‘กรมการปกครอง’ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ วุฒิ ปวส.ขึ้นไป เงินเดือน 16,500 บาท สมัครทางเน็ต วันที่ 31 พ.ค. – 25 มิ.ย. 61 (รายละเอียด)

‘กรมการปกครอง’ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ วุฒิ ปวส.ขึ้นไป เงินเดือน 16,500 บาท สมัครทางเน็ต วันที่ 31 พ.ค. – 25 มิ.ย. 61

กรมการปกครอง รับสมัครสอบบุคคลเข้ารับราชการ สมัครทางเน็ต วันที่ 31 พ.ค. – 25 มิ.ย. 61 ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาดูกันต่อเลยนะค่ะว่ากรมการปกครองคืออะไร ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก กระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435 มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นเสนาบดีรับผิดชอบงานมหาดไทย

หรืองานการปกครองประเทศและได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกันโดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดเพียงกระทรวงเดียว กระทรวงมหาดไทยเมื่อแรกตั้งแบ่งออกเป็น 3 กรม มีชื่อเรียกตามทำเนียบเดิมแต่ให้มีหน้าที่ต่างกัน คือ

•กรมมหาดไทยกลางเป็นพนักงานทำการทุกอย่าง ซึ่งมิให้แยกออกไปเป็นหน้าที่กรมอื่น
•กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกการปราบปรามโจรผู้ร้ายกับแผนกอัยการรวมทั้งการเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ (แต่ภายหลังโอนการที่เกี่ยวกับต่างประเทศไปเป็นหน้าที่ปลัดทูลฉลอง)
•กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกปกครองท้องที่

สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคได้ กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า “เทศาภิบาล” ขึ้นมาใช้และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลโดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมืองและอำเภอโดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้น ๆ และมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบลและหมู่บ้าน กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังจึงเป็นต้นกำเนิดของกรมการปกครองซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในมาเป็นลำดับ ดังนี้

•พ.ศ. 2458กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครองและกรมฝ่ายเหนือ
•พ.ศ. 2459 กรมพลำภังมีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครองท้องที่และกรมการเมือง
•พ.ศ. 2460กรมปกครองมีส่วนราชการ2แผนกคือแผนกปกครองท้องที่และแผนกการเมือง

•พ.ศ. 2466กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือกรมปกครอง และกรมการเมือง
•พ.ศ. 2467กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ การภายในกรมภายนอก และกรมทะเบียน
•พ.ศ. 2469กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมปกครอง กรมทะเบียนและกรมราชทัณฑ์

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476 กรมพลำภังได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมมหาดไทยต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “กรมการปกครอง” จนถึงปัจจุบัน

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในความรับผิดชอบ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการบริหารงานบุคคล การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ภารกิจหน้าที่ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (สน.บท.) สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาภารกิจในเรื่องดังกล่าวได้เพิ่มพูนมากขึ้นเป็นลำดับ สืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ สอดคล้องตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องยกฐานะของสำนักให้เป็นส่วนราชการระดับกรม ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

อำนาจและหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นไปตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

1.ดำเนินการพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดทำ ประสาน และบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่นและวางระบบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น

3.ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.กำหนดแนวทางและจัดทำมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

5.ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง การงบประมาณ การพัสดุ การจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวางระบบตรวจสอบระบบการเงิน การบัญชี และการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการจัดการบริการสาธารณะและการศึกษาในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

7.กำหนดแนวทาง วางระบบ และสร้างตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน
8.ส่งเสริมภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

9.พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10.พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและของกรม
11.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้

ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
-สำนักงานเลขานุการกรม : Office of the Secretary
-กองการเจ้าหน้าที่ : Division of Personnel
-กองคลัง : Division of Finance
-กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น : Division of Local Legal Affairs
-กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น : Division of Local Audit
-กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น : Division of Local Administrative Development

-กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
-กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
-ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น : Local Information Technology Centre
-สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น : Local Personnel Development Institution
-สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น : Bureau of Local Finance
-สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น : Bureau of Local Personnel System Development

ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด (76 จังหวัด) : Provincial Office for Local Administration มีท้องถิ่นจังหวัด (อำนวยการระดับสูง/ต้น) เป็นหัวหน้าส่วนราชการ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 กลุ่มงาน ได้แก่
-ฝ่ายบริหารทั่วไป
-กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
-กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น
-กลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์
-กลุ่มงานการเงินบัญชีและการตรวจสอบ

สมัครได้ที่ www.dopa.go.th/news/cate1/view2939