บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดรับสมัครพนักงานจำนวนมาก วุฒิ ม.6 ขึ้นไป เงินเดือน 20,000 บาท สวัสดิการเพียบ
ศูนย์ทรูมูฟ สมุทรปราการ รับพนักงานขายวุฒิ ม.6 รายได้ 20,000บาท งานมั่นคง รายได้ดีมาก สวัสดิการดีเยี่ยม ประจำ สมุทรปราการหน้าที่ความรับผิดชอบ
-วางแผนและดำเนินการขายสินค้า
-จัดกิจกรรมการขายสินค้าภายในพื้นที่ที่ดูแล
-เสนอขายสินค้าของกลุ่มทรู เช่น TrueMove H, TrueVisions, TrueOnline
-บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ
อายุ 18 ปี ขึ้นไป วุฒิการศึกษา ม.6, ปวช., ปวส.,ปริญญาตรี มนุษย์สัมพันธ์ดี, ชื่นชอบงานบริการและงานขาย, สนใจด้านเทคโนโลยี
เอกสารสำหรับการสมัครงาน
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-สำเนาวุฒิการศึกษา
สวัสดิการ :
– ประกันสังคม
– กองทุนเงินทดแทน
– ประกันสุขภาพรักษาโรงพยาบาลเอกชนทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
– ประกันอุบัติเหตุ
– ประกันชีวิต
– สินค้าและบริการกลุ่มทรูและซีพีราคาพนักงาน
– ฟิตเนสฟรี
– นวดสปาฟรี
– ลาพักร้อน
– ลากิจ
– และสวัสดิการอื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณไอซ์ 085-9806699
เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักกับบริษัททรูมูฟ และดูถึงความมั่นคงรับรองค่ะว่าถ้าใครได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งแล้วรับรองไม่มีผิดหวังอย่างแน่นอน บริษัทก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน2533 ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานภายใต้สัญญร่วมการงานและร่วมลงทุนกับบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ในปี 2536 บริษัทได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในชื่อ
บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในเดือนธันวาคม 2536 มีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “TA” ในเดือนเมษายน 2547 บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ภายใต้แบรนด์ทรู และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “TRUE” นอกเหนือจากการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และบริการเสริมต่างๆ
ซึ่งรวมถึงบริการโทรศัพท์สาธารณะและบริการโทรศัพท์พื้นฐานพกพา WE PCT ในปี 2544 บริษัทได้เปิดให้บริการโครงข่ายข้อมูลความเร็วสูง ซึ่งประกอบด้วยบริการ ADSL และบริการ Cable Modem และในปี 2546 ได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายหรือบริการ Wi-Fi ต่อมาในปี 2550 บริษัทย่อยได้เปิดให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ (International Internet Gateway)
และเปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ในปี 2551 ในเดือนตุลาคม 2544 บริษัทได้เข้าถือหุ้น ในบริษัทกรุงเทพ อินเตอร์เทเลเทค จำกัด (มหาชน) หรือ “BITCO” (ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด) ในอัตราร้อยละ 41.1 ซึ่งนับเป็นการเริ่มเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งนี้ ทีเอ ออเร้นจ์ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในเดือนมีนาคม 2545 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ทรูมูฟ”
เมื่อต้นปี 2549 บริษัทได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน BITCO มากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2552 บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นใน BITCO คิดเป็นร้อยละ 98.9 ในเดือนธันวาคม 2553 กลุ่มทรูได้เริ่มให้และขยายบริการ 3G (บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง) หลังการลงนามในสัญญาเพื่อเข้าซื้อโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศและหุ้น 4 บริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน
ในเดือนมกราคม 2549 บริษัทได้เข้าซื้อหุ้น ยูบีซี จาก MIH ทั้งหมด และต่อมาได้ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นสามัญจากรายย่อย (Tender Offer) ทำให้บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นทางอ้อมในยูบีซี ร้อยละ 91.8 ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย เสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2549 ทั้งนี้ ยูบีซีได้เปลี่ยนชื่อเป็นทรูวิชั่นส์ เมื่อต้นปี 2550 นอกจากนี้ หลังการปรับโครงสร้างของกลุ่มบริษัททรูวิชั่นส์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553
นอกจากนี้ บริษัทได้เริ่มซื้อคืนหุ้นจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในเดือนพฤศจิกายน 2553 ทั้งนี้เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทในกลุ่มบริษัททรูวิชั่นส์ บริษัทเริ่มดำเนินธุรกิจภายใต้ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ และผสมผสานบริการภายในกลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อรองรับการเปิดธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ของบริษั โดยในวันที่ 15 ธันวาคม 2546 บริษัทได้เปิดให้บริการ ทรูมันนี่ (บริษัททรู มันนี่ จำกัด)
เพื่อให้บริการธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์สำหรับกลุ่มทรู ในเดือนมิถุนายน 2552 บริษัท ทรูมันนี่ ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระยะเวลา 10 ปี ทรูไลฟ์ เป็นกลุ่มธุรกิจบริการดิจิตอลคอนเทนต์ ประกอบด้วยบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส หรือ “TLP” (เดิมชื่อบริษัท ทรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์)
ซึ่งเป็นบริษัทที่ทรูถือหุ้นโดยตรงทั้งหมด และบริษัท NC True จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนกับ บริษัท NC Soft จำกัด หนึ่งในผู้พัฒนาและผลิตเกมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลี นอกจากนี้ ทรู ไลฟ์ พลัส ยังให้บริการดิจิตอลคอนเทนต์ต่างๆ
อาทิ บริการดาวน์โหลดเพลง เว็บพอร์ทัล และสื่อสิ่งพิมพ์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน 2552 ทรูเปิด ทรู แอพ เซ็นเตอร์ (True App Center) สถาบันศูนย์กลางการศึกษาเพื่อสร้างนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาคอนเทนต์และเพิ่มรายได้จากบริการที่ไม่ใช่เสียง
True Story
-การรีไฟแนนซ์ทรูวิชั่นส์ประสบความสำเร็จ จากการสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ 4 แห่ง ในการจัดหาวงเงินกู้ระยะยาว ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรนกว่าเงื่อนไขเงินกู้เดิม นอกจากนี้ ทรูวิชั่นส์ได้ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท เพื่อรองรับกรอบการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลง และทำให้การดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
-เครือเจริญโภคภัณฑ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน ทรู คอร์ปอเรชั่น จากเดิมร้อยละ 55.7 เป็น 64.74 หลังการซื้อหุ้นทรูทั้งหมดจาก KfW ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา ประเทศเยอรมัน
-ทรูมูฟเปิดตัวไอโฟน 4 โดยเป็นผู้นำตลาด ทั้งในด้านยอดขาย การนำเสนอแพ็กเกจต่างๆ และและการให้บริการลูกค้า
-ทรูมูฟเปิดตัว “ไอที เฟรนด์” พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมาร์ทโฟนมากกว่า 300 คน ซึ่งประจำอยู่ในร้านทรูช้อปทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังเปิดตัว “ไฮสปีด เน็ตซิม” นำเสนอบริการโมบาย อินเทอร์เน็ต (บนเทคโนโลยี 3G/EDGE) สำหรับผู้ใช้บริการแบบเติมเงินที่ใช้สมาร์ทโฟน โทรศัพท์และโน้ตบุ๊ก เพื่อรับประโยชน์จากการเติบโตของตลาดบริการที่ไม่ใช่เสียง
-ทรูออนไลน์เปิดตัว Ultra hi-speed Internet ความเร็วสูงสุด 50 Mbps ด้วยเทคโนโลยี VDSL2 ครั้งแรกของประเทศ
-ทรูออนไลน์เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เพิ่มมาตรฐานความเร็วใหม่สำหรับบริการบรอดแบนด์เป็น 6 Mbps ในราคา 599 บาทต่อเดือน
-ทรูก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการระบบ High Definition รายแรกของไทยจากการเปิดตัว “TrueVisions HD”