พึงระวัง! พังผืดข้อไหล่ติดยึดแข็ง โรคใกล้ตัว ใครปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน รีบอ่าน!

วันนี้นายข้าวต้มขอนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ พังผืดข้อไหล่ติดยึดแข็ง โรคใกล้ตัว เป็นอีกอาการความเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้แก่คนเรา หากมองข้ามอาจ “ลุกลาม” กลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายได้

พังผืดข้อไหล่ติดยึดแข็ง โรคใกล้ตัว ใครปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน รีบอ่าน

แม้โรคข้อไหล่ติด จะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ภาวะที่พบได้บ่อยๆ มักเกิดได้ในกรณีที่คนไข้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่บริเวณข้อไหล่ ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นฉีกขาด กระทั่งกระดูกแตกหัก รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ตลอดจนพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ค่อยได้ขยับเคลื่อนไหว หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เหล่านี้เป็นภาวะร่วมที่ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ยึดติดได้ง่าย

นายแพทย์ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล ศัลแพทย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลสมิตติเวชศรีนครินทร์ให้ความรู้ว่า

ปกติข้อไหล่ของคนเราจะประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วน ได้แก่ กระดูกไหปลาร้าสะบัก และต้นแขน มีรูปร่างเหมือนกับลูกบอลที่อยู่ในเบ้าตื้นๆ โดยบริเวณรอบๆ ลูกบอลก็จะมีเยื่อหุ้มข้อ และเส้นเอ็นกล้ามเนื้อมาปกคลุมส่วนปัญหาของข้อไหล่ยึดติด เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและมีการหนาตัว หรือเกิดพังผืดภายในเยื่อหุ้มข้อไหล่ ทำให้การขยับและเคลื่อนไวของข้อไม่ได้เต็มที่ มักพบได้บ่อยในคนไข้ที่มีอายุตั้งแต่ 40-60 ปีขึ้นไป และเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรกจะมีอาการปวดข้อไหล่มากเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อ หรือระยะเริ่มแข็งตัว(Freezing) ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ถึง 9เดือน ระยะที่สองอาการปวดจะน้อยลงแต่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลง เพราะมีอาการแข็งติดขัดรู้สึกไม่สบาย การใช้ชีวิตประจำวันลำบาก หรือเรียกว่า ระยะแช่แข็ง (Frozen shoulder) ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน ส่วนระยะที่สามอาการข้อติดขัดเริ่มดีชั้นหรือเป็นระยะน้ำแข็งเริ่มละลายผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นตัว การขยับของข้อดีขึ้นและหายไปเอง ระยะนี้ใช้เวลา 1-2 ปี

พังผืดข้อไหล่ติดยึดแข็ง โรคใกล้ตัว ใครปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน รีบอ่าน

หากยังไม่ดีอาจจะพิจารณาผ่าตัดแต่ปัญหาคือ คนไข้ที่อยู่ในระยะเริ่มแรกและระยะสอง มักจะทนความเจ็บปวดไม่ไหวและยังไม่สามารถขยับและทำงานได้สะดวก จึงมักจะต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนจะถึงระยะสุด ท้ายโดยเฉพาะในระยะที่สอง แม้คนไข้จะปวดน้อยลงแต่ยังขยับไม่ได้ เพราะพังผือติดแข็ง ไม่ว่าคนไข้จะพยายามขยับเอง  หรือให้แพทย์ช่วยก็ตาม ยังไม่สามารถขยับได้ในทุกมุม ไม่ว่าองศาใด ทั้งด้านข้าง ด้านหลัง อย่างในคุณผู้หญิงจะติดตะขอเสื้อชั้นในไม่ได้ สวมเสื้อไม่ได้ หรือบางคนเอื้อมหยิบของไม่ได้ เป็นการรบกวนชีวิตประจำวันอย่างมากแนวทางการรักษาสำหรับอาการปวดในระยะแรกแพทย์จะมุ่งลดอาการของคนไข้ก่อน โดยการให้ยาต้านการอักเสบไม่ว่ากิน หรือ ฉีด เพื่อลดอาการปวดและลดพังผืดข้างใน ต่อมาในระยะที่สอง แพทย์จะพยายามให้คนไข้ขยับเคลื่อนไหวของข้อให้มากที่สุด เพื่อให้ข้อไหล่แข็งแรงโดยเน้นการทำกายภาพด้วยท่าบริหารต่างๆ

พังผืดข้อไหล่ติดยึดแข็ง โรคใกล้ตัว ใครปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน รีบอ่าน

โดยทั่วไปแล้วเมื่อคนไข้ได้รับยา และทำกายภาพ ส่วนใหญ่คนไข้จะมีอาการดีขึ้น ยกเว้นคนไข้บางกลุ่ม เมื่อรักษาทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วยังไม่หายหรือไม่ดีขึ้น เพราะไหล่ติดมาก ก็จะต้องพิจารณาใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเข้ามาช่วยทั้งการผ่าตัดแบบการทำหัตถกรรม หรือการจัดข้อไหล่ เพื่อช่วยให้มีการขยับเคลื่อนไหวของข้อไหล่ได้ดีขึ้น ไปจนถึงการผ่าตัดส่องกล้อง
เพื่อเข้าไปตัดพังผืดออก จะช่วยให้คนไข้ขยับข้อไหล่ได้ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่คนไข้หลังการผ่าตัด

อาการจะดีขึ้นประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน

ปัจจุบันคนไข้เป็นโรคข้อไหล่ติดยึดแข็งกันมากขึ้น โดยเฉพาะคนทำงานที่ใช้งานของข้อไหล่ในชีวิตประจำวันน้อย ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ แม้จะเป็นโรคไม่ร้ายแรง แต่ก็ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขทางที่ดีที่สุดคือ ป้องกันอย่าปล่อยให้เป็นโรคข้อไหล่ติดยึดแข็งด้วยการออกำลังกาย และพยายามขยับข้อไหล่ให้มากขึ้น

พังผืดข้อไหล่ติดยึดแข็ง โรคใกล้ตัว

เรียบเรียงโดย : naykhaotom