Home »
Uncategories »
ลูกจ้างเฮสนั่น 1 มิถุนายนนี้ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ มี 3 จังหวัดค่าจ้างต่อวันสูงสุด
ลูกจ้างเฮสนั่น 1 มิถุนายนนี้ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ มี 3 จังหวัดค่าจ้างต่อวันสูงสุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีรายงานว่า ได้มีมติให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 31
จังหวัด ในอัตรา 2-10 บาท/วัน ส่วน 46 จังหวัด ปรับขึ้นในอัตรา 2 บาท/วัน
โดยกทม. และภูเก็ต ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดที่ 10 บาทต่อวัน
ซึ่งกรณีกทม. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 61 อยู่ที่วันละ 325 บาท
หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะทำให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 62 อยู่ที่ 335 บาท
และภูเก็ต เดิมอยู่ที่ 330 บาท จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 340 บาท
ส่วนสมุทรปราการ ปรับขึ้น 7 บาท ขณะที่ชลบุรี และระยอง ปรับขึ้น 5 บาท
อย่างไรก็ตาม หากบอร์ดค่าจ้างกลาง มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ
คาดจะขอความเห็นชอบจากที่ประชุมครม.ในวันที่ 14 พ.ค.
ก่อนประกาศราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้
สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 มีการปรับขึ้นตั้งแต่ 5-22 บาท
1. พื้นที่จังหวัดชลบุรี ภูเก็ต และระยอง ปรับขึ้นสูงสุด วันละ 330 บาท
2. พื้นที่กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ปรับขึ้นวันละ 325 บาท
3. พื้นที่จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา
พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี
หนองคาย และอุบลราชธานี ปรับขึ้นเป็นวันละ 320 บาท
4. พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี มุกดาหาร สกลนคร และสมุทรสงคราม ปรับขึ้นเป็นวันละ 318 บาท
5. พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ
บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยโสธร
ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี และอุตรดิตถ์
ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นวันละ 315 บาท
6. พื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก
นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน
ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และอุทัยธานี
ปรับขึ้นเป็นวันละ 310 บาท
7. พื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ปรับขึ้นน้อยสุด เป็นวันละ 308 บาท
ต่อมา สำนักข่าวไทยรัฐรายงานว่า นายชาลี ลอยสูง
รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า
ขณะนี้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
ถูกกระแสกดดันอย่างหนักตั้งแต่เดือนมี.ค.ถึงปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา
จนมีการเลื่อนออกมา มีการประชุม 3-4 ครั้ง ไม่ได้ข้อยุติ ทั้งๆ
ที่สถานการณ์เร่งรัดให้รีบดำเนินการ เนื่องจากราคาน้ำมันปรับขึ้น
รถเมล์ขึ้นราคา และสินค้าต่างๆ ราคาปรับขึ้นไปแล้ว
แต่ค่าจ้างยังไม่ปรับขึ้น ทำให้ลูกจ้างต้องจ่ายเพิ่ม
“คิดว่ารัฐบาลต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ไม่รู้เมื่อใด
อาจยืดเยื้อไปจากวันที่ 1 มิ.ย. และเมื่อมีกระแสการปรับขึ้นค่าจ้าง
สินค้าก็ขึ้นไปก่อนแล้ว สมมติปรับขึ้นวันที่ 1 มิ.ย. ถามว่าลูกจ้างได้อะไร
หากปรับเพิ่มขึ้น 2-10 บาท ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะสินค้าขึ้นไปแล้ว
ดังนั้นควรรีบปรับไปเลย รัฐบาลควรประกาศเป็นของขวัญในวันแรงงาน
แต่ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ 100%”
ทั้งนี้ข้องใจเหตุใดคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดทั้ง 46 จังหวัด
ไม่มีการเสนออัตราปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
ถามว่าลูกจ้างในพื้นที่ไม่มีปัญหาหรือ จนบอร์ดค่าจ้างกลาง
ให้กลับไปทบทวนพิจารณาใหม่ และไม่มีการเสนอให้ปรับขึ้นอีก
กระทั่งท้ายสุดคณะอนุกรรมการค่าจ้างวิชาการและกลั่นกรองได้มีมติออกมา
ซึ่งง่ายเกินไป ถือว่าล้มเหลวในการทำหน้าที่
จึงเห็นว่าไม่ควรมีคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดอีกต่อไป เพราะกลไกพิกลพิการ
นอกจากนี้อยากให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ
เนื่องจากค่าครองชีพในต่างจังหวัดทั่วประเทศไม่ต่างกันมาก หากปรับเพิ่มขึ้น
2-10 บาท ก็ควรปรับขึ้นเป็น 10 บาท ให้เท่ากันทั่วประเทศ
ส่วนนายทุนไม่ควรอ้างต้นทุนที่สูงขึ้น
ซึ่งรัฐบาลควรแก้ปัญหาให้ถูกจุดหามาตรการช่วยนายทุนในพื้นที่ต่างจังหวัด
เพื่อไม่ต้องอ้างเรื่องต้นทุนอีก
ควรมองเรื่องค่าครองชีพเป็นหลักมากกว่าเพื่อให้ลูกจ้างอยู่ได้
“เคยเสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 360 บาท ก็ยังไม่ได้
แล้วสิ่งที่อยากเสนอจริงๆ ให้ปรับขึ้น 760 บาท
เพื่อให้ลูกจ้างสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ตามหลักการเหตุผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงๆ
ก็คงเป็นไปไม่ได้ และสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ด้วยการแจกเงินให้คนเที่ยวเมืองรอง เป็นการแก้ปัญหาแบบไฟไหม้ฟาง
ทำไมไม่เอางบส่วนนี้ ไปเพิ่มค่าจ้างให้กับคนในพื้นที่จะดีกว่า
เพื่อให้คนใช้จ่าย ให้คนในต่างจังหวัดมีรายได้ ให้มีความมั่นคงไปด้วยกัน”
ที่มาsiamnews