ข้าวหมาก คือ อาหารหมักพื้นบ้านของไทย ทำจากข้าวเหนียว
ทั้งข้าวเหนียวธรรมดา และข้าวเหนียวดำ
แต่ปัจจุบันมักไม่ค่อยเห็นข้าวหมากจากข้าวเหนียวดำ การทำข้าวหมากถือเป็น
การถนอมอาหารวิธีหนึ่ง เนื่องจากยีสต์จะทำหน้าที่
เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์
ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับจุลินทรีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในอาหาร
ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถเพิ่มจำนวน ช่วยชะลอการเน่าเสียของอาหาร
วันนี้นายข้าวต้มได้นำ สูตรทำข้าวหมาก ทำอย่างไรให้หวาน หอม อร่อย แบบมืออาชีพ สามารถทำขายได้ มาฝากกัน…
มาดูวิธีการทำข้าวหมาก ให้หวาน หอม อร่อย แบบมืออาชีพ กันเลยดีกว่า
1. เลือกข้าวเหนียวอย่างดี และควรเป็นข้าวเหนียวเก่า (ข้าวเหนียวใหม่ ที่สิ้นฤดูการผลิต ก็ทำได้ แต่เมื่อนึ่งทำข้าวหมากแล้ว จะดูเละไม่สวย) ถ้าทำไว้ทานเองก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำขาย ผู้บริโภคอาจเข้าใจว่า ข้าวหมากเสียแล้ว
2. ล้างข้าวเหนียว และแช่น้ำค้างคืนหรืออย่างน้อยประมาณ 6 ชั่วโมง สำหรับข้าวเหนียวเก่า (3 ชั่วโมง สำหรับข้าวเหนียวใหม่ และ 10 ชั่วโมง สำหรับ ข้าวเหนียวดำ)
3. นำข้าวเหนียวขึ้นจากน้ำ สะเด็ดน้ำรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนึ่งด้วยซึง หรือหวด ตามความถนัด
4. นึ่งข้าวเหนียวจนสุกทั่วถึงกัน ประมาณ 20-30 นาที หรือให้พอสุก (ไม่นึ่งจนสุก เพราะจะทำให้ข้าวหมากเละหรือแฉะ เมื่อทำข้าวหมากแล้ว จะเปรี้ยว) โดยข้าวเหนียวเก่า จะนึ่งนานราว 25-30 นาที โดยเมื่อนึ่งได้ 15 นาที ให้พลิกข้าวเหนียวกลับ จากบนลงล่าง (กรณีนึ่งด้วยหวด) เพื่อให้ข้าวเหนียวสุกเสมอกัน
5. หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำไปผึ่งข้าวให้เย็นราว 10-20 นาที ก่อนนำไปล้างน้ำ (ห้ามล้างน้ำทันที เพราะข้าวเหนียวจะและ ทำข้าวหมากจะไม่อร่อย)
6. นำข้าวเหนียวมาล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง เพื่อให้ข้าวหมดยาง และเมล็ดข้าวจะเรียงเม็ดดีกว่า ข้าวไม่และ และเมล็ดข้าวจะกรอบน่ารับประทาน
7. เมื่อล้างข้าวเสร็จแล้ว นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ราว 30-60 นาที
เพื่อให้ข้าวแห้งมากที่สุด เพราะถ้าข้าวเปียกหรือแฉะจะมีเชื้อแบคทีเรีย
ทำให้ข้าวหมากเปรี้ยวได้ง่าย
8. นำไปใส่ภาชนะที่แห้ง เช่น ถาดหรือ แผ่นพลาสติก เกลี่ยข้าวให้กระจายหนาเท่า ๆ กัน แล้วโรยและคลุกลูกแป้งข้าวหมาก ที่บดละเอียดแล้ว ให้สม่ำเสมอเบา ๆ (ใช้ลูกแป้ง 1 ลูก ต่อข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม …ทั้งนี้ ขึ้นกับสูตรลูกแป้งของแต่ละแห่ง)
9. บรรจุข้าวที่คลุกแป้งข้าวหมากแล้ว ใส่ภาชนะที่แห้งและสะอาด เช่น กล่อง หรือห่อใบตอง ให้ข้าวเรียงตัวกันหลวม ๆ ไม่กดแน่น ไม่ควรหนามาก และให้มีที่ว่างเหนือภาชนะเพื่อให้มีอากาศเพียงพอ
10. นำไปบ่ม โดยนำผ้าขาวบางคลุม (หรือตั้งทิ้งไว้) ประมาณ 60-72 ชั่วโมง หรือราว 3 วัน 2 คืน ถ้าต้องการหวาน ก็ประมาณ 3 วัน 3 คืน รสชาติกำลังดี ถ้านานกว่านี้ ข้าวหมากจะแก่ รสชาติจะเข้ม คล้ายเหล้าสาโท ทั้งนี้ เมื่อข้าวหมากเป็นได้ที่แล้ว สามารถเก็บเข้าตู้เย็นได้ เพื่อหยุดความหวานและหยุดการเกิดแอลกอฮอล์ สามารถเก็บไว้ได้ราว 1 อาทิตย์
หมายเหตุ : ข้าวหมาก มีขายที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น
เกือบทุกแห่ง ผู้สนใจอยากลิ้มรส ลองชิม ก็สามารถสอบถามพนักงาน 7-11 ได้ครับ
หรืออาจมีขายตามตลาดนัด ขายกับข้าวทั่วไป (มักห่อด้วยใบตอง)
หรือจะลองทำเองห่อด้วยใบตอง (ดังภาพ) ก็ได้ครับ
ความรู้เพิ่มเติม : การเสียของข้าวหมาก
การทำข้าวหมากเป็นวิธีที่ง่าย แต่การทำข้าวหมากให้มีคุณภาพดี ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะข้าวหมากที่ได้บางครั้ง มีกลิ่นและรสไม่ดี มีรสเปรี้ยวมาก ข้าวหมากมีน้ำมากเกินไป เมล็ดข้าวไม่สวย บางครั้งมีสีแดง หรือมีสปอร์ราสีดำ หรือสีน้ำตาลเกิดขึ้น
สาเหตุของการเสียของข้าวหมาก
1. ข้าวและวิธีการเตรียมข้าวสำหรับทำข้าวหมาก ไม่เหมาะสม ทำให้ข้าวหมากรสไม่หวานเท่าที่ควร และมีรสเปรี้ยวอยู่มาก และข้าวแฉะเมล็ดไม่สวย สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่
1. http://www.khawmak.com/index.php
2. http://www.khawmak.com/mak1.php
3. อนันตสุข
ภาพข้าวหมากรสสุคนธ์ จาก : http://164.115.23.30/CDDReport/FileStore/2a184e71-61e2-4190-8ae7-fb4df92ddd3c.JPG
มาดูวิธีการทำข้าวหมาก ให้หวาน หอม อร่อย แบบมืออาชีพ กันเลยดีกว่า
1. เลือกข้าวเหนียวอย่างดี และควรเป็นข้าวเหนียวเก่า (ข้าวเหนียวใหม่ ที่สิ้นฤดูการผลิต ก็ทำได้ แต่เมื่อนึ่งทำข้าวหมากแล้ว จะดูเละไม่สวย) ถ้าทำไว้ทานเองก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำขาย ผู้บริโภคอาจเข้าใจว่า ข้าวหมากเสียแล้ว
