สวัสดีแฟนข่าวชาวอัพยิ้มทุกท่านจ้า วันนี้น้องตะมุตะมิจะพาทุกท่านไปพบกับ
เรื่องราวชีวิตจริงของ หนุ่มใหญ่ชาวเนเธอแลนด์ ที่ตัวเองนั้นเป็นผู้ชาย
มีความเป็นชายทั้งชีวิตและจิตใจ แต่มีความชื่นชอบในการแต่งการเป็นหญิง
แต่ไม่ใช่หญิงธรรมดาค่ะท่านผู้ชม เป็นตุ๊กตาหญิง ฟังอย่างนี้อาจจะงงๆ
งั้นเราไปชมรายละเอียดพร้อมๆกันเลยจ้า ตามน้องตะมุตะมิมาทางนี้เลยHenk
หนุ่มใหญ่จากเมือง Arnhem ประเทศเนเธอแลนด์ ผู้ก่อตั้ง Female masking
สมาคมผู้ชื่นชอบการแต่งตัวเป็นตุ๊กตาหญิง
ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชายสูงวัยจากทั่วโลกที่หลงใหลการแต่งเป็นตุ๊กตาหญิง
นี่เห็นมั๊ยไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะเนี่ย มีผู้ร่วมสมาคมนี้อยู่ทั่วโลกเลย
ถึงแม้ว่า Henk จะชอบแต่งตัวเป็นตุ๊กตาหญิง แต่ชีวิตและจิตใจของเค้าก็ไม่ได้ชอบไม้ป่าเดียวกัน เพียงแต่เค้านั้นมีความสุขเวลาที่ได้ใส่ชุดตุ๊กตาหญิง นอกจากนี้ Henk ยังได้กล่าวว่าชุดตุ๊กตาหญิงของเค้านั้นมีมากกว่า 1,000 ชุด แต่ส่วนมากผู้คนเหล่านี้ไม่ค่อยแสดงตัวในชีวิตจริง จะมีก็แต่การติดต่อผ่านทางโลกโซเชียลเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้น เพราะถ้าเปิดเผยไปคนรอบข้างอาจจะไม่ยอมรับ
ครอสเดรสในต่างแดน
จากการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เราพบว่า “ครอสเดรส” มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก
และมันไม่ใช่เรื่องใหม่ ประวัติศาสตร์โลกบันทึกเรื่องราวของบุรุษที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าของสตรีเอาไว้ในหลายๆ แง่มุม เช่น ในปี 1629 เกิดกระแสแบนผู้หญิงในละครคาบูกิของญี่ปุ่น ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ตัวละครหญิงจึงถูกแสดงโดยผู้ชายแท้ๆ ทั้งสิ้น
หากจะให้ยกตัวอย่างประเทศที่วัฒนธรรมแต่งหญิงได้รับการเปิดเผยมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้คำว่า “โอโตะโคโนโกะ” (OTOKONOKO) เป็นศัพท์เฉพาะสำหรับการเรียกขานวัฒนธรรมแต่งหญิง
ในปัจจุบัน ที่ญี่ปุ่นมีการประกวดครอสเดรสอย่างจริงจัง แถมยังมี “ครอสเดรสคาเฟ่” ที่เป็นแหล่งหารายได้พิเศษของมนุษย์เงินเดือนหนุ่มๆ ด้วยการเป็นสาวเสิร์ฟในร้านแห่งนี้ ลูกค้าทั้งหญิงชายต่างก็พึงพอใจที่มีของสวยๆ งามๆ ให้ดู
กลับมาถึงเรื่องราวในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะไม่มีที่ให้แสดงตัวตนในที่สาธารณะแบบญี่ปุ่น แต่ก็ยังมีชุมชนเล็กๆ สำหรับพบปะพูดคุยกับคนที่มีรสนิยมเหมือนกัน
“เราเปิดกลุ่มใน Facebook และก็แชร์ประสบการณ์การแต่งตัว แชร์รูปภาพ หรือบางครั้งก็มีการจัดมีทติ้งกัน ทานข้าวกันที่ร้านอาหารโดยการเช่าห้องคาราโอเกะ คนที่แต่งหน้าเป็นก็จะแต่งหน้าให้กับคนอื่นๆ เหมือนมาแต่งตัว แต่งหน้า ถ่ายรูป ร้องเพลงกัน”
รู้จักตัวเองก่อนแต่งหญิง
อย่างที่บอกไปแล้วในตอนต้น รสนิยมชอบแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของผู้หญิงนั้นเป็นคนละเรื่องกับการเป็นกะเทย แต่ในความเข้าใจของคนทั่วไปมันมีความคาบเกี่ยวกันในหลายๆ ระดับ บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองเป็นกะเทