คนไทยทำได้! รถยนต์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย ในราคาสุดประหยัด ด้วยงบไม่เกิน 200,000 บาท

โดยเทคโนโลยีในสมัยนี้นะบอกเลยว่าเริ่มมีความก้าวหน้าอย่างมากขึ้นเริ่มมีการใช้รถไฟฟ้าในการขับขี่เพื่อประหยัดการใช้เชื้อเพลิงกันอย่างมากมายโดยในปัจจุบันเริ่มมีการออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการกับกลุ่มคนที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานสิ้นเปลืองอย่างน้ำมันแทนเพราะมันนั้นยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีอีกด้วย

โดยส่วนใหญ่นะเราก็มักจะเห็นผลงานจากต่างประเทศที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้ากัน ซึ่งแน่นอนว่าราคานั้นค่อนข้างสูงจนทำให้เรานั้นไม่สามารถจับต้องได้แต่สุดท้ายประเทศไทยก็ยังมีคนที่สามารถออกแบบรถไฟฟ้าที่มีราคาค่อนข้างดีถ้าหากเปรียบเทียบกับรถยนต์ทั่วไป ได้อีกด้วยเพื่อให้ประชาชนคนไทยนั้นสามารถเข้าถึงการเป็นเจ้าของรถไฟฟ้าได้ในราคาที่สบายกระเป๋านั่นเอง

เดินทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและมีการร่วมจัดทำโครงการ 1 ขึ้นมาที่มีชื่อโครงการว่า “โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง (EV Kit & Blueprint Project)” โดยจุดประสงค์หลักของเป้าหมายโครงการนี้นั่นก็คือต้องการให้คนไทยสามารถดัดแปลงรถยนต์คันเก่าให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้โดยใช้ต้นทุนไม่เกินละ 200000 บาท โดย ราคานี้นั้นบอกแล้วว่าถูกกว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่อย่างแน่นอนอีกทั้งยังมีการเปิดโอกาสให้คนนั้นหันกลับมาใช้รถคู่ใจคันเดิมได้เป็นอย่างดีและสามารถช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

และ นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งคือต้องการที่จะลดมลพิษในอากาศซึ่งบอกได้ว่าในปัจจุบันนั้นมลพิษในอากาศมีค่าสูงกว่ามาตรฐานเป็นอย่างมากซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นนั้นการเลือกใช้รถไฟฟ้าก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับการลดมลพิษในอากาศนั่นเองแต่ด้วยราคาที่สูงจนทำให้ประชาชนนั้นไม่อาจเอื้อมถึงได้จึงได้เกิดโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนนั่นเอง

ซึ่งในระยะที่ 1 นั้นก็ได้มีการทดสอบกับรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้าแจ๊สมีการเปลี่ยนเอาเครื่องยนต์ออกแล้วใส่มอเตอร์ขับเคลื่อนรถติดตั้งแบตเตอรี่เข้าไปซึ่งในตอนนั้นที่ได้ทดลองกับใช้เวลาและราคาสูงมากในการดัดแปลงแต่เมื่อโครงการวิจัยนี้ได้อยู่ในระยะที่ 2 ก็มีการใช้มอเตอร์ที่สามารถเข้าถึงง่ายและมีราคาที่ถูกลงอีกทั้งระบบเกียร์ก็ยังเป็นระบบเดิมซึ่งทำให้คนขับนั้นเวลาใช้งานแทบจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเลย

โดยได้มีการทดสอบความเร็วบนถนนแล้วซึ่งบอกเลยว่าสามารถทำความเร็วได้ดีถึงประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 86 บาทซึ่งถ้าหากลดความเร็วลงก็จะอยู่ที่ประมาณ 70 กิโลเมตรและใช้ไฟฟ้าเพียง 10 กิโลวัตต์เท่านั้นโดยจะสามารถขับได้อีกประมาณอีก 2 ชั่วโมงเป็นระยะทาง 140 กิโลเมตรซึ่งได้มีการทำทดสอบกับรถ 2 รุ่นนะก็คือ Nissan Almera และ Toyota Altis

และในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการวิจัยก็ได้มีการตั้งเป้าถ่ายทอดเทคโนโลยีไทยเริ่มมีแต่คู่มือการดัดแปลงรถยนต์เป็นจำนวน 3 ชุดให้กับผู้ประกอบการอู่รถยนต์ที่มีศักยภาพพอที่จะนำไปทดลองเปลี่ยนแปลงให้เป็นรถไฟฟ้าดัดแปลงนั้นเองและสามารถเก็บข้อมูลและปรับปรุงก่อนการขยายผลเชิงพาณิชย์ได้ซึ่งสามารถตอบสนองราคาระดับที่เป็นพอใจของประชาชนซึ่งนั่นก็ไม่เกิน 200,000 บาท


ซึ่งบอกได้เลยว่าการวิจัยนี้นั้นต้องการให้คนไทยทุกคนสามารถมีรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเอาไว้ใช้งานในอนาคตอันใกล้ซึ่งจะส่งผลทำให้มีชีวิตคุณภาพที่ดีขึ้นอีกทั้งยังไม่ได้มีการติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ในไฟฟ้าในพื้นที่ กฟผ. สำนักงานกลาง และโรงไฟฟ้าของ กฟผ. จำนวน 23 สถานี โดยมีการส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น นั้นเอง…