีสีแดงอมส้ม ทั้งนี้คนมักนิยมนำเสลดพังพอนมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในบ้านเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงต่าง ๆ อาทิ งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น
เสลดพังพอน กับสรรพคุณที่น่าสนใจ
ไม่ว่าจะเป็นเสลดพังพอนตัวผู้หรือตัวเมีย ทั้ง 2 ชนิดนี้ก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องถอนพิษ ซึ่งสรรพคุณของเสลดพังพอนตัวผู้จะอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย และเสลดพังพอนตัวผู้จะมีรสขมกว่าตัวเมีย แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ค่ะ โดยสรรพคุณของเสลดพังพอนมีดังนี้
เสลดพังพอนตัวเมีย
* ราก - มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อย
* ใบ - ช่วยรักษาแผลโรคผิวหนัง อาทิ เริม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และบรรเทาอาการแผลร้อนในภายในปาก
* ทั้งต้น - ใช้ในการถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมงป่อง ช่วยรักษาอาการอักเสบ แก้งูสวัด บรรเทาอาการลมพิษ และรักษาแผลน้ำร้อนลวกได้
เสลดพังพอนตัวผู้
* ราก - ช่วยลดอาการตัวเหลือง แก้อาการตาเหลือง แก้อาการกินข้าวไม่ได้ ถอนพิษแมลงสัตว์กันต่อย ถอนพิษงู แก้ปวดฟัน
* ใบ - ช่วยแก้อาการปวดที่บาดแผล แก้โรคฝี โรคคางทูม โรคงูสวัด เริม แก้ฟกช้ำ และช่วยรักษาแผลที่เกิดจากของมีคมได้
* ทั้งต้น - ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมีย และใช้แทนเสลดพังพอนตัวเมียได้ แต่ใบเสลดพังพอนตัวเมียมีรสจืด ใบเสลดพังพอนตัวผู้มีรสขมมาก และเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์อ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย
ข้อควรระวังในการใช้เสลดพังพอน
แม้ว่าเสลดพังพอนจะช่วยรักษาบาดแผลและถอนพิษได้ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการนำเสลดพังพอนมาพอกที่บริเวณแผลโดยตรงเพราะอาจจะทำให้แผลติดเชื้อได้ค่ะ
ได้รู้จักกับเสลดพังพอนกันไปแล้ว จากนี้ไปก็คงจะพอแยกเสลดพังพอนทั้ง 2 ชนิดนี้ออกแล้วล่ะเนอะ แต่ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ล้วนแต่มีสรรพคุณดี ๆ ทั้งนั้น ถ้าหากบ้านของคุณมีพื้นที่ละก็ แนะนำให้เอามาปลูกดีกว่านะคะ ได้ทั้งอาหารตา แถมยังได้ยาพื้นบ้านดี ๆ อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องสมุนไพรที่มีสรรพคุณถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย เสลดพังพอนก็ถือเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณโดดเด่นในด้านนี้ แต่นอกจากนี้เจ้าเสลดพังพอนก็ยังมีสรรพคุณอีกมากมายที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบ ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้กันให้มากขึ้น รวมทั้งไขข้อสงสัยที่ว่าทำไมเสลดพังพอนถึงมีทั้ง เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย ทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร และสรรพคุณจะเหมือนกันหรือไม่ รับรองว่าได้ทราบคำตอบกันแน่นอนค่ะ
ต้นเสลดพังพอน เป็นพืชในวง ACANTHACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันออกไปตามชนิด โดยเสลดพังพอนถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เสลดพังพอนตัวเมีย (Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau.) และเสลดพังพอนตัวผู้ (Barleria lupulina Lindl.) ทั้งนี้เสลดพังพอนก็ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เรียกแตกต่างกันออกไป โดยเสลดพังพอนตัวผู้บ้างก็ถูกเรียกว่า พิมเสนต้น, ทองระอา, ช้องระอา, ลิ้นงูเห่า, คันชั่ง, อังกาบ, อังกาบเมืองหรือก้านชั่ง ส่วนเสลดพังพอนตัวเมียมักจะถูกเรียกว่าพญายอ นอกจากนี้ยังอาจเรียกว่า ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด, พญาปล้องดำ, พญาปล้องทอง, ลิ้นมังกร, โพะโซ่จาง เป็นต้น
เสลดพังพอนทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกันคือ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว มีช่อดอกที่ปลายกิ่งเหมือนกัน ส่วนความแตกต่างนั้นจะอยู่ที่ลำต้นซึ่งเสลดพังพอนจะมีหนามแหลมยาวที่ลำต้น แต่ตัวเมียไม่มี สีสันของใบก็เช่นกัน เสลดพังพอนตัวผู้จะมีก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบสีเขียวเข้ม แต่ใบของเสลดพังพอนตัวเมียจะเป็นสีเขียว นอกจากนี้ดอกของเสลดพังพอนทั้ง 2 ชนิดยังมีสีที่ต่างกันอีกด้วย โดยตัวผู้จะมีสีส้ม ส่วนดอกของตัวเมียจะมีสีแดงอมส้ม ทั้งนี้คนมักนิยมนำเสลดพังพอนมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในบ้านเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงต่าง ๆ อาทิ งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็นเสลดพังพอนตัวผู้หรือตัวเมีย ทั้ง 2 ชนิดนี้ก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องถอนพิษ ซึ่งสรรพคุณของเสลดพังพอนตัวผู้จะอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย และเสลดพังพอนตัวผู้จะมีรสขมกว่าตัวเมีย แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ค่ะ โดยสรรพคุณของเสลดพังพอนมีดังนี้
เสลดพังพอนตัวเมีย
* ราก - มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อย
* ใบ - ช่วยรักษาแผลโรคผิวหนัง อาทิ เริม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และบรรเทาอาการแผลร้อนในภายในปาก
* ทั้งต้น - ใช้ในการถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมงป่อง ช่วยรักษาอาการอักเสบ แก้งูสวัด บรรเทาอาการลมพิษ และรักษาแผลน้ำร้อนลวกได้
* ราก - ช่วยลดอาการตัวเหลือง แก้อาการตาเหลือง แก้อาการกินข้าวไม่ได้ ถอนพิษแมลงสัตว์กันต่อย ถอนพิษงู แก้ปวดฟัน
* ใบ - ช่วยแก้อาการปวดที่บาดแผล แก้โรคฝี โรคคางทูม โรคงูสวัด เริม แก้ฟกช้ำ และช่วยรักษาแผลที่เกิดจากของมีคมได้
* ทั้งต้น - ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมีย และใช้แทนเสลดพังพอนตัวเมียได้ แต่ใบเสลดพังพอนตัวเมียมีรสจืด ใบเสลดพังพอนตัวผู้มีรสขมมาก และเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์อ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย
ข้อควรระวังในการใช้เสลดพังพอน
แม้ว่าเสลดพังพอนจะช่วยรักษาบาดแผลและถอนพิษได้ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการนำเสลดพังพอนมาพอกที่บริเวณแผลโดยตรงเพราะอาจจะทำให้แผลติดเชื้อได้ค่ะ
ได้รู้จักกับเสลดพังพอนกันไปแล้ว จากนี้ไปก็คงจะพอแยกเสลดพังพอนทั้ง 2 ชนิดนี้ออกแล้วล่ะเนอะ แต่ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ล้วนแต่มีสรรพคุณดี ๆ ทั้งนั้น ถ้าหากบ้านของคุณมีพื้นที่ละก็ แนะนำให้เอามาปลูกดีกว่านะคะ ได้ทั้งอาหารตา แถมยังได้ยาพื้นบ้านดี ๆ อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล