การนอนหลับไม่เพียงพอในตอนกลางคืนมักทำให้หลายคนทนความง่วงในตอนกลางวันไม่ได้
จึงต้องทิ้งตัวลงนอน หลายครั้งก็เผลอหลับไปตอนไหนไม่รู้
และเราคงจะเคยได้ยินคำว่า “นอนหลับทับตะวัน” ซึ่งเป็นการนอนหลับในช่วงเย็น
ตั้งแต่เวลา 15.00 – 19.00 น. เมื่อตื่นมาแล้ว ทำให้เกิดอาการเวียนหัว
ไม่สดชื่น แถมยังมีอาการไม่สบายตัวเป็นของแถม
วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจว่าสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่
ไขข้อสงสัย เพราะอะไรนอนตอนกลางวันมักทำให้ปวดหัว?
การนอนกลางวันในช่วงที่ยังมีแสงแดดอยู่ แล้วมาตื่นอีกทีในตอนค่ำ จะทำให้รู้สึกปวดหัว เวียนหัว เพราะระบบไหลเวียนโลหิตที่อยู่ในร่างกายต้องทำการปรับเปลี่ยนตัวเอง ทำให้เหมาะสมกับอุณหภูมิภายนอก ทำให้ร่างกายต้องปรับตัว ในช่วงที่ร่างกายหลับอยู่ จะเกิดการปรับตัวปรับเปลี่ยนระบบไหลเวียนของเลือด แต่หลังจากที่เราตื่นขึ้นมาแล้วเห็นแสงแดดอ่อนลง จะทำให้ร่างกายต้องสั่งงานไปที่สมอง ให้ปรับโทนเลือดตามเวลาและปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะสม จนทำให้เกิดการหดตัวและขยายตัวของเส้นเลือดอย่างรวดเร็ว จึงทำให้หลังจากตื่นนอน เกิดอาการปวดหัวขึ้นมาได้ สำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เป็นไข้ได้ เพราะร่างกายปรับสภาวะไม่ทันนั่นเอง
นอนตอนเย็น ทำให้ปวดหัวมากกว่าเดิมจริงหรือไม่?
สำหรับผู้ที่ชอบนอนในช่วงเย็นหลังเวลา 16.00 น. เป็นต้นไป เมื่อตื่นขึ้นมามักจะมีอาการปวดหัวที่รุนแรงมากกว่าการนอนตอนกลางวันเสียอีก เนื่องจากเวลาในช่วงเย็นไม่ใช่เวลาสำหรับการพักผ่อนร่างกาย การนอนในช่วงเย็นแล้วตื่นขึ้นมาอีกทีตอนหัวค่ำ ตอนที่บรรยากาศเริ่มมืดแล้ว ก็จะทำให้ร่างกายต้องปรับตัว ปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะสม จึงทำให้เกิดอาการหนักหัว ปวดเมื่อยตัว เหมือนคนจะเป็นไข้ อาการเหล่านี้จะขึ้นได้บ่อย สำหรับผู้ที่ชอบตื่นขึ้นมาทันที ทำให้ส่งผลเสียทำให้เลือดในร่างกายไหลเวียนผิดปกติ จนทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัวได้
วิธีแก้อาการปวดหัวจากการนอนตอนกลางวัน
สำหรับผู้ที่อยู่บ้านแล้วติดนิสัยชอบนอนตอนกลางวัน ก็สามารถลดอาการปวดหัวเหล่านี้ลงได้ เพียงทำตามวิธีเหล่านี้
ไขข้อสงสัย เพราะอะไรนอนตอนกลางวันมักทำให้ปวดหัว?
การนอนกลางวันในช่วงที่ยังมีแสงแดดอยู่ แล้วมาตื่นอีกทีในตอนค่ำ จะทำให้รู้สึกปวดหัว เวียนหัว เพราะระบบไหลเวียนโลหิตที่อยู่ในร่างกายต้องทำการปรับเปลี่ยนตัวเอง ทำให้เหมาะสมกับอุณหภูมิภายนอก ทำให้ร่างกายต้องปรับตัว ในช่วงที่ร่างกายหลับอยู่ จะเกิดการปรับตัวปรับเปลี่ยนระบบไหลเวียนของเลือด แต่หลังจากที่เราตื่นขึ้นมาแล้วเห็นแสงแดดอ่อนลง จะทำให้ร่างกายต้องสั่งงานไปที่สมอง ให้ปรับโทนเลือดตามเวลาและปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะสม จนทำให้เกิดการหดตัวและขยายตัวของเส้นเลือดอย่างรวดเร็ว จึงทำให้หลังจากตื่นนอน เกิดอาการปวดหัวขึ้นมาได้ สำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เป็นไข้ได้ เพราะร่างกายปรับสภาวะไม่ทันนั่นเอง
นอนตอนเย็น ทำให้ปวดหัวมากกว่าเดิมจริงหรือไม่?
สำหรับผู้ที่ชอบนอนในช่วงเย็นหลังเวลา 16.00 น. เป็นต้นไป เมื่อตื่นขึ้นมามักจะมีอาการปวดหัวที่รุนแรงมากกว่าการนอนตอนกลางวันเสียอีก เนื่องจากเวลาในช่วงเย็นไม่ใช่เวลาสำหรับการพักผ่อนร่างกาย การนอนในช่วงเย็นแล้วตื่นขึ้นมาอีกทีตอนหัวค่ำ ตอนที่บรรยากาศเริ่มมืดแล้ว ก็จะทำให้ร่างกายต้องปรับตัว ปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะสม จึงทำให้เกิดอาการหนักหัว ปวดเมื่อยตัว เหมือนคนจะเป็นไข้ อาการเหล่านี้จะขึ้นได้บ่อย สำหรับผู้ที่ชอบตื่นขึ้นมาทันที ทำให้ส่งผลเสียทำให้เลือดในร่างกายไหลเวียนผิดปกติ จนทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัวได้
วิธีแก้อาการปวดหัวจากการนอนตอนกลางวัน
สำหรับผู้ที่อยู่บ้านแล้วติดนิสัยชอบนอนตอนกลางวัน ก็สามารถลดอาการปวดหัวเหล่านี้ลงได้ เพียงทำตามวิธีเหล่านี้
- หลังจากลืมตาตื่นแล้ว ให้นอนนิ่ง ๆ อย่าเพิ่งขยับ เป็นเวลาสักพัก แล้วจึงลุกนั่งอย่างต่ำ 3 นาที แล้วจึงสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ
- หลังจากตื่นนอนขึ้นมาแล้ว ให้รีบดื่มน้ำให้มาก จะช่วยกระตุ้นทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และถ้าหากร่างกายขาดน้ำก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกัน
- ทานกล้วยหอม 1 ลูก เพราะกล้วยหอม มีโพแทสเซียมสูง ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้