โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2
มีรายละเอียดอะไรบ้างที่จำเป็นต้องรู้ คนที่มีบัตรคนจนแล้ว
ต้องลงทะเบียนใหม่หรือเปล่า มาเช็กกันเลย
เป็นข่าวดีของผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน กันอีกแล้ว เมื่อล่าสุดรัฐบาลได้ทุ่มงบกว่า 35,000 ล้านบาท อนุมัติโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 (บัตรคนจน เฟส 2) ซึ่งถือเป็นมาตรการต่อยอดมาจากบัตรคนจน 2560 ที่เป็นการลดภาระค่าครองชีพ ทั้งสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นและค่าโดยสารต่าง ๆ ทว่า...โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 ที่กำลังจะออกมานั้น จะมาช่วยเหลืออะไรเพิ่มเติมบ้าง แล้วมีรายละเอียดอะไรที่จำเป็นต้องรู้หรือเปล่า มาเช็กไปพร้อม ๆ กันเลย
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย บัตรคนจน เฟส 2 คืออะไร
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 เป็นมาตรการที่ต่อยอดมาจากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2560 เพื่อให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ที่ถือบัตรคนจน โดยมีเป้าหมายให้ผู้มีรายได้น้อยได้พัฒนาตนเองให้พ้นจากความยากจน ด้วยการมีงานทำ เข้าถึงแหล่งเงินทุน และสิ่งจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ต่างจากมาตรการในระยะแรกที่เน้นให้ความช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพเพียงอย่างเดียว
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 ใครมีสิทธิ์
สำหรับมาตรการในเฟส 2 นี้ จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่เคยลงทะเบียนโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ 2560 และได้สิทธิ์รับบัตรคนจนไปแล้ว ไม่ใช่เป็นการเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่แต่อย่างใด เพราะฉะนั้น คนที่จะมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ ต้องเป็นคนที่มีบัตรคนจนอยู่ในมือแล้วเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลก็คาดว่าจะมีผู้มีรายได้น้อยได้ประโยชน์จากโครงการประมาณ 4-5 ล้านราย
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 ช่วยเหลืออะไรบ้าง
มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยนั้น จะเน้นส่งเสริมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จนพ้นจากความยากจน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะมีสิทธิ์ได้รับวงเงินในบัตรคนจนเพิ่มด้วย โดยมีทั้งหมด 34 โครงการ แยกออกเป็น 4 ด้านหลัก ๆ คือ
1. การส่งเสริมให้มีงานทำ เช่น
- การจัดหางานในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงแรงงาน
- โครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพเพื่อผู้มีรายได้น้อย โดยกระทรวงพาณิชย์
- โครงการตลาดประชารัฐ โดยกระทรวงมหาดไทย
2. การฝึกอบรมอาชีพและการศึกษา เช่น
- โครงการฝึกอาชีพเร่งด่วนอเนกประสงค์ (ช่างชุมชน) โดยกระทรวงแรงงาน
- โครงการเพิ่มทักษะอาชีพแก่เกษตรกรผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- โครงการมหาวิทยาลัยประชาชน โดยธนาคารออมสิน
- โครงการให้ความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกรลูกค้าผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ เช่น
- โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- โครงการสินเชื่อผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- โครงการสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์
- โครงการสินเชื่อ Street Food โดยธนาคารออมสิน
4. การเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น
- โครงการให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
- โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์และกระทรวงการคลัง
- การออมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับแรงงานนอกระบบ โดยกองทุนการออมแห่งชาติ
อยากได้วงเงินบัตรคนจนเพิ่ม ต้องทำอย่างไร
อย่างที่บอกไป คือ ผู้มีรายได้น้อยที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 จะมีสิทธิ์ได้รับวงเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค ในบัตรคนจนเพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาท/ปี จากเดิมได้เดือนละ 300 บาท ปรับเพิ่มเป็น 500 บาท
- ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท/ปี จากเดิมได้เดือนละ 200 บาท ปรับเพิ่มเป็น 300 บาท
อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขว่า ผู้ถือบัตรคนจนจะต้องเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและฝึกอาชีพ จึงจะได้รับการปรับวงเงินเพิ่มในเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2561
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 ลงทะเบียนที่ไหน วันที่เท่าไหร่
สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการพัฒนาตนเอง สามารถมาลงทะเบียนได้กับคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประจำอำเภอ หรือ "ทีมหมอประชารัฐสุขใจ" ได้ตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมถึงตามสถานที่อื่น ๆ ตามประกาศในชุมชน เช่น ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เป็นต้น
แต่หากเป็นผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี ไม่ได้มาแจ้งความประสงค์ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ทีมหมอประชารัฐสุขใจจะลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ถึงบ้าน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-30 เมษายน 2561
ทั้งนี้ ผู้มีรายได้น้อยสามารถตรวจสิทธิ์เข้าร่วมมาตรการ และสถานที่ลงทะเบียนได้ที่นี่ >> ตรวจสอบสิทธิ์มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 ลงทะเบียนอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนโครงการนี้ จะต้องเตรียม 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ 3. แบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน
หลังจากนั้น ในเดือนเมษายน 2561 เจ้าหน้าที่จะสัมภาษณ์เป็นรายคนว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องการพัฒนาในด้านไหน และอยากทำอาชีพอะไรบ้าง เพื่อหาแนวทางส่งเสริมต่อไป โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการต้องยอมเปิดเผยข้อมูลบัญชีการเงินในธนาคารปี 2560 และปี 2561 เพื่อภาครัฐจะได้ติดตามรายได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งการลงทะเบียนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. ภาคบังคับ : ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท จำนวน 5.3 ล้านคน
ผู้ที่ถือบัตรคนจนในกลุ่มนี้ทุกคนต้องเข้าลงทะเบียนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และถ้าไม่มาพบทางเจ้าหน้าที่จะเดินทางไปพบถึงบ้าน ภายในเดือนเมษายน 2561 โดยผู้ร่วมโครงการจะได้รับเงินใส่เข้าไปในบัตรคนจนเพิ่มเป็นเดือนละ 500 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงธันวาคม 2561 ส่วนใครไม่เข้าร่วมโครงการ ก็จะไม่ได้เงินเพิ่มในแต่ละเดือน ซึ่งภาครัฐก็เชื่อว่าผลจากการเข้าร่วมโครงการนี้ จะทำให้ผู้มีรายได้น้อยพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ และมีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท/ปี
2. ภาคสมัครใจ : ผู้มีบัตรคนจนทั้ง 11.4 ล้านคน
ผู้มีบัตรคนจนที่มีรายได้เกินปีละ 30,000 บาท ที่มาลงทะเบียนในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เพื่อเข้าร่วมโครงการ จะได้รับเงินเพิ่มเป็นเดือนละ 300 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงธันวาคม 2561 และหากใครไม่ได้เข้าร่วมก็จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
สรุปแล้วจะพบว่าโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 นั้น ออกมาก็เพื่อเน้นให้ผู้มีรายได้น้อยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดีกว่าที่จะคอยรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว และใครที่ตอนนี้ถือบัตรคนจนในมืออยู่แล้ว ขอแนะนำให้ไปลงทะเบียนกับมาตรการนี้กันเถอะ เพราะนอกจากจะได้ช่องทางพัฒนาตนเอง มีงานทำแล้ว ยังได้รับวงเงินในบัตรคนจนเพิ่มอีกด้วย เรียกได้ว่าได้รับประโยชน์เต็ม ๆ ทั้งสองทางกันเลยทีเดียว
ภาพจาก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
เป็นข่าวดีของผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน กันอีกแล้ว เมื่อล่าสุดรัฐบาลได้ทุ่มงบกว่า 35,000 ล้านบาท อนุมัติโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 (บัตรคนจน เฟส 2) ซึ่งถือเป็นมาตรการต่อยอดมาจากบัตรคนจน 2560 ที่เป็นการลดภาระค่าครองชีพ ทั้งสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นและค่าโดยสารต่าง ๆ ทว่า...โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 ที่กำลังจะออกมานั้น จะมาช่วยเหลืออะไรเพิ่มเติมบ้าง แล้วมีรายละเอียดอะไรที่จำเป็นต้องรู้หรือเปล่า มาเช็กไปพร้อม ๆ กันเลย
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย บัตรคนจน เฟส 2 คืออะไร
โครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 เป็นมาตรการที่ต่อยอดมาจากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2560 เพื่อให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ที่ถือบัตรคนจน โดยมีเป้าหมายให้ผู้มีรายได้น้อยได้พัฒนาตนเองให้พ้นจากความยากจน ด้วยการมีงานทำ เข้าถึงแหล่งเงินทุน และสิ่งจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ต่างจากมาตรการในระยะแรกที่เน้นให้ความช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพเพียงอย่างเดียว
สำหรับมาตรการในเฟส 2 นี้ จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่เคยลงทะเบียนโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ 2560 และได้สิทธิ์รับบัตรคนจนไปแล้ว ไม่ใช่เป็นการเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่แต่อย่างใด เพราะฉะนั้น คนที่จะมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ ต้องเป็นคนที่มีบัตรคนจนอยู่ในมือแล้วเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลก็คาดว่าจะมีผู้มีรายได้น้อยได้ประโยชน์จากโครงการประมาณ 4-5 ล้านราย
มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยนั้น จะเน้นส่งเสริมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จนพ้นจากความยากจน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะมีสิทธิ์ได้รับวงเงินในบัตรคนจนเพิ่มด้วย โดยมีทั้งหมด 34 โครงการ แยกออกเป็น 4 ด้านหลัก ๆ คือ
1. การส่งเสริมให้มีงานทำ เช่น
- การจัดหางานในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงแรงงาน
- โครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพเพื่อผู้มีรายได้น้อย โดยกระทรวงพาณิชย์
- โครงการตลาดประชารัฐ โดยกระทรวงมหาดไทย
2. การฝึกอบรมอาชีพและการศึกษา เช่น
- โครงการฝึกอาชีพเร่งด่วนอเนกประสงค์ (ช่างชุมชน) โดยกระทรวงแรงงาน
- โครงการเพิ่มทักษะอาชีพแก่เกษตรกรผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- โครงการมหาวิทยาลัยประชาชน โดยธนาคารออมสิน
- โครงการให้ความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกรลูกค้าผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ เช่น
- โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- โครงการสินเชื่อผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- โครงการสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์
- โครงการสินเชื่อ Street Food โดยธนาคารออมสิน
4. การเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น
- โครงการให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
- โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์และกระทรวงการคลัง
- การออมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับแรงงานนอกระบบ โดยกองทุนการออมแห่งชาติ
อย่างที่บอกไป คือ ผู้มีรายได้น้อยที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 จะมีสิทธิ์ได้รับวงเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค ในบัตรคนจนเพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาท/ปี จากเดิมได้เดือนละ 300 บาท ปรับเพิ่มเป็น 500 บาท
- ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท/ปี จากเดิมได้เดือนละ 200 บาท ปรับเพิ่มเป็น 300 บาท
อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขว่า ผู้ถือบัตรคนจนจะต้องเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและฝึกอาชีพ จึงจะได้รับการปรับวงเงินเพิ่มในเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2561
สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการพัฒนาตนเอง สามารถมาลงทะเบียนได้กับคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประจำอำเภอ หรือ "ทีมหมอประชารัฐสุขใจ" ได้ตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมถึงตามสถานที่อื่น ๆ ตามประกาศในชุมชน เช่น ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เป็นต้น
แต่หากเป็นผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี ไม่ได้มาแจ้งความประสงค์ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ทีมหมอประชารัฐสุขใจจะลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ถึงบ้าน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-30 เมษายน 2561
ทั้งนี้ ผู้มีรายได้น้อยสามารถตรวจสิทธิ์เข้าร่วมมาตรการ และสถานที่ลงทะเบียนได้ที่นี่ >> ตรวจสอบสิทธิ์มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนโครงการนี้ จะต้องเตรียม 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ 3. แบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน
หลังจากนั้น ในเดือนเมษายน 2561 เจ้าหน้าที่จะสัมภาษณ์เป็นรายคนว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องการพัฒนาในด้านไหน และอยากทำอาชีพอะไรบ้าง เพื่อหาแนวทางส่งเสริมต่อไป โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการต้องยอมเปิดเผยข้อมูลบัญชีการเงินในธนาคารปี 2560 และปี 2561 เพื่อภาครัฐจะได้ติดตามรายได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งการลงทะเบียนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. ภาคบังคับ : ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท จำนวน 5.3 ล้านคน
ผู้ที่ถือบัตรคนจนในกลุ่มนี้ทุกคนต้องเข้าลงทะเบียนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และถ้าไม่มาพบทางเจ้าหน้าที่จะเดินทางไปพบถึงบ้าน ภายในเดือนเมษายน 2561 โดยผู้ร่วมโครงการจะได้รับเงินใส่เข้าไปในบัตรคนจนเพิ่มเป็นเดือนละ 500 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงธันวาคม 2561 ส่วนใครไม่เข้าร่วมโครงการ ก็จะไม่ได้เงินเพิ่มในแต่ละเดือน ซึ่งภาครัฐก็เชื่อว่าผลจากการเข้าร่วมโครงการนี้ จะทำให้ผู้มีรายได้น้อยพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ และมีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท/ปี
2. ภาคสมัครใจ : ผู้มีบัตรคนจนทั้ง 11.4 ล้านคน
ผู้มีบัตรคนจนที่มีรายได้เกินปีละ 30,000 บาท ที่มาลงทะเบียนในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เพื่อเข้าร่วมโครงการ จะได้รับเงินเพิ่มเป็นเดือนละ 300 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงธันวาคม 2561 และหากใครไม่ได้เข้าร่วมก็จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
สรุปแล้วจะพบว่าโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 นั้น ออกมาก็เพื่อเน้นให้ผู้มีรายได้น้อยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดีกว่าที่จะคอยรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว และใครที่ตอนนี้ถือบัตรคนจนในมืออยู่แล้ว ขอแนะนำให้ไปลงทะเบียนกับมาตรการนี้กันเถอะ เพราะนอกจากจะได้ช่องทางพัฒนาตนเอง มีงานทำแล้ว ยังได้รับวงเงินในบัตรคนจนเพิ่มอีกด้วย เรียกได้ว่าได้รับประโยชน์เต็ม ๆ ทั้งสองทางกันเลยทีเดียว
ภาพจาก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง