พ่อแม่ให้ลูกเล่นมือถือส่งผลเสียทุกด้าน คำเตือนจากแพทย์ชาวญี่ปุ่น

แอดมินเชื่อเหลือเกินว่าหลายๆบ้านกำลังประสบปัญหาในเรื่องของการเลี้ยงดูบุตรหลาน เพราะในยุคนี้ต้องยอมรับเลยว่า เด็กๆชื่นชอบที่จะเล่นมือถือ แท็บเล็ตเป้นอย่างมาก และหากเราตามใจไม่ควบคุมเวลาการเล่นให้ดี สิ่งที่ตามมาคือผลเสียต่อลูกน้อยของคุณ ดังที่เรากำลังจะนำเสนอดังต่อไปนี้…

ล่าสุด แพทย์ญี่ปุ่นเตือน ให้ลูกเล่นมือถือ ส่งผลเสียทุกด้านมือถือ เป็นอันตร ายต่อเด็กสมาคมกุมารแพทย์แห่งญี่ปุ่นออกโปสเตอร์เตือนอันตร ายของการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ซึ่งผลกระทบด้านลบต่อเด็กทั้งสุขภาพกาย, การเรียน และพัฒนาการด้านต่างๆ

ภาพโปสเตอร์เตือนถึงอันตรายของการใช้สมาร์ทโฟนจะถูกจัดส่งไปยังสถานพยาบาล 170,000 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการตั้งคำถามว่า “เราจะสูญเสียอะไรไปบ้าง เมื่อใช้เวลากับสมาร์ทโฟน?” เพื่อเตือนให้ผู้ปกครองใส่ใจถึงผลกระทบต่อสมาร์ทโฟนที่มีต่อเด็ก

9 ผลกระทบ จากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป

1. รบกวนการนอนหลับ

แสงจากจอมือถือหรือแท็บเล็ตที่สว่างๆ ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมน “เมลาโทนิน” ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ เนื่องจากการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับแสงสว่างเป็นสำคัญ การเล่นมือถือก่อนนอนจึงส่งผลต่อการนอนหลับไปด้วย

2. เกิดความเครียด

การใช้สมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา เท่ากับว่าเราต้องพร้อมที่จะรับโทรศัพท์ ตอบข้อความต่างๆ ที่แจ้งเตือนเข้ามาจากช่องทางต่างๆ ทั้งไลน์ อีเมล และโซเชียลมีเดียตลอดเวลาด้วยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความเครียดได้โดยไม่รู้ตัว

3. ทำลายจอประสาทตา

แสงสีฟ้าจากจอสมาร์ทโฟนสามารถทำลายจอประสาทตา (เรติน่า) จนนำไปสู่โรคจอประสาทตาเสื่อมได้ ซึ่งสูตรที่ใช้กันเพื่อดูแลสุขภาพตา คือ 20-20-20 โดยมองจอแค่ 20 นาที จากนั้นพักสายตามองที่อื่น 20 วินาที โดยมองสิ่งที่อยู่ไกลจากตัวเอง 20 ฟุต เพื่อคลายความล้าจากการใช้สายตา

4. พฤติกรรมก้าวร้าว

คนที่ติดการใช้มือถือและไม่ได้ใช้ในเวลาที่ต้องการ มักจะเกิดอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว เพราะไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กๆ ที่ติดเล่นเกมในสมาร์ทโฟน

5. เสียสมาธิ

การใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้เสียสมาธิได้ เพราะแทนที่จะจดจ่อกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วง ก็ต้องมาพะวงกับเสียงแจ้งเตือนต่างๆ ที่เข้ามาจนขาดสมาธิ

6. Cellphone Elbow

Cellphone Elbow คือ อาการปวดชา หรือเหน็บชาบริเวณปลายแขนและมือ จากการถือสมาร์ทโฟนด้วยท่าทางที่งอแขนเป็นมุมแคบกว่า 90 องศานานเกินไป ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเกิดข้องอติดแข็งที่นิ้วนางกับนิ้วก้อยได้

Loading...

7. นิ้วล็อก

การใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งพิมพ์ข้อความหรือเล่นเกมในมือถือนานเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการนิ้วล็อกได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอนิ้วข้อมือตรงบริเวณโคนนิ้ว ทำให้เกิดอาการปวดบวม โดยส่วนใหญ่มักเป็นกับนิ้วหัวแม่มือที่ใช้งานมากกว่านิ้วอื่นๆ

8. ซึมเศร้า และวิตกกังวล

คนที่ใช้มือถือจนติดมักจะมีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลตามมาได้ อันเนื่องมาจากการรอคอยหรือคาดหวังเสียงโทรศัพท์ หรือการตอบกลับข้อความต่างๆ และหากวันไหนลืมมือถือมาด้วยก็จะยิ่งรู้สึกเป็นกังวลมากขึ้น

9. ปวดศีรษะ

การใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน จะส่งให้ได้รับรังสีจากคลื่นโทรศัพท์ที่แผ่ออกมามากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรังสีดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาทด้วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา นั่นคือปวดศีรษะ ปวดไมเกรน หรือบางรายก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่านั้น

แต่ผลกระทบต่อสมองและการเรียนก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้วมือถือยิ่งเล็ก ผลกระทบยิ่งมาก

ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น พบว่า ตั้งแต่ปี 2014 นักเรียนชั้นประถมและมัธยมที่ใช้เวลากับโทรศัพท์มากจะยิ่งมีผลการเรียนถดถอยลง นอกจากนี้ การจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานยังมีส่วนทำลายสมองและทำให้ประสิทธิภาพเรื่องความจำถดถอยอีกด้วย ผลการวิจัยเคยพบว่า โทรทัศน์ส่งผลลบต่อพัฒนาการของเด็ก เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็กขาดพัฒนาการการด้านการสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์

แต่สมาร์ทโฟนซึ่งมีจอขนาดเล็กจะยิ่งมีผลเสียมากกว่าผู้ปกครองควรจำกัดเวลาการดูโทรทัศน์ เล่นเกม และใช้สมาร์ทโฟนของเด็กให้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์โดยสิ้นเชิง

ทั้งนี้ ตามความคิดเห็นของผู้เขียนที่ให้ลูกชายเริ่มเล่นเเทปเล็ตเเละมือถือตอน 4 ขวบ ก็คิดว่าผลที่ได้ไม่ต่างกันกับการเริ่มตั้งเเต่ 2 ขวบค่ะ ทุกวันนี้ยังเสียใจว่าเริ่มเร็วเกินไปหน่อย กฎที่เริ่มทำก็คือการจำกัดเวลาที่ใช้ได้ต่อวัน ณ ปัจจุบันนี้ลูกชายของผู้เขียนได้รับอนุญาติให้ใช้เครื่องมือพวกนี้ได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 นาที ก็ช่วยให้อาการติดมือถือเเละเเทปเล็ตน้อยลงได้นะคะ

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก : sanook.com