พระที่นั่งอัมพรสถาน สถานที่พระราชสมภพ รัชกาลที่ 10

พระที่นั่งอัมพรสถาน
สถานที่พระราชสมภพ รัชกาลที่ 10

พระที่นั่งอัมพรสถาน เป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชวังดุสิต เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในปีเดียวกับที่สร้างพระที่นั่งวิมานเมฆเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นอีกองค์หนึ่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า สวนแง่เต๋ง(แปลว่า สีงา) และทรงตั้งนามให้พระที่นั่งองค์ใหม่ว่า “พระที่นั่งอัมพรสถาน” ปัจจุบันเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

พระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนการบูรณะ
พระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนการบูรณะ
พระสถิตย์นิมานการ (ม.ร.ว. ชิด อิศรศักดิ์) เจ้ากรมโยธาธิการ ได้ดำเนินการก่อสร้างอยู่หลายปี ครั้นถึง ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)) มารับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ จึงได้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างพระที่นั่งต่อมาจนเสด็จในปีนั้นและการเฉลิมพระที่นั่งนั้น เป็นงานใหญ่ตั้งแต่วันที่ 18 – 22 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 125(พ.ศ. 2449) แต่ที่จริงโหรทำนายว่าควรจะเอาเป็นวันในปลายเดือนธันวาคม แต่มิโปรดเนื่องจากอากาศนั้นหนาวเย็น

พระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนการบูรณะ
พระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนการบูรณะ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตที่ชั้น 3 ของพระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 เสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้ ได้ประทับแค่เพียงชั้น 2 เท่านั้น เพราะชั้น 3 ถือว่าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ใน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนการบูรณะ
พระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนการบูรณะ
สถาปัตยกรรมพระที่นั่งอัมพรสถาน
สถานเป็นพระที่นั่ง 3 ชั้น ผังอาคารเป็นรูปตัว H คือ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 หลังวางขนานกันในแนวทิศเหนือและทิศใต้ เชื่อมต่อด้วยอาคารในแนวดิ่ง สถาปัตยกรรมแบบวิลล่าในชนบทของยุโรป
แบ่งออกเป็น 3 ชั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ พระที่นั่งอัมพรสถานและพระที่นั่งอุดรภาค เชื่อมต่อกันด้วยสะพานทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ลักษณะเด่นอยู่ตรงที่มุขด้านหน้า 2 ข้าง ซึ่งทำเป็นผนังโค้งเรียงซ้อนกัน 3 ชั้น ชั้นนอกเป็นระเบียงหุ้มพื้นที่ภายใน ผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้และใบไม้ประยุกต์ เข้ากับรูปทรงเลขาคณิต ขอบบนประตูหน้าต่างเป็นลวดลายแถบยาวรูปพรรณพฤกษาในแบบสีปูนเปียกคาดรอบตึก
นอกจากนี้ยังมีราวระเบียงและลูกกรงที่ทำจากโลหะ เป็นลายเลขาคณิต ประกอบดอกไม้และโลหะผนัง ภายในอาคารตกแต่งด้วยลายปูนปั้น และการเขียนสีปูนแห้งลายพรรณพฤกษา และปักษาซึ่งวาดโดย ซีซาร์เร เฟร์โร ศิลปินชาวอิตาเลียน
อีกทังภายในของ พระที่นั่งอัมพรสถาน ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปและเทวรูปสำคัญๆ เช่น
  • พระชัยนวรัตน
  • ์พระพุทธนรสีห์
  • พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย เดิมประดิษฐานอยู่ที่ พระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง
  • พระสยามเทวาธิราช (คนละองค์กับที่ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ)
ที่มา  http://travel.mthai.com/blog/147337.html