Home »
Uncategories »
ธกส.ปล่อยสินเชื่อ5พันล้าน ปล่อยกู้สู้แล้งรายละ5แสน แถมพักหนี้ให้1ปีช่วยเกษตรกร
ธกส.ปล่อยสินเชื่อ5พันล้าน ปล่อยกู้สู้แล้งรายละ5แสน แถมพักหนี้ให้1ปีช่วยเกษตรกร
นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการ
และโฆษกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า
ธนาคารได้จัดทำมาตรการรับมือภัยแล้งสำหรับช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง
ตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเสร็จแล้ว
โดยมีทั้งหมด 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการสนับสนุนทางการเงิน ได้แก่
สินเชื่อเงินด่วนให้กู้ได้รายละไม่เกิน 50,000บ อัตราดอกเบี้ย เอ็มอาร์อาร์
7% เพื่อใช้ในการจัดหาปัจจัยการผลิตเพาะปลูกพืชระยะสั้น
และทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ
วงเงินให้สินเชื่อรวม 5,000 ล้านบาท ให้กู้ต่อรายสูงสุดไม่เกิน 500,000
บาท ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบ 2 หรือเท่ากับ 5%ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน
15 ปี และสุดท้ายเป็นสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน
กู้ได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
ป้องกันไม่ให้เป็นหนี้นอกระบบ
นายสมเกียรติกล่าวว่า
มาตรการถัดมาเป็นการช่วยเหลือปรับโครงสร้างและตารางชำระหนี้
ให้ลูกหนี้ธ.ก.ส.ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
โดยส่วนแรกหากได้เข้าโครงการขยายเวลาชำระหนี้ตามแนวทางเกษตรประชารัฐ
ซึ่งได้มีการพักชำระเงินต้นให้ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.61-31 ก.ค.64
ไปแล้ว ก็จะได้รับการช่วยเหลือไปตามนั้น
แต่เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการขยายเวลาชำระหนี้ตามแนวทางเกษตรประชารัฐ
สามารถขอขยายเวลาปรับตารางชำระ พักหนี้ได้ 1 รอบปีการผลิต
ส่วนมาตรการสุดท้าย ธ.ก.ส.จะหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว และพืชไร่อื่นๆ เพื่อนำไปช่วยเหลือชาวนา
ชาวไร่ที่หว่านเมล็ดรอบแรกไปแล้ว แต่ประสบต้นกล้าแห้งตายเพราะขาดแคลนน้ำ
ซึ่งหลังจากนี้จะมีการสำรวจร่วมกันว่ามีพื้นที่ใดได้รับความเสียหายบ้าง
เพื่อนำมาพิจารณาจัดทำงบประมาณจัดหาเมล็ดพันธุ์สำหรับนำไปช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
“ขอให้เกษตรกรทั้งชาวนา ชาวไร่
ที่ประสบปัญหาภัยแล้งเข้ามาแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน
การปรับตารางการชำระหนี้ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และนอกจาก 3
มาตรการดังกล่าวแล้ว ธนาคารยังได้ร่วมมือกับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
จัดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ด้วยการสร้างฝายมีชีวิต
เพื่อจัดทำแหล่งน้ำสนับสนุนการประกอบอาชีพภาคการเกษตรอีก 6,137 ฝายด้วย”
ข้อมูล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร