เปิดเเชทลับ “สาวโดดสะพาน” ก่อนที่จะจบชีวิต

มาแล้วจ้า น้องตะมุตะมิเเห่งเพจอัพยิ้มวันนี้จะมาเสิร์ฟข่าวประเด็นร้อนให้ลูกเพจอัพยิ้มได้ติดตามกันทั่วหน้า กำลังกลายเป็นคลิปที่แชร์กันว่อนเน็ตเลยจ้า จากกรณีหญิงสาวอายุ 18 ปี ชาวจังหวัดระนอง ได้ว่าจ้างวินมอไซค์ไลฟ์สดให้พร้อมกับเปิดเพลงเศร้า “แพ้แล้วพาล” เวอร์ชั่นพลอยชมพู ในขณะนั้นได้กระโดดลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ท่ามกลางความตกใจแก่ผู้คนที่เข้ามาชมกันเป็นอย่างมาก ซึ่งขณะนี้ยังไม่รู้ว่าเป็นยังไง เเต่วันนี้น้องตะมุตะมิจะพาลูกเพจชาวอัพยิ้มมาดูเเชทข้อความในเฟสบุ๊กที่เขาได้มีอาการป่วยซึมเศร้า เคยคิดฆ่าตัวตายอีกด้วยเอาเป็นว่าเราไปดูรายละเอียดด้านล่างดีกว่า….

ตร.คาด ร่างลอยไปแถวปากคลองสาน ส่วนหนุ่มวินฯ มือไลฟ์ฯ ซวยหรือไม่ต้องดูพฤติการณ์
ความคืบหน้าคดี พ.ต.อ.วิรดล ทับทิมดี ผกก.สน.บวรมงคล เปิดเผย กับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ว่า การค้นหาร่างของ น.ส.นิตยา ล่าสุดยังไม่พบร่าง คาดว่าช่วงเย็นวันนี้จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปค้นหาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กระแสน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นๆ ลงๆ ถ้าจะสันนิษฐาน หากจมน้ำจริงร่างน่าจะลอยไปอยู่แถวๆ ปากคลองสาน เพราะช่วงนี้ปริมาณน้ำลงมากกว่าปริมาณน้ำขึ้น
สำหรับสาเหตุการกระโดดน้ำฆ่าตัวตายเท่าที่ตรวจสอบพบว่า มีเรื่องเดียว คือ เรื่องความรัก เพราะจากการสอบสวนพบว่า ข้อมูลต่างๆ สอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในเฟซบุ๊ก การพูดถึงความรักในไลฟ์สด และจากการสอบพยานที่เป็นหนุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็พบว่า น.ส.นิตยา มีการตัดพ้อเรื่องความรัก ส่วนจะมีมูลเหตุเรื่องอื่นอีกหรือไม่ต้องสืบสวนกันต่อไป

ขณะที่ ทางญาติของ น.ส.นิตยา ไม่ติดใจ เพราะ น.ส.นิตยา ได้แยกตัวออกมาอยู่คนเดียวนานแล้ว และญาติก็ไม่ค่อยได้ติดต่อกัน นานๆ จะกลับบ้านปีละครั้ง ทำให้ญาติไม่ทราบว่า น.ส.นิตยา พักอยู่ที่ไหน ทำงานอะไร…
“ถามว่ามีอาการป่วยทางจิตหรือไม่นั้น ยังไม่ทราบ และยังไม่ทราบด้วยว่าเพื่อนจริงๆ ของ น.ส.นิตยา เป็นใคร เพราะในทางการสืบสวนดูในเฟซบุ๊กพอสอบถามไปแล้วก็พบว่า เพื่อนหลายคนไม่ได้รู้จัก น.ส.นิตยา กันจริงๆ รู้จักกันแค่ในเฟสบุ๊กเท่านั้น ส่วนแฟนของ น.ส.นิตยา ยังไม่ทราบว่าเป็นใครก็เลยยังไม่ได้เรียกมาสอบครับ” ผกก.สน.บวรมงคล ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการตั้งข้อกล่าวหากับหนุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่มาไลฟ์สดหรือไม่ พ.ต.อ.วิรดล กล่าวว่า กำลังอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน ถ้ามีความผิดชัดเจนสามารถดำเนินคดีได้ก็ว่ากันไปตามกฎหมาย ซึ่งถ้าถามเจ้าตัวก็คงตอบว่า ไม่รู้ว่าผู้หญิงจะกระโดดลงไป แต่ในทางการสอบสวนต้องดูพฤติการณ์อื่นประกอบอีกหลายอย่าง

โดดสะพาน

ข้อความ

เป็นโพสต์ของผู้เสียชีวิต ในเดือนสิงหาคม ปี 2560
อ้างป่วยซึมเศร้า เคยคิดฆ่าตัวตาย เพราะเบื่อชีวิต
ขณะเดียวกัน เมื่อทีมข่าวตรวจสอบเฟสบุ๊กของผู้ตาย พบข้อความที่น่าตกใจ คือ… เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 60 ได้มีการโพสต์ภาพที่แคปมาจากหน้าจอโทรศัพท์ เป็นภาพการสนทนากันกับใครคนหนึ่ง โดยบทสนทนาหนึ่งของ น.ส.นิตยา ระบุว่า มีอาการป่วยเป็นโรคเครียดและโรคซึมเศร้า และหมอห้ามอยู่คนเดียว ซึ่งช่วงนั้นเธอมีอาการเครียดมากทั้งเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องแฟน ทำให้คืนนั้นเธอสติแตก และมองว่าการฆ่าตัวตายเป็นทางออกเดียวที่ทำให้เรื่องทุกอย่างจบ
ความซวยมาเยือนหนุ่มวินฯ มือไลฟ์สด ผิด – ไม่ผิด ตามมาตรา 374 เห็นคนจะฆ่าตัวตายแล้วไม่ช่วย

ทนายวันชัย กล่าวต่อว่า ในทางกลับกัน หากผู้หญิงคนดังกล่าวจ้างหนุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างแล้วมายืนอยู่บนสะพานโดยนั่งคุยกันมาตลอด พร้อมบอกว่า เดี๋ยวจะกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย และให้หนุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างช่วยถ่ายไลฟ์สดให้ ถ้ามีพฤติการณ์ดังกล่าว ตอบได้ว่า หนุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจาก ไม่ยับยั้งห้ามปรามคนที่อยู่ในภาวะอันตรายที่จะเสียชีวิต”

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
“ต้องดูด้วยว่าผู้ชายคนนี้รู้หรือไม่ว่าเธอกำลังจะฆ่าตัวตาย ถ้ารู้แล้วไม่ห้ามปราม ไม่ยับยั้งดึงเข้ามาก็มีความผิด แต่ถ้าไม่รู้ก็คงไม่ผิด เผอิญอาจจะเกิดเหตุปัจจุบันทันด่วนอยู่ๆ กระโดดน้ำลงไปเลย จะกระโดดตามลงไปช่วยก็อันตรายต่อตัวเอง ซึ่งผู้ชายไม่รู้มาก่อนก็ไม่มีความผิดครับ” ทนายความชื่อดัง ให้ความเห็น
กสทช. รับไร้อำนาจ คุมไลฟ์สด ชี้อำนาจอยู่ที่ดีอี เตือนแชร์คลิปอาจมีความผิด แนะเห็นไลฟ์สดไม่เหมาะแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าดูหรือแชร์
ขณะเดียวกัน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในส่วนเนื้อหาคอนเทนต์โซเชียลมีเดีย ทาง กสทช. ยังไม่มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่เราพยายามดำเนินการในส่วนของ OTT (Over-the-Top บริการสื่อสารและแพร่ภาพเนื้อหาผ่านแอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม และผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายเอง) แต่ยังไม่เสร็จ ดังนั้นเรื่องเนื้อหาโซเชียลมีเดียทั้งหมด จึงอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นกฎหมายของกระทรวงดิจิทัลฯ ดูอยู่ ส่วนเรามีหน้าที่ดูแลผู้ให้บริการ จะมีการพิจารณาว่าจะมีการตัดสัญญาณหรือไม่ ซึ่งการผลักดันดังกล่าว ยังไม่เรียบร้อย…
นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ข้อเสนอของเรา คือ เราจะเสนอให้ OTT ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ วอทส์แอป และอื่นๆ จะต้องมีการกำกับดูแล ซึ่งจะเข้มข้นแค่ไหนนั้น ยังไม่ได้ข้อยุติ ส่วน ISP (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) สามารถปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้แค่ไหน ซึ่งหากศาลออกหมาย ก็สามารถปิดกั้นได้ แต่ถ้าไม่มีหมายศาลก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้น หากเป็นการถ่ายทอดสดจึงไม่สามารถจัดการได้

“ตอนที่เขาถ่ายทอดสด เขาทำอะไรไม่ได้ แต่หากคลิปยังอยู่ หากมีการร้องต่อศาล ก็สามารถเอาคลิปดังกล่าวออกจากอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งเรื่องแบบนี้เอง เฟซบุ๊กก็รีบที่จะเอาออกอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องมีคนรีพอร์ต”
กรณีแบบนี้ ไม่ควรจะขยายวง ทั้งการแชร์ หรือ การคอมเมนต์ เพราะการแชร์ คอมเมนต์ จะทำให้คนเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนถ่ายทอดสดนั้นอาจจะยังไม่ผิด เพราะยังไม่รู้ แต่ถ้าหลังจากเหตุการณ์จบไปแล้ว ยังมีการแชร์ หรือคอมเมนต์ มันก็ถือเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงที่จะผิด พ.ร.บ.คอมฯ
กรรมการ กสทช. กล่าวย้ำว่า ทางที่ดีหากเจอคลิปเหล่านี้ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ตำรวจ กู้ภัย หรือ ก.ดิจิทัล หากแจ้งเหตุทันทีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจจะช่วยเหลือได้ทัน อย่าดูไปเรื่อยๆ เพราะนี่คือชีวิตคนไม่ใช่การแสดง

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องราวที่น้องตะมุตะมิได้นำมาฝากกันในวันนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก เบื้องต้นตำรวจยังหาหญิงรายนี้ไม่เจอ น้องตะมุตะมิเเละเพจอัพยิ้มขอให้หญิงรายนี้ปลอดภัยด้วยนะคะ