ผู้เขียน
หนังสือและแนวคิด “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว The One Straw Revolution” เป็นแนวคิดอันโด่งดังของชาวญีปุ่นที่ชื่อ มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ ซึ่งหนังสือเล่มดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 แปลเป็นภาษาอังกฤษปี 2519 และได้รับการแปลและเผยแพร่เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2530
แนวคิดดังกล่าว มีหัวใจอยู่ 4 ข้อคือ
ไม่ไถพรวนดิน
ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมัก
ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ว่าโดยการถางหรือใช้ยาปราบ
ไม่ใช้สารเคมี
ช่วงปี 2530 -2540 แนวคิดดังกล่าวส่งผลต่อแรงบันดาลใจของเกษตรกรชาวไทย ในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างมาก รวมไปถึง หนุ่มพนักงานออฟฟิศ คนนี้ด้วย คุณวรวิทย์ ไชยทิพย์ หรือคุณเม้ง ในวัย 44 ปี
คุณเม้ง จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี จากภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2537 เริ่มต้นทำงานที่ สำนักพิมพ์มติชน ในส่วนกองบรรณาธิการ หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นคนทำหนังสือนั่นเอง ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับเกษตรกลวิธานที่ร่ำเรียนมา หากแต่การสัมภาษณ์ พูดคุย ทัศนคติ การมองโลก ถูกอกถูกใจบรรณาธิการในสมัยนั้น นั่นคือคุณสรกล อดุลยานนท์ หรือหนุ่มเมืองจันท์ จึงได้ร่วมงานกัน
คุณเม้ง ทำงานในฐานะคนทำหนังสือ รวมทั้งเขียนการ์ตูน ในมติชนสุดสัปดาห์ พักใหญ่ ก็มองหาลู่ทาง ที่จะไม่ต้องอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองรถติดและค่อนข้างวุ่นวาย ตอนนั้น เขาเทใจที่ไปบุรีรัมย์ ทีคุณแม่ซื้อที่ดินไว้ และได้แนวคิดการทำการเกษตร แบบฟูกุโอกะ
ลาออกจากงาน ประจำ มุ่งหน้า บุรีรัมย์ ทำตามฝัน เกษตรอินทรีย์
คุณเม้ง ตัดสินใจ ลาออกจากงานประจำ และเดินหน้าออกไป ด้วยใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยอุดมการณ์การทำการเกษตร เขาเองก็ฝันที่จะปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เช่นเดียวกัน
แล้วเป็นไงมั่ง สำเร็จมั้ย? – ฉันถามออกไป
“อย่าว่าแต่จะทำขายเลยพี่ แค่จะทำให้แค่พอกินคนเดียว ยังรอดยากเลย” คุณเม้ง ตอบมาอย่างนั้น
เป็นอันว่าการปฏิวัติยุคสมัยของคุณเม้ง กลายเป็นประสบการณ์ ที่ได้บอกกับตัวเองว่า อย่างน้อยก็ได้ลองทำแล้ว
เอ้า!! ออกมาจากงานแล้ว แล้วยังไงต่อ? – ฉันถามต่อไปอีก
“จากนั้น ผมก็หันไปวงการเดิม คือไปรับหนังสือพ็อตเก็ตบุ้กมาขายตามห้องสมุด รวมทั้งไปเปิดบูธขายหนังสือ อะไรว่าไป”
ทว่า จุดเปลี่ยนสำคัญ ของคุณเม้งมาถึง เมื่อวันหนึ่งขณะขับรถ ผ่านอ.เสิงสาง อ.หนองไผ่น้อย จ.นครราชสีมา ซึ่งอยู่ไม่ไกล จาก อ.หนองกี่ บุรีรัมย์ บ้านที่คุณเม้งพักอาศัย ทั้งสองอำเภอที่ว่า มีเกษตรกรปลูกหน่อไม้ฝรั่งค่อนข้างมากทีเดียว คุณเม้ง ก็ปิ๊งไอเดีย ขึ้นมาทันที
เขารีบเปิดเช็คราคาหน่อไม้ฝรั่งที่ตลาดไท กิโลกรัมละ 100 บาท แต่ซื้อในพื้นที่ ราคาตก 70 บาทต่อ กก. ส่วนต่าง 30 บาทต่อกก. ถ้ารับหน่อไม้ฝรั่งไปส่ง ที่ตลาดไท สักวันละ 200 กก. ก็น่าจะได้กำไร อยู่ 6000 บาทต่อวัน หักค่าน้ำมัน ค่าอะไรจิปาถะ ยังไงซะ ก็เหลือมากกว่า….. คุณเม้งวาดฝัน
คุณเม้ง ตรงดิ่งที่ไปไร่หน่อไม้ ติดต่อเกษตรกรทันที จะขอรับซื้อหน่อไม้ฝรั่ง
คำตอบที่ได้คือ – ไม่ขายค่ะ
อ้าว ….ทำไมล่ะ – คุณเม้ง ถามต่อ
มีเจ้าประจำอยู่แล้ว – เกษตรกรตอบ
(แป่ววววววววว…….) – คุณเม้ง คิดในใจ
และนี่ โลกของความเป็นจริง ที่คุณต้องเผชิญ !!
“ผมเข้าใจเค้านะครับ คือเราเป็นพ่อค้าใหม่ เกษตรกรเค้าก็ไม่มั่นใจว่า จะซื้อจริงจังมั้ย ซื้อนานแค่ไหน เพราะหน่อไม้ฝรั่งเค้าต้องเก็บทุกวัน”
ทางแก้ของคุณเม้ง เมื่อยังตั้งใจจริงที่จะเดินบนทางนี้ก็คือ ต้องรอมีผู้ปลูกรายใหม่ๆ จากนั้นเข้าไปติดต่อขอซื้อ ซื้อกันตลอดไป ไม่ว่าราคาขึ้นหรือลง ไม่ว่าสินค้าจะขาดตลาดหรือล้นตลาด หากอยู่ในภาวะล้นตลาด ซื้อไปทิ้งก็ต้องซื้อ …แบบนี้ ถึงจะมัดใจระหว่างเกษตรกร และพ่อค้าคนกลาง เอาไว้ได้ (เริ่มเข้าใจหัวอกพ่อค้ากลางขึ้นมาบ้างแล้ว)
“อันนี้ เป็นจุดเริ่มต้น ก็กะว่าจะปลูกเองด้วย สัก แค่ 2 ไร่ รายได้วันละพัน ก็น่าสนใจ คือการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง เป็นการเกษตรประณีต ถ้าจะทำมากกว่า 2 ไร่ต้องจ้างแรงงาน ดังนั้น 2 ไร่ จึงเป็นขนาดกำลังพอเหมาะ แต่ก่อนที่ผมจะปลูก ผมต้องไปหาตลาดก่อน ก็เริ่มจากหาสินค้าไปขาย หลังจากค้าขายมาได้สักครึ่งปี จึงเริ่มปลูก”
“ตอนแรก ผมขับรถเก๋ง เข้าไปในตลาดสี่มุมเมือง เอาหน่อไม้ฝรั่งไปส่ง ยังไม่มีความรู้ เรื่องเบอร์ เรื่องไซซ์เลย ก็มาเรียนกับเกษตรกรทีหลัง ตอนไปเปิดท้ายขาย ก็มีแม่ค้ามาซื้อทีละ 5-10 โล แม่ค้าเป็นคนสอนว่าต้องแพ็คแบบนี้ ใส่ถุงแบบนี้ แล้วเอาหนังสือพิมพ์หุ้มตรงส่วนปลายไว้อย่างนี้ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือน”
คุณเม้ง เริ่มไปขายที่สี่มุมเมือง ขับขึ้น ลง กรุงเทพ-บุรีรัมย์ ตอนหลังไม่ไหว ก็จ้างคนขับ พอไปถึงก็จอดรถขาย ให้คนขับนอนพัก แต่ระบบที่เปิดท้ายขาย ขายหลังเที่ยงคืน จะขายได้แค่ 2 ชม. ถ้าไม่หมด ต้องขับรถออกไปวนมาหาที่จอดขายใหม่ ก็หนักหนาสาหัสกันทั้งคู่ ช่วงหลังก็เริ่มไม่ไหวกัน
เริ่มเบนเข็ม หาผู้ส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง ขายล็อตใหญ่
“จากสภาพที่เป็นอยู่ ผมก็อยากหาตลาดที่แน่นอนกว่านี้ ผมเริ่มจากวิธีง่ายๆ เลยคือ เสิร์ชเน็ต หารายชื่อผู้ส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง โทรไปหาทีละเจ้าเลย จนได้ไปเจอกัย เคซีเฟรช ผู้ส่งออกพืชผัก รายใหญ่ของประเทศ ก็เอาตัวอย่างไปให้เค้าดู ซึ่งต่อมา เค้าก็รับซื้อจากผมเยอะทีเดียว”
จากเคซีเฟรช ก็มีผู้ส่งออกรายอื่น ติดต่อมาด้วย เพราะผู้ส่งออก ผู้ค้าแต่ละคน ก็ใช้ผักขนาดต่างกัน ก็ได้ลูกค้าหลายเจ้า
บทเรียนหนึ่งที่ผ่านเข้ามาคือ ภาวะหน่อไม้ฝรั่งล้นตลาด เนื่องจากในช่วงตรุษจีน ทางไต้หวัน จะไม่ใช้หน่อไม้ฝรั่ง ทำให้หน่อไม้ฝรั่งในไทย ปริมาณล้น ติดต่อไปทางไหน ก็ไม่มีใครรับ ทางแก้ก็คือ ต้องลงไปขายในตลาดเอง ขายถูก ขายยอมขาดทุน ปล่อยเน่าไปก็มี เพราะถึงอย่างไร ก็ยังต้องรับซื้อจากเกษตรกร ไม่ว่าถูกหรือแพง
“จากประสบการณ์ตอนนั้นจนถึงวันนี้ ก็ค่อนข้างอยู่ตัว จากนั้นผมก็ไปติดต่อห้างแมคโคร ซึ่งตอนนี้ได้ยอดออเดอร์ จากแมคโครเป็นหลัก ได้ วันละ 300-400 กก โดยนำไปส่งที่ ศูนย์กระจายสินค้า ที่วังน้อย อยุธยา”
“ตอนนี้ ผมก็ไปรับจากเกษตรกรในเขตอื่นๆ และส่งเสริมให้เกษตรกร (ลูกไร่) ปลูกด้วย รวมทั้งรู้จักเพื่อนๆในวงการ ก็แบ่งสินค้ากัน ใครขาดก็ขอเพื่อน ทำให้มีของป้อนตลอด
คุณเม้ง บอกอีกว่า ในฐานะพ่อค้าคนกลาง มีลูกไร่อยู่ในเครือ เขาต้องวางแผนการผลิต เพื่อไม่ให้สินค้าล้นตลาด อย่างบางครั้ง การทำหน่อไม้ฝรั่งขาว ได้ราคาดี ก็มีเกษตรกรอยากปลูกกัน เขาต้องวางแผน จำกัดพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องราคาในระยะยาว
เรื่องราววงการเกษตรของคุณเม้ง เขาว่า ยังมีเรื่องให้เรียนรู้ และแก้ไขอีกมาก
อย่างไรก็ตาม คุณเม้ง ฝากบอกคนที่สนใจว่า “อยากเป็นเกษตรกรเงินแสน(ต่อเดือน) มีต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ส่งเสริมให้ปลูกนะครับ โทร 085251 9681”
ปัจจุบันคุณเม้ง อยู่ที่ 28 หมู่ 9 ต.ดอนอะราง อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์
ขอบคุณภาพ จากคุณเม้ง วรวิทย์ ไชยทิพย์
ที่มา https://www.sentangsedtee.com/featured/article_34679
เสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน | |
เผยแพร่ |
หนังสือและแนวคิด “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว The One Straw Revolution” เป็นแนวคิดอันโด่งดังของชาวญีปุ่นที่ชื่อ มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ ซึ่งหนังสือเล่มดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 แปลเป็นภาษาอังกฤษปี 2519 และได้รับการแปลและเผยแพร่เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2530
แนวคิดดังกล่าว มีหัวใจอยู่ 4 ข้อคือ
ไม่ไถพรวนดิน
ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมัก
ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ว่าโดยการถางหรือใช้ยาปราบ
ไม่ใช้สารเคมี
ช่วงปี 2530 -2540 แนวคิดดังกล่าวส่งผลต่อแรงบันดาลใจของเกษตรกรชาวไทย ในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างมาก รวมไปถึง หนุ่มพนักงานออฟฟิศ คนนี้ด้วย คุณวรวิทย์ ไชยทิพย์ หรือคุณเม้ง ในวัย 44 ปี
คุณเม้ง จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี จากภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2537 เริ่มต้นทำงานที่ สำนักพิมพ์มติชน ในส่วนกองบรรณาธิการ หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นคนทำหนังสือนั่นเอง ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับเกษตรกลวิธานที่ร่ำเรียนมา หากแต่การสัมภาษณ์ พูดคุย ทัศนคติ การมองโลก ถูกอกถูกใจบรรณาธิการในสมัยนั้น นั่นคือคุณสรกล อดุลยานนท์ หรือหนุ่มเมืองจันท์ จึงได้ร่วมงานกัน
คุณเม้ง ทำงานในฐานะคนทำหนังสือ รวมทั้งเขียนการ์ตูน ในมติชนสุดสัปดาห์ พักใหญ่ ก็มองหาลู่ทาง ที่จะไม่ต้องอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองรถติดและค่อนข้างวุ่นวาย ตอนนั้น เขาเทใจที่ไปบุรีรัมย์ ทีคุณแม่ซื้อที่ดินไว้ และได้แนวคิดการทำการเกษตร แบบฟูกุโอกะ
ลาออกจากงาน ประจำ มุ่งหน้า บุรีรัมย์ ทำตามฝัน เกษตรอินทรีย์
คุณเม้ง ตัดสินใจ ลาออกจากงานประจำ และเดินหน้าออกไป ด้วยใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยอุดมการณ์การทำการเกษตร เขาเองก็ฝันที่จะปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เช่นเดียวกัน
แล้วเป็นไงมั่ง สำเร็จมั้ย? – ฉันถามออกไป
“อย่าว่าแต่จะทำขายเลยพี่ แค่จะทำให้แค่พอกินคนเดียว ยังรอดยากเลย” คุณเม้ง ตอบมาอย่างนั้น
เป็นอันว่าการปฏิวัติยุคสมัยของคุณเม้ง กลายเป็นประสบการณ์ ที่ได้บอกกับตัวเองว่า อย่างน้อยก็ได้ลองทำแล้ว
เอ้า!! ออกมาจากงานแล้ว แล้วยังไงต่อ? – ฉันถามต่อไปอีก
“จากนั้น ผมก็หันไปวงการเดิม คือไปรับหนังสือพ็อตเก็ตบุ้กมาขายตามห้องสมุด รวมทั้งไปเปิดบูธขายหนังสือ อะไรว่าไป”
ทว่า จุดเปลี่ยนสำคัญ ของคุณเม้งมาถึง เมื่อวันหนึ่งขณะขับรถ ผ่านอ.เสิงสาง อ.หนองไผ่น้อย จ.นครราชสีมา ซึ่งอยู่ไม่ไกล จาก อ.หนองกี่ บุรีรัมย์ บ้านที่คุณเม้งพักอาศัย ทั้งสองอำเภอที่ว่า มีเกษตรกรปลูกหน่อไม้ฝรั่งค่อนข้างมากทีเดียว คุณเม้ง ก็ปิ๊งไอเดีย ขึ้นมาทันที
เขารีบเปิดเช็คราคาหน่อไม้ฝรั่งที่ตลาดไท กิโลกรัมละ 100 บาท แต่ซื้อในพื้นที่ ราคาตก 70 บาทต่อ กก. ส่วนต่าง 30 บาทต่อกก. ถ้ารับหน่อไม้ฝรั่งไปส่ง ที่ตลาดไท สักวันละ 200 กก. ก็น่าจะได้กำไร อยู่ 6000 บาทต่อวัน หักค่าน้ำมัน ค่าอะไรจิปาถะ ยังไงซะ ก็เหลือมากกว่า….. คุณเม้งวาดฝัน
คุณเม้ง ตรงดิ่งที่ไปไร่หน่อไม้ ติดต่อเกษตรกรทันที จะขอรับซื้อหน่อไม้ฝรั่ง
คำตอบที่ได้คือ – ไม่ขายค่ะ
อ้าว ….ทำไมล่ะ – คุณเม้ง ถามต่อ
มีเจ้าประจำอยู่แล้ว – เกษตรกรตอบ
(แป่ววววววววว…….) – คุณเม้ง คิดในใจ
และนี่ โลกของความเป็นจริง ที่คุณต้องเผชิญ !!
“ผมเข้าใจเค้านะครับ คือเราเป็นพ่อค้าใหม่ เกษตรกรเค้าก็ไม่มั่นใจว่า จะซื้อจริงจังมั้ย ซื้อนานแค่ไหน เพราะหน่อไม้ฝรั่งเค้าต้องเก็บทุกวัน”
ทางแก้ของคุณเม้ง เมื่อยังตั้งใจจริงที่จะเดินบนทางนี้ก็คือ ต้องรอมีผู้ปลูกรายใหม่ๆ จากนั้นเข้าไปติดต่อขอซื้อ ซื้อกันตลอดไป ไม่ว่าราคาขึ้นหรือลง ไม่ว่าสินค้าจะขาดตลาดหรือล้นตลาด หากอยู่ในภาวะล้นตลาด ซื้อไปทิ้งก็ต้องซื้อ …แบบนี้ ถึงจะมัดใจระหว่างเกษตรกร และพ่อค้าคนกลาง เอาไว้ได้ (เริ่มเข้าใจหัวอกพ่อค้ากลางขึ้นมาบ้างแล้ว)
“อันนี้ เป็นจุดเริ่มต้น ก็กะว่าจะปลูกเองด้วย สัก แค่ 2 ไร่ รายได้วันละพัน ก็น่าสนใจ คือการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง เป็นการเกษตรประณีต ถ้าจะทำมากกว่า 2 ไร่ต้องจ้างแรงงาน ดังนั้น 2 ไร่ จึงเป็นขนาดกำลังพอเหมาะ แต่ก่อนที่ผมจะปลูก ผมต้องไปหาตลาดก่อน ก็เริ่มจากหาสินค้าไปขาย หลังจากค้าขายมาได้สักครึ่งปี จึงเริ่มปลูก”
“ตอนแรก ผมขับรถเก๋ง เข้าไปในตลาดสี่มุมเมือง เอาหน่อไม้ฝรั่งไปส่ง ยังไม่มีความรู้ เรื่องเบอร์ เรื่องไซซ์เลย ก็มาเรียนกับเกษตรกรทีหลัง ตอนไปเปิดท้ายขาย ก็มีแม่ค้ามาซื้อทีละ 5-10 โล แม่ค้าเป็นคนสอนว่าต้องแพ็คแบบนี้ ใส่ถุงแบบนี้ แล้วเอาหนังสือพิมพ์หุ้มตรงส่วนปลายไว้อย่างนี้ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือน”
