ได้เห็นเป็นบุญตา “พระเขี้ยวแก้วองค์จริง” ของพระพุทธเจ้า กับปาฎิหาริย์ มีพระธาตุเสด็จมาเกาะอยู่โดยรอบ

พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ เป็น พระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ซึ่งตามลักขณสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์

ปีหนึ่งทางวัดหลิงกวง จะเปิดให้เข้าสักการะพระเขี้ยวแก้ว ในเจดีย์ได้ปีละ 2 วัน ที่เหลือจากนั้น ก็ได้แต่เดินเวียนรอบเจดีย์เอาเป็นพุทธบูชา คราวที่อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่พุทธมณฑลสาย 4 จ.นครปฐม

วันเราได้นำภาพชัด ๆ มาให้ท่านผู้อ่านได้เห็นเป็นบุญตาว่า รูปลักษณะสัณฐานของพระเขี้ยวแก้วเป็นอย่างไรกัน เพราะเคยมีตำนานว่า พระเขี้ยวแก้วองค์จริงจะสอดอยู่ในกลักงาช้าง สำหรับเขี้ยวแก้วนั้นจะมีทั้งหมด 4 องค์ ตามลักขณสูตรได้กล่าวไว้ ล้วนแต่ขาวงามบริสุทธิ์
พระเขี้ยวแก้วที่ประเทศจีน เขาจะเรียกว่า “พระทันตธาตุฟาเหียน” เพราะพระภิกษุฟาเหียน เป็นผู้อัญเชิญมา พระเขี้ยวแก้วองค์มา แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่อาณาจักรอูไดeๅนา ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศปากีสถาน

หลังจากนั้นก็ย้ายมาอยู่ที่แคว้นโคตัน ในคริสต์ศตวรรษ ที่ 5 พระภิกษุฟาเหียนอัญเชิญเอามาจากเมืองโคตัน ประดิษฐานไว้ที่นานกิง เมืองหลวงของราชวงศ์จี๋ หลังจากนั้น ประเทศจีนก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสมัยราชวงศ์ซุ่ย พระเขี้ยวแก้วก็เลยย้ายไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองฉางอัน

ในช่วงเมืองจีuมีถึง 5 ราชวงศ์ ในแผ่นดินเดียว พระเขี้ยวแก้วก็ย้ายไปย้ายมาจนสุดท้ายก็ได้ไปประดิษฐานอยู่ในเจดีย์เจาเซียนบนภูเขา เมืองปักกิ่งในสมัยราชวงศ์เหลียว หลังจากนั้นก็เงียบหายไป นานถึง 830 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2443 ยุคสมัยราชวงศ์ชิง เจดีย์เจาเซียนถูกUืuใหญ่ของฝ่ายพันธมิตรชาติตะวันตกทำลาย
พระภิกษุที่อยู่ภายในวัดได้มาทำความสะอาด จึงได้พบพระเขี้ยวแก้วอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งบรรจุอยู่ในหีบศิลาภายในห้องใต้ดินขององค์เจดีย์อีกครั้ง ภายในหีบศิลาพบตลับไม้กฤษณาอีกชั้นหนึ่ง บนตลับนั้นระบุว่า ถูกนำมายัง ณ สถานที่ในปี พ.ศ. 1506

โดยพระภิกษุชื่อซ่านฮุย ในยุคราชวงศ์ซ่ง ด้านข้างและด้านในกล่องนั้น เป็นลายมือของหลวงจีนซ่านฮุย แล้วในตลับนั้นก็พบพระเขี้ยวแก้ว อยู่ด้านบนในปี พ.ศ.2498 ทางพุทธ สมาคมแห่งประเทศจีน จึงได้อัญเชิญออกมาให้ประชาชนสักการชั่วคราวที่ วัดกวงจี่ รอเวลาสร้างสร้างเจดีย์ที่วัดหลิงกวงเสร็จ
จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2507 จึงมีพิธีบรรจุพระบรมธาตุพระเขี้ยวแก้ว ในพระมหาเจดีย์ไว้เป็นการถาวร สำหรับพระภิกษุฟาเหียนนั้น เป็นสมณะจีนรูปแรก ที่เดินทางไปศึกษา ค้นหาคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่อินเดีย เมื่อปี พ.ศ.942
สาเหตุเพราะทนเห็นความประพฤติของพระภิกษุมหาeๅนไม่ลงรอยกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าตนปฎิบัติได้ถูกต้อง เมื่อไม่มีใครตัดสิน ถูกหรือผิดได้ ท่านจึงได้ออกเดินทางไปสืบหาต้นฉบับคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่ถูต้อง พระภิกษุฟาเหียนเดินทางไปที่เมืองปาตลีบุตร พักอยู่ที่สังฆาราม 3 ปี ที่

ได้พบคัมภีร์วินัยหมวดมหาสังคีติ และได้คัดลอกพระวินัยประมาณ 7,000 คาถา ซึ่งเป็นวินัยของฝ่ายสรวาสติวาท ได้คัมภีร์สังยุตตอภิธัมมหทัย เป็นหนังสือประมาณ 6,000 คาถา ได้พระสูตรอีกหมวดหนึ่งประมาณ 2,500 คาถา ได้คัมภีร์ปรินิพพานสูตร และคัมภีร์อภิธรรมต่อมา
พระภิกษุฟาเหียนก็ไปที่เมืองสาวัตถีก็ได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท พบซุกซ่อนอยู่ในเจดีย์สุวรรโณทeๅน มีข้อความร้อยกรองเป็นหมวดหฆู่ไว้ตั้งแต่สังคายนาครั้งแรก ออกจากสาวัตถีเสร็จ พระภิกษุฟาเหียนก็เดินทางไปที่แคว้นจัมปา แล้วก็พักคัดลอกคัมภีร์พระสูตร ภาษาสันสกฤตของฝ่ายมหาeๅนอยู่ 2 ปี แล้วเดินทางต่อไปที่เกาะลังกาคัดลอกเอาคัมภีร์ที่ต้องการอีก 2 ปี ที่มหินตเล พระภิกษุฟาเหียนได้คัมภีร์พระวินัยปิฎกฉบับขอฝ่ายมหิสาสกะ ได้คัมภีร์ทีฆนิกาย สังยุตนิกาย และคัมภีร์ปกรณ์วิเสส

ขอบคุณที่มาจาก ร้อยเรื่องราว ไปกับ เจ้าคุณปราบสุราพินาศ