กรมการแพทย์ เปิดรับสมัครรับราชการหลายอัตรา วุฒิ ม.6 ขึ้นไป เงินเดือน 23,000 บาท สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 22 พ.ค.61 (ชมภาพ-รายละเอียด)

กรมการแพทย์ เปิดรับสมัครรับราชการ วุฒิ ม.6 ขึ้นไป เงินเดือน 23,000 บาท สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 22 พ.ค.61

ประกาศกรมการแพทย์ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ปฏิบัติการ ตำแหน่งนักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ ตำแหน่งนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายปฏิบัติการ



ตำแหน่งนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน กรมการเเพทย์ รับสมัครสอบเข้ารับราชการ สมัครทางเน็ต วันนี้ – 22 พ.ค. 61



เดี๋ยวเรามาดูถึงประวัติกันนะค่ะ เพื่อที่จะทำให้ทุกคนมั่นใจในการทำงาน 27 พ.ย. 2461 งานการแพทย์และสาธารณสุขยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างเป็นทางการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล และกรมประชาภิบาล กระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็น กรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย



10 มี.ค. 2485 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชการที่ 8 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พิจารณาว่างานด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความซ้ำซ้อนและกระจายอยู่ในกระทรวงและกรมหลายแห่ง จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณาจัดการปรับปรุง เพื่อรวบรวมกิจการแพทย์และสาธารณสุข ยกเว้นการแพทย์ของทหาร ตำรวจและการรถไฟ และมีมติให้ตั้ง กระทรวงสาธารณสุข



กรมการแพทย์จึงถือกำเนินมาตั้งแต่วาระนั้น โดยมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการบำบัดโรค การจัดตั้ง และการควบคุมโรงพยาบาล ดำเนินกิจการของโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและโรงพยาบาลเฉพาะโรค ตลอดจนการจัดตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์และโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล โดยมีพันโทนิตย์ เวชชวิศิษฏ์ เป็นอธิบดีท่านแรก ที่ทำการของกรมการแพทย์ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับกระทรวงสาธารณสุขมาโดยตลอดในช่วงแรกอาศัยอยู่ในบริเวณกระทรวงมหาดไทย



23 พ.ค. 2485 ได้ย้ายที่ทำการไปยังวังสุโขทัย ถนนสุโขทัย โดยเช่าอาคารจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พ.ศ. 2493 สำนักพระราชวังต้องการใช้วังสุโขทัยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี กระทรวงสาธารณสุขจึงขออนุมัติซื้อวังเทวะเวสม์ ตำบลบางขุนพรหม อำเภอพระนคร กรุงเทพมหานคร และกรมการแพทย์ก็ได้ย้ายที่ทำการไปยังวังเทวะเวสม์ พร้อมกับกระทรวงสาธารณสุข



พ.ศ. 2485 – 2505 มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับกรมการแพทย์มากมาย ในช่วงแรกมีการโอนกิจการโรงพยาบาลมาอยู่ในสังกัดกรมการแพทย์อีก 34 แห่ง ต่อมาประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามต่อเนื่องระหว่างสงครามอินโดจีน สงครามเอเชียบูรพา และสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามสงบมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาล และต่อมามีการโอน รับโอน ปรับปรุง และก่อสร้างโรงพยาบาลเพิ่มเติม



รวมโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ทั้งสิ้นถึง 102 แห่ง เป็นโรงงพยาบาลส่วนกลาง 11 แห่ง สถาบัน 2 แห่ง และโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค 89 แห่ง 29 ก.ย. 2515 ให้รวมงานของกรมแพทย์ งานบางส่วนของกรมอนามัย และงานบางส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และตั้งเป็นกรมการแพทย์และอนามัย



พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการแบ่งกรมการแพทย์และอนามัย ออกเป็น 2 กรม คือ กรมการแพทย์ และ กรมอนามัย กรมการแพทย์ ได้รับการกำเนิดบทบาทให้เป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ โดยพัฒนาเทคนิควิชาการเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม นิเทศ ฝึกอบรม ยกระดับขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในระบบงานบริการ สาธารณสุข



เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ 18 ก.ย. 2517 แบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ออกเป็น สำนักงานเลขานุการกรม กองคลัง กองการเจ้าหน้าที่ กองวิชาการ กองวิชาการ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันพยาธิ โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลประสาท โรงพยาบาลปัญญาอ่อน โรงพยาบาลธัญญารักษ์



พ.ศ. 2520 ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโรงพยาบาลชานพระนคร ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

พ.ศ. 2531 มีหน่วยงานเพิ่ม คือ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์สิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ



พ.ศ. 2532 มีการก่อตั้งหน่วยงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า ศูนย์พัฒนาควบคุมโรคไม่ติดต่อและต่อมา มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชื่อเป็น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) และมีการก่อตั้งศูนย์ทันตกรรม ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันทันตกรรม



พ.ศ. 2535 มีการโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมการแพทย์ เพื่อจัดตั้งสถาบันสุขภาพจิต เป็นกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบัน คือ กรมสุขภาพจิต

พ.ศ. 2536 กรมการแพทย์เสนอขอแบ่งส่วนราชการและได้รับการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ. ศ. 2537 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 21 ก หน้า 7 วันที่ 3 มิถุนายน 2537) เป็นหน่วยงานระดับกอง 21 หน่วยงาน



พ.ศ. ปัจจุบัน กรมการแพทย์มีหน่วยงานในสังกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ. ศ. 2545 จำนวน 21 หน่วยงาน (1-21) และมีหน่วยงานต่ำกว่าระดับกอง ซึ่งตั้งขึ้นตามโครงสร้างที่ ก. พ. กำหนด จำนวน 17 หน่วยงาน รวมถึงหน่วยงานที่กรมการแพทย์ตั้งขึ้นเป็นการภายใน จำนวน 3 หน่วยงาน



จากหนังสืออนุสรณ์สาธารณสุข ครบ 15 ปี ซึ่ง “พระบำราศนราดูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข” ได้รวบรวมประวัติศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข เริ่มตั้งแต่ก่อนยุคก่อนก่อตั้งจนกระทั่งจัดตั้งขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินงานด้านการแพทย์ การรักษาพยาบาล รวมไปถึงการสาธารณสุขของประเทศ



จุดเริ่มต้นกระทรวงสาธารณสุข เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2431 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง “กรมการพยาบาล” ขึ้น เพื่อควบคุมดูแลกิจการศิริราชพยาบาล พร้อมทั้งมีหน้าที่จัดการศึกษาวิชาแพทย์ จัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน สันนิษฐานว่า กรมพยาบาลขึ้นตรงต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



เพราะพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ ทรงเป็นอธิบดี และต่อมาได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ ภายหลังจากพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์สิ้นพระชมม์ และได้เริ่มมี “แพทย์ประจำเมือง” ขึ้น มีการนำยาตำราหลวงออกจำหน่ายในราคาถูก พร้อมทั้งได้ตั้ง “กองแพทย์ป้องกันโรคระบาด”



ต่อมา พ.ศ. 2448 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมพยาบาลและตำแหน่งอธิบดีกรมพยาบาล และให้โรงพยาบาลสังกัดกรมพยาบาลไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล ยกเว้นโรงศิริราชพยาบาล คงให้เป็นสาขาของโรงเรียนราชแพทยาลัย ส่วนกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองแพทย์ป้องกันโรคและแพทย์ประจำเมือง ยังคงสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการตามเดิม



ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2455 ได้มีการจัดตั้งกรมพยาบาลขึ้นอีกครั้ง ภายหลังจากที่พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยศิริ) เดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ และพบเห็นการรักษาพยาบาลป้องกันโรค ตลอดจนวิธีปลูกฝี จึงได้ถวายรายงานขึ้นนำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้รีบจัดวางระบบป้องกันโรคระบาดในขณะนั้น ได้แก่ โรคฝีดาษ อหิวาตกโรค กาฬโรค และไข้พิศม์



โดยแต่งตั้ง พระยาอมรฤทธิธำรง (ฉี บุนนาค) เป็นเจ้ากรมพยาบาลคนแรก หลังจากนั้น ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเป็น “กรมประชาภิบาล” เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นต้องการปรับปรุงงานด้านสาธารณสุขให้กว้างขวางและก้าวหน้ามากขึ้น จึงความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระบรมราชานุญาตในการเปลี่ยนชื่อ



ทั้งนี้วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ได้มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง โดยได้เปลี่ยนจากกรมประชาภิบาลเป็น “กรมสาธารณสุข” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข” และอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย จากกรมสาธารณสุข เป็นกระทรวงสาธารณสุข

สามารถสมัครได้ที่ https://dms.thaijobjob.com