คุณเม้ง เริ่มไปขายที่สี่มุมเมือง ขับขึ้น ลง กรุงเทพ-บุรีรัมย์ ตอนหลังไม่ไหว ก็จ้างคนขับ พอไปถึงก็จอดรถขาย ให้คนขับนอนพัก แต่ระบบที่เปิดท้ายขาย ขายหลังเที่ยงคืน จะขายได้แค่ 2 ชม. ถ้าไม่หมด ต้องขับรถออกไปวนมาหาที่จอดขายใหม่ ก็หนักหนาสาหัสกันทั้งคู่ ช่วงหลังก็เริ่มไม่ไหวกัน
เริ่มเบนเข็ม หาผู้ส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง ขายล็อตใหญ่
“จากสภาพที่เป็นอยู่ ผมก็อยากหาตลาดที่แน่นอนกว่านี้ ผมเริ่มจากวิธีง่ายๆ เลยคือ เสิร์ชเน็ต หารายชื่อผู้ส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง โทรไปหาทีละเจ้าเลย จนได้ไปเจอกัย เคซีเฟรช ผู้ส่งออกพืชผัก รายใหญ่ของประเทศ ก็เอาตัวอย่างไปให้เค้าดู ซึ่งต่อมา เค้าก็รับซื้อจากผมเยอะทีเดียว”
จากเคซีเฟรช ก็มีผู้ส่งออกรายอื่น ติดต่อมาด้วย เพราะผู้ส่งออก ผู้ค้าแต่ละคน ก็ใช้ผักขนาดต่างกัน ก็ได้ลูกค้าหลายเจ้า
บทเรียนหนึ่งที่ผ่านเข้ามาคือ ภาวะหน่อไม้ฝรั่งล้นตลาด เนื่องจากในช่วงตรุษจีน ทางไต้หวัน จะไม่ใช้หน่อไม้ฝรั่ง ทำให้หน่อไม้ฝรั่งในไทย ปริมาณล้น ติดต่อไปทางไหน ก็ไม่มีใครรับ ทางแก้ก็คือ ต้องลงไปขายในตลาดเอง ขายถูก ขายยอมขาดทุน ปล่อยเน่าไปก็มี เพราะถึงอย่างไร ก็ยังต้องรับซื้อจากเกษตรกร ไม่ว่าถูกหรือแพง
“จากประสบการณ์ตอนนั้นจนถึงวันนี้ ก็ค่อนข้างอยู่ตัว จากนั้นผมก็ไปติดต่อห้างแมคโคร ซึ่งตอนนี้ได้ยอดออเดอร์ จากแมคโครเป็นหลัก ได้ วันละ 300-400 กก โดยนำไปส่งที่ ศูนย์กระจายสินค้า ที่วังน้อย อยุธยา”
“ตอนนี้ ผมก็ไปรับจากเกษตรกรในเขตอื่นๆ และส่งเสริมให้เกษตรกร (ลูกไร่) ปลูกด้วย รวมทั้งรู้จักเพื่อนๆในวงการ ก็แบ่งสินค้ากัน ใครขาดก็ขอเพื่อน ทำให้มีของป้อนตลอด
คุณเม้ง บอกอีกว่า ในฐานะพ่อค้าคนกลาง มีลูกไร่อยู่ในเครือ เขาต้องวางแผนการผลิต เพื่อไม่ให้สินค้าล้นตลาด อย่างบางครั้ง การทำหน่อไม้ฝรั่งขาว ได้ราคาดี ก็มีเกษตรกรอยากปลูกกัน เขาต้องวางแผน จำกัดพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องราคาในระยะยาว
เรื่องราววงการเกษตรของคุณเม้ง เขาว่า ยังมีเรื่องให้เรียนรู้ และแก้ไขอีกมาก
อย่างไรก็ตาม คุณเม้ง ฝากบอกคนที่สนใจว่า “อยากเป็นเกษตรกรเงินแสน(ต่อเดือน) มีต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ส่งเสริมให้ปลูกนะครับ โทร 085251 9681”
ปัจจุบันคุณเม้ง อยู่ที่ 28 หมู่ 9 ต.ดอนอะราง อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์
ขอบคุณภาพ จากคุณเม้ง วรวิทย์ ไชยทิพย์
ที่มา https://www.sentangsedtee.com/featured/article_34679