Home »
Uncategories »
เสี่ยงสูงสุด บุฟเฟ่ต์หมูกระทะ คนป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพียบ
เสี่ยงสูงสุด บุฟเฟ่ต์หมูกระทะ คนป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพียบ
ต้องบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวและต้องระวังมากๆ
สำหรับใครที่มักจะชอบทานบุฟเฟ่ต์หมูกระทะบ่อยๆ
เพระาอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ‘สถาบันมะเร็งแห่งชาติ’
เผยล่าสุดมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่ม 2 เท่าภายใน 10 ปี
ซึ่งหมูกระทะเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ได้สูงมาก
เนื่องจากเป็นการปิ้งย่าง ยิ่งหากชอบทานแบบแห้งเกรียมยิ่งต้องระวัง
วันนี้เราได้นำข้อมูลมาให้ได้ดูกันด้วย ลองไปอ่านกันดูเลยจ้า
โดยเรื่องนี้ ดร.ศุลีพร แสงกระจ่าง รองผู้อํานวยการด้านพัฒนาระบบสุขภาพ
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯมาจาก 7 ประเด็นคือ
1.การรับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์แปรรูปอื่นๆ
2.น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออยู่ในภาวะอ้วน 3.ขาดการออกกําลังกาย
4.สูบบุหรี่ 5.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจํา
6.มีประวัติเนื้องอกที่ผนังลําไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย และ
7.ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก
อนึ่ง สถาบันมะเร็งฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มุ่งเน้นการหารือไปที่สาเหตุเฉพาะอันดับต้นๆ ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ
ซึ่งน่าวิตกกังวลมากที่สุดนั่นคือการรับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง
หรือเนื้อสัตว์แปรรูปอื่นๆ ที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่นิยม
โดยเฉพาะเมื่อมีกระแสบุฟเฟ่ต์-ปิ้งย่าง ยิ่งกระตุ้นการบริโภคมากขึ้นไปอีก
และมองข้ามอันตราย
เนื่องจากเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปใส่สารไนเตรทและไนไตรท์หรือดินประสิวเพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีแดง
รวมทั้งในกุนเชียง ไส้กรอก เบคอน เนื้อเค็ม ลูกชิ้น แหนมสด ปลาแห้ง
เนื้อแห้ง เป็นต้น เพื่อให้มีอายุยาวนานขึ้น
“แม้จะมีประโยชน์ในการถนอมอาหาร
แต่สารไนเตรทและไนไตรท์ก็มีโทษเช่นเดียวกัน
เพราะสารชนิดนี้จะทําปฏิกิริยากับสารประกอบเอมีนในอาหาร
ร่วมกับสภาวะความเป็นกรดในกระเพาะ
ทําให้เกิดไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และถ้านำไปปิ้งย่างจนไหม้เกรียม
ก็จะมีสาร PAHs ซึ่งก่อมะเร็งที่เพิ่มขึ้นไปอีก
#การบริโภคแม้ปริมาณน้อยแต่หากบริโภคติดต่อกันเป็นระยะเวลานานย่อมมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง”
ดร.ศุลีพร ย้ำ
ด้าน นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ประธานคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นฯ กล่าวว่า
ที่ผ่านมาภาครัฐได้รณรงค์ให้คนตื่นตัวเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯที่มาจากการบริโภคอาหารมาหลายปี
แต่กลับไม่ได้สร้างความตระหนักรู้มากนัก
เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงคือการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
ต่างจากบุหรี่หรือสุราที่คนเห็นโทษชัดเจน
จึงต้องปรับแผนมาใช้กลไกของสมัชชาสุขภาพเพื่อระดมเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาชนและสื่อมาร่วมมือกันแก้ปัญหา
#โดยแนวทางการรณรงค์ต้องเน้นให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณะ
ลดหรือหลีกเลี่ยงเนื้อแดงและเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนแปรรูปทั้งแบบอุตสาหกรรมและการผลิตแบบชุมชนที่ไม่มีมาตรฐาน
รวมถึงเนื้อสัตว์ปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม หรือทอดด้วยน้ำมันทอดซ้ำ
รวมถึงให้ความรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมของมะเร็งต่างๆ เช่น การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน
และการสูบบุหรี่
ขณะเดียวกันต้องให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เพื่อให้คนนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วย
โดยเฉพาะการบริโภคเนื้อแดงต้องไม่ควรมากกว่า 500 กรัมต่อสัปดาห์
ซึ่งเป็นตัวเลขที่หลายประเทศใช้อ้างอิง
ขณะเดียวกัน
จะต้องร่วมมือกับผู้ผลิตเนื้อสัตว์แปรรูปให้ติดฉลากให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นข้อมูลได้ง่ายว่ามีไนเตรทและไนไตรท์มากน้อยอย่างไร
เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อโดยยึดหลักเกณฑ์ของ อย.เป็นหลัก อาทิ
ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมักที่กำหนดให้มีเกลือโซเดียมไนไตรท์ได้ปริมาณไม่เกิน 125
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโซเดียมไนเตรทได้ปริมาณไม่เกิน 500
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม.