1. น้ำพริกลงเรือ
คงมีน้อยคนมากที่จะไม่รู้จักอาหารชนิดนี้ ผู้ที่คิดค้นตำรับนี้ขึ้นมาก็คือ “เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์” นั่นเอง น้ำพริกลงเรือนี้เกิดจากการที่เจ้าจอมเองต้องทำพระกายาหารถวายเจ้านายพระองค์หนึ่งขณะทรงออกไปพายเรือเล่น และโปรดที่จะเสวยพระกายาหารบนเรือนั้น ในเวลานั้นห้องเครื่องขาดของที่จะมาปรุงอาหารใดได้ ท่านจึงประยุกต์นำเอาของที่เหลืออยู่ ซึ่งก็ได้แก่ น้ำพริก ปลา และหมูหวานมาผัดรวมกันแล้วโปะด้วยไข่เค็ม ข้าวน้ำพริกลงเรือจึงเกิดขึ้น และมีชื่อมาถึงทุกวันนี้นั่นเอง
2. หรุ่ม
ชื่ออาหารชนิดนี้อาจฟังดูแปลกหูสำหรับใครหลายคน แต่ที่จริงแล้ว “หรุ่ม” นั้นคืออาหารชนิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภายในประกอบไปด้วยหมูบดผัด กับหัวหอม และกระเทียม พร้อมกับรากผักชีโขลกกับพริกไทย “หรุ่ม” ถือเป็นของว่างที่นิยมมากกันในหมู่ชาววังแต่ปัจจุบันหาทานได้ยากมากเลยล่ะครับ
3. มัสมั่น
ถึงแม้ว่าแกงมัสมั่นจะเป็นอาหารที่มีที่มาจากทางมาลายูที่มีรสเผ็ดนำจากเครื่องเทศ แต่ก็เป็นที่นิยมในราชสำนักสยามอย่างมาก โดยได้รับการพัฒนาสูตรตลอดจนวิธีทำให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ความตอนหนึ่งว่า “มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา”
4.ปลาตะเพียนต้มเค็ม
เห็นซื้อมากินมาชิมกันง่ายมากในปัจจุบัน แต่ปลาตะเพียนต้มเค็มนี้ แท้จริงแล้วเกิดมาจากในรั้วในวังนะครับ ซึ่งก็ยาวนานไปถึงในรัชสมัยของพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อาหารที่เรากินกันอยู่ในปัจจุบันนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานและน่าศึกษามากแค่ไหน ในฐานะที่เราเกิดเป็นคนไทย ชนชาติหนึ่งที่มีวัฒนธรรม และอุดมไปด้วยความเฟื่องฟูทางศิลปะที่หลากหลาย ทั้งความประณีตตลอดจนความอดทนที่ใส่ลงไปในจานอาหารแต่ละจานนอกจากจะทำให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้นแล้ว ศาสตร์แห่งการปรุงอาหารนี้ก็ถือเป็นเครื่องแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า “คนไทย” ให้ความสำคัญกับอาหารการกินมากแค่ไหน ว่าไหมครับ?
ขอบคุณที่มา: ppptvhd36.com
คงมีน้อยคนมากที่จะไม่รู้จักอาหารชนิดนี้ ผู้ที่คิดค้นตำรับนี้ขึ้นมาก็คือ “เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์” นั่นเอง น้ำพริกลงเรือนี้เกิดจากการที่เจ้าจอมเองต้องทำพระกายาหารถวายเจ้านายพระองค์หนึ่งขณะทรงออกไปพายเรือเล่น และโปรดที่จะเสวยพระกายาหารบนเรือนั้น ในเวลานั้นห้องเครื่องขาดของที่จะมาปรุงอาหารใดได้ ท่านจึงประยุกต์นำเอาของที่เหลืออยู่ ซึ่งก็ได้แก่ น้ำพริก ปลา และหมูหวานมาผัดรวมกันแล้วโปะด้วยไข่เค็ม ข้าวน้ำพริกลงเรือจึงเกิดขึ้น และมีชื่อมาถึงทุกวันนี้นั่นเอง
2. หรุ่ม
ชื่ออาหารชนิดนี้อาจฟังดูแปลกหูสำหรับใครหลายคน แต่ที่จริงแล้ว “หรุ่ม” นั้นคืออาหารชนิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภายในประกอบไปด้วยหมูบดผัด กับหัวหอม และกระเทียม พร้อมกับรากผักชีโขลกกับพริกไทย “หรุ่ม” ถือเป็นของว่างที่นิยมมากกันในหมู่ชาววังแต่ปัจจุบันหาทานได้ยากมากเลยล่ะครับ
3. มัสมั่น
ถึงแม้ว่าแกงมัสมั่นจะเป็นอาหารที่มีที่มาจากทางมาลายูที่มีรสเผ็ดนำจากเครื่องเทศ แต่ก็เป็นที่นิยมในราชสำนักสยามอย่างมาก โดยได้รับการพัฒนาสูตรตลอดจนวิธีทำให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ความตอนหนึ่งว่า “มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา”
4.ปลาตะเพียนต้มเค็ม
เห็นซื้อมากินมาชิมกันง่ายมากในปัจจุบัน แต่ปลาตะเพียนต้มเค็มนี้ แท้จริงแล้วเกิดมาจากในรั้วในวังนะครับ ซึ่งก็ยาวนานไปถึงในรัชสมัยของพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อาหารที่เรากินกันอยู่ในปัจจุบันนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานและน่าศึกษามากแค่ไหน ในฐานะที่เราเกิดเป็นคนไทย ชนชาติหนึ่งที่มีวัฒนธรรม และอุดมไปด้วยความเฟื่องฟูทางศิลปะที่หลากหลาย ทั้งความประณีตตลอดจนความอดทนที่ใส่ลงไปในจานอาหารแต่ละจานนอกจากจะทำให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้นแล้ว ศาสตร์แห่งการปรุงอาหารนี้ก็ถือเป็นเครื่องแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า “คนไทย” ให้ความสำคัญกับอาหารการกินมากแค่ไหน ว่าไหมครับ?
ขอบคุณที่มา: ppptvhd36.com