2. ล้างข้าวเหนียว และแช่น้ำค้างคืนหรืออย่างน้อยประมาณ 6 ชั่วโมง สำหรับข้าวเหนียวเก่า (3 ชั่วโมง สำหรับข้าวเหนียวใหม่ และ 10 ชั่วโมง สำหรับ ข้าวเหนียวดำ)
3. นำข้าวเหนียวขึ้นจากน้ำ สะเด็ดน้ำรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนึ่งด้วยซึง หรือหวด ตามความถนัด
4. นึ่งข้าวเหนียวจนสุกทั่วถึงกัน ประมาณ 20-30 นาที หรือให้พอสุก (ไม่นึ่งจนสุก เพราะจะทำให้ข้าวหมากเละหรือแฉะ เมื่อทำข้าวหมากแล้ว จะเปรี้ยว) โดยข้าวเหนียวเก่า จะนึ่งนานราว 25-30 นาที โดยเมื่อนึ่งได้ 15 นาที ให้พลิกข้าวเหนียวกลับ จากบนลงล่าง (กรณีนึ่งด้วยหวด) เพื่อให้ข้าวเหนียวสุกเสมอกัน
5. หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำไปผึ่งข้าวให้เย็นราว 10-20 นาที ก่อนนำไปล้างน้ำ (ห้ามล้างน้ำทันที เพราะข้าวเหนียวจะและ ทำข้าวหมากจะไม่อร่อย)
6. นำข้าวเหนียวมาล้างด้วยน้ำสะอาด 3-4 ครั้ง เพื่อให้ข้าวหมดยาง และเมล็ดข้าวจะเรียงเม็ดดีกว่า ข้าวไม่และ และเมล็ดข้าวจะกรอบน่ารับประทาน
8. นำไปใส่ภาชนะที่แห้ง เช่น ถาดหรือ แผ่นพลาสติก เกลี่ยข้าวให้กระจายหนาเท่า ๆ กัน แล้วโรยและคลุกลูกแป้งข้าวหมาก ที่บดละเอียดแล้ว ให้สม่ำเสมอเบา ๆ (ใช้ลูกแป้ง 1 ลูก ต่อข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม …ทั้งนี้ ขึ้นกับสูตรลูกแป้งของแต่ละแห่ง)
9. บรรจุข้าวที่คลุกแป้งข้าวหมากแล้ว ใส่ภาชนะที่แห้งและสะอาด เช่น กล่อง หรือห่อใบตอง ให้ข้าวเรียงตัวกันหลวม ๆ ไม่กดแน่น ไม่ควรหนามาก และให้มีที่ว่างเหนือภาชนะเพื่อให้มีอากาศเพียงพอ
10. นำไปบ่ม โดยนำผ้าขาวบางคลุม (หรือตั้งทิ้งไว้) ประมาณ 60-72 ชั่วโมง หรือราว 3 วัน 2 คืน ถ้าต้องการหวาน ก็ประมาณ 3 วัน 3 คืน รสชาติกำลังดี ถ้านานกว่านี้ ข้าวหมากจะแก่ รสชาติจะเข้ม คล้ายเหล้าสาโท ทั้งนี้ เมื่อข้าวหมากเป็นได้ที่แล้ว สามารถเก็บเข้าตู้เย็นได้ เพื่อหยุดความหวานและหยุดการเกิดแอลกอฮอล์ สามารถเก็บไว้ได้ราว 1 อาทิตย์
เคล็ดลับการทำข้าวหมาก
- ล้างข้าวเหนียวให้สะอาดและแช่ทิ้งไว้
- ข้าวเหนียวที่นึงสุกแล้วผึ่งจนเย็นให้ล้างด้วยน้ำกรอง(ไม่มีคลอรีน)และล้างให้หมดเมือกหรือให้น้ำใส
- ความสะอาดสำคัญมากเพราะมีผลต่อรสชาติของข้าวหมาก ถ้ามีสิ่งปนเปื้อนจะทำให้ข้าวหมากมีรสเปรี้ยวปนหวาน
- ข้าวเหนียวควรเลือกเมล็ดที่อวบไม่แตกหักเยอะและไม่มีเมล็ดข้าวอื่นปนมาเยอะ เพราะจะทำให้ข้าวเหนียวสุกไม่ทั่วถึงทำให้ข้าวเหนียวบางเมล็ดเป็นไต
- ลูกแป้งข้าวหมากที่คุณภาพดีก็มีผลต่อรสชาติของข้าวหมาก ข้าวหมากจะหวานมากหรือหวานน้อย
- อุปกรณ์ที่ใช้ทำข้าวหมาก ควรแยกต่างหากจากอุปกรณ์ที่ใช้ประจำทั่วไป และทำความสะอาดโดยใช้น้ำเปล่า
- น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้วค่อนข้างมีเมล็ดติดกันน้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี
ความรู้เพิ่มเติม : การเสียของข้าวหมาก
การทำข้าวหมากเป็นวิธีที่ง่าย แต่การทำข้าวหมากให้มีคุณภาพดี ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะข้าวหมากที่ได้บางครั้ง มีกลิ่นและรสไม่ดี มีรสเปรี้ยวมาก ข้าวหมากมีน้ำมากเกินไป เมล็ดข้าวไม่สวย บางครั้งมีสีแดง หรือมีสปอร์ราสีดำ หรือสีน้ำตาลเกิดขึ้น
สาเหตุของการเสียของข้าวหมาก
1. ข้าวและวิธีการเตรียมข้าวสำหรับทำข้าวหมาก ไม่เหมาะสม ทำให้ข้าวหมากรสไม่หวานเท่าที่ควร และมีรสเปรี้ยวอยู่มาก และข้าวแฉะเมล็ดไม่สวย สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่
- พันธุ์ข้าวที่ใช้และคุณภาพของข้าวไม่ดี
- นึ่งข้าวนานเกินไปทำให้ข้าวนึ่งเละ เมื่อล้างน้ำทำให้ข้าวเหนียวแฉะ
- ข้าวที่นึ่งสุกไม่ทั่วถึงทำให้ข้าวหมากแข็งเป็นไตภายในเมล็ดข้าว เนื่องจากแช่ข้าวเหนียวไม่นานพอหรือนึ่งเร็วเกินไป
- ล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ
- คลุกลูกแป้งกับข้าวเหนียวขณะที่ยังไม่สะเด็ดน้ำ ทำให้ความชื้นของข้าวสูง เกิดการเปรี้ยวเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย
- ลูกแป้งเก่าเกินไป เชื้อข้าวหมากส่วนใหญ่ตายไปแล้ว ทำให้ใช้เวลาหมักนานขึ้น ข้าวหมากมีกลิ่นไม่ค่อยดี รสหวานน้อย และเสียได้ง่าย
- ลูกแป้งไม่ดี ลูกแป้งเสีย มีเชื้อรา และยีสต์ปนเปื้อนมาก ทำให้ข้าวหมากเปรี้ยว มีกลิ่นรสผิดไปจากปกติ
- ใช้ลูกแป้งน้อยเกินไป ได้ข้าวหมากช้า เนื้อข้าวไม่ฟูนิ่มตลอด เมล็ดข้าวมีสีไม่น่ารับประทาน ออกสีน้ำตาลมาก
- ใช้ลูกแป้งมากเกินไป ข้าวหมากได้ที่เร็วเกินไป เก็บไว้ได้ไม่นาน มีกลิ่นของเครื่องเทศแรงเกินไป
สูตรทำข้าวหมาก หวาน หอม
เรียบเรียงจากประสบการณ์ตรง การถ่ายทอดเทคนิคการทำข้าวหมากจากพ่อและแม่ของผู้เขียน และข้อมูลจาก :1. http://www.khawmak.com/index.php
2. http://www.khawmak.com/mak1.php
3. อนันตสุข
ภาพข้าวหมากรสสุคนธ์ จาก : http://164.115.23.30/CDDReport/FileStore/2a184e71-61e2-4190-8ae7-fb4df92ddd3c.JPG