‘การประปาส่วนภูมิภาค’ รับสมัครพนักงานและลูกจ้างหลายอัตรา วุฒิ ปวส.ขึ้นไป เงินเดือน16,830 บาท/เดือน สมัครผ่านระบบออนไลน์21-30พ.ค.61 (รายละเอียด)

‘การประปาส่วนภูมิภาค’ รับสมัครพนักงานและลูกจ้างหลายอัตรา วุฒิ ปวส.ขึ้นไป เงินเดือน16,830 บาท/เดือน สมัครผ่านระบบออนไลน์21-30พ.ค.61

การประปาส่วนภูมิภาค รับสมัครบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานและจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน คุณวุฒิ ปวส./ป.ตรี 171 อัตรา ปฏิบัติงาน กทม./ภูมิภาค ภายในวันที่ 21-30พ.ค.61 ตลอด 24 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับสมัคร โทร. 02-551-8905 -7


เดี๋ยวเรามาดูประวัติกันต่อเลยนะค่ะ เพื่อทำให้ทุกคนมั่นใจในการทำงานที่นี่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศพระบรมราชโองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลจัดการ ที่จะนำน้ำมาใช้ในพระนคร ตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ การที่จะต้องทำ นั้นคือ ให้ตั้งทำที่ขังน้ำที่คลองเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี อันเป็นที่พ้นเขตน้ำเค็มขึ้นถึงทุกฤดู ให้ขุดคลองแยกจากที่ขังน้ำนั้น

เป็นทางน้ำลงมาถึงคลองสามเสนฝั่งเหนือ ตามแนวทางรถไฟ ตั้งโรงสูบขึ้น ณ ที่ตำบลนั้น สูบน้ำขึ้นยังที่เกรอะกรองตามวิธี ให้น้ำสะอาดบริสุทธ์ ปราศจากสิ่งซึ่งจะเป็นเชื้อโรค แล้วจำหน่ายน้ำไปในที่ต่างๆ ตามควรแก่ท้องที่ของเขตพระนคร กิจการอย่างนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกตามภาษาสันสกฤตเพื่อจะให้เป็นคำสั้นว่า “การประปา”

จากหลักฐานทางโบราณคดี มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้กลางใจเมือง ดังคำจารึกในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ด้านที่ 2 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงจารึกว่า “…กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพย สีใสกินดี …ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้…” (คำว่า “ตระพังโพย” หมายถึง บ่ออัศจรรย์เข้าใจว่าบ่อนี้มีน้ำใช้ได้ ตลอดปี) นับจากนั้น ในสมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง

ก็ทรงโปรดให้มีการขุดคูคลองเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ และ เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ในการใช้น้ำอุปโภคและบริโภคอีกประการหนึ่งด้วย จวบจนกระทั่งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชประสงค์ที่จะให้เมืองลพบุรี ได้ทรงพิจารณาเรื่องน้ำบริโภคเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก โปรดเกล้าให้มีการดำเนินการขุดทำนบกั้นน้ำในทะเลชุบศร

สร้างเป็นเขื่อนเก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี มีการวางท่อดินเผาจากทะเลชุบศรไปสู่สระที่พักน้ำมีชื่อว่า สระแก้ว 2 แห่ง แล้ววางท่อขนาดใหญ่เข้าสู่เมืองลพบุรีแจกจ่ายไปตามสถานที่ สำคัญ ๆ เช่น พระราชวังบ้านหลวงรับราชฑูต วัดในพระพุทธศาสนา และโรงทาน สำหรับประชาชน เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏ จึงพอสรุปได้ว่า วิวัฒนาการในการจัดระบบการวางท่อจากแหล่งน้ำมาสู่เมือง

เพื่ออาณาประชาราษฎร์ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.2325 ในสมัยแรก การใช้น้ำยังคงอาศัยน้ำจากแม่น้ำลำคลอง และน้ำฝนเป็นน้ำอุปโภคบริโภค ในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าให้มีการขุดคูคลองเชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมากมายให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชดำริ

การหาน้ำบริโภคสำหรับประชาชนในเขตพระนคร เพื่อให้บรรดาพสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ ปราศจากโรคภัยร้ายแรงด้วย ทรงเล็งเห็นว่าในขณะนั้นประชาชนทั่วไปยังคงใช้น้ำ ซึ่งปราศจากความสะอาดบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับต่ำ ทำให้น้ำทะเลเข้ามาถึง น้ำจะมีรสกร่อยไม่เหมาะสำหรับการบริโภค และน้ำก็มีแนวโน้มที่จะทวีความสกปรกเพิ่มขึ้นในอนาคต

เนื่องจากสภาพการขยายตัวของชุมชน และบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้สภาพการใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลอง เป็นบ่อเกิดของโรคระบาดได้ประกอบกับ ได้ทรงพบเห็นความเจริญก้าวหน้า ในด้านวิทยาการต่างๆ ของการผลิตและการจำหน่ายน้ำจากต่างประเทศ เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ปี พ.ศ. 2440 ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมสุขาภิบาลเป็นหน่วยงาน รับสนองพระราชดำริ ในสมัยนั้นกรุงเทพฯ

มีประชากรราว 333,000 คน อยู่ทางฝั่งพระนครประมาณ 280,000 คน อยู่ทางฝั่งธนบุรีประมาณ 50,000 คน ต่างได้อาศัยน้ำฝนที่รองจากหลังคา มาใช้ดื่มกิน แต่ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากแม่น้ำ และลำคลองต่าง ๆ ซึ่งมีมากมาย จนได้ชื่อว่าเวนิสตะวันออก หรือใช้น้ำบ่อ น้ำจากร่องสวน เป็นต้น ย่านคนจีนที่สำเพ็ง มีการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยไม่ได้เกรอะกรองมาใช้ตามบ้านเรือนต่างๆ

และชาวบ้านที่มีฐานะปานกลาง ก็ใช้วิธีตักน้ำขึ้นมาแกว่งสารส้ม นอกจากนี้ ก็มีการใช้น้ำบาดาลบ้าง แต่ไม่มากนัก ในฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำจะกร่อย และสกปรกไม่ปลอดภัย สำหรับอุปโภค และบริโภค บางครั้งมีอหิวาต์ตกโรคระบาด ประชาชนล้มตายเป็นอันมาก คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า มีห่าลงมากิน ดังนั้นในตอนกลางคืน จึงไม่มีใครกล้าออกจากบ้านในตัวเมืองจะเงียบ วังเวง น่ากลัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้างพระบรมมหาราชวัง สำหรับแจกอาหาร และน้ำสะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกิน และโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นเพื่อจัดทำน้ำประปาให้ประชาชนใช้ เมื่อ ปีพุทธศักราช 2440 กรมสุขาภิบาลได้จ้างผู้ชำนาญชาวฝรั่งเศสชื่อนายเดอลาโรเตียร์ (De La Rotier) มาสำรวจเพื่อจัดหาน้ำมาใช้ในกรุงเทพฯ

ซึ่งได้เสนอแนะไว้หลายอย่าง แต่ นายแวนเดลไฮด์ นายช่างฝรั่งรับราชการอยู่กรมคลองกระทรวงเกษตราธิราช ได้ เสนอความเห็นแย้งอย่างแข็งขันว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะจะมาขัดขวางด้วยเรื่องทดน้ำ สำหรับการเพาะปลูก ได้มีบันทึกโต้แย้งกันไปมา เป็นเวลาถึง 2 ปี ในที่สุดเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาลสมัยนั้น ได้จัดให้นายช่างทั้ง 2 จึงได้ตกลงกันว่าจะทำ

ทำนบกั้นแม่น้ำที่ชัยนาท แล้วขุดคลองลงมายังสามเสน เพื่อนำน้ำมาใช้ แต่เพื่อไม่ให้เสียเวลา จึงทำการกั้นแม่น้ำน้อย หรือคลองบางหลวงเชียงราก หรือ คลองเชียงรากในปัจจุบัน อันเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยากักน้ำไว้เป็นอ่างเก็บน้ำ หรือ คลองขัง โดยทำเขื่อนกั้นหัวท้าย ทำประตูให้เรือผ่าน เข้า ออก ได้ทางเชียงราก (ภาพประกอบ) แล้วขุดคลองจากแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับ วัดสำแล (ภาพประกอบ)

เหนือตัวจังหวัดปทุมธานี ในปัจจุบันขึ้นไป 3 กิโลเมตรเศษ หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 41 กิโลเมตร อันเป็นบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นไปไม่ถึงทุกฤดูกาล เข้ามาบรรจบคลองขังหรือคลองบางหลวงเชียงราก โดยที่ปากคลองมีประตูระบายน้ำ ซึ่งจะเปิดรับน้ำเมื่อเวลาน้ำขึ้น และปิดเมื่อเวลาน้ำลง โดยอาศัยการต่างระดับของน้ำในคลองแล้วยังขุดคลองคู่ขนานให้เรือผ่านสัญจรไปมาได้อีกคลองหนึ่งเรียกว่า

คลองอ้อมไปบรรจบกับคลองบ้านพร้าวออกไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยู่เหนือขึ้นไป (แผนที่ประกอบ) และในระยะหลังต่อมา ได้มีการขุดคลองบางสิงห์ และ คลองบางหลวงหัวป่า ก็ไปเชื่อมกับเปรมประชากร และคลองระพีพัฒน์ รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางประอิน เข้ามาบรรจบกับคลองขัง เมื่อมีการผลิตน้ำประปาเพิ่มขึ้น คลองขัง หรืออ่างเก็บน้ำนี้ (ภาพประกอบ) ยาว 8 กิโลเมตร กว้าง 60-100 เมตร

ลึกตั้งแต่ 2-6 เมตร กักเก็บน้ำได้ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร จะระบายน้ำไปยังสามเสนวันละ 2 แสนลูกบาศก์เมตร โดยอาศัยการขึ้นลงของน้ำในคลอง คลองขังนี้ ยังอนุญาตให้ประชาชนปลูกเรือนอาศัยอยู่ได้ เพราะหากจะให้อพยพออกไป จะต้องจ่ายค่าชดเชยในการรื้อถอนโรงเรือนเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่มาก ในสมัยนั้น จึงใช้วิธีเจือคลอรีนลงในน้ำบริสุทธิ์แทน


เปิดรับสมัครทางเว็บไซต์ https://job.pwa.co.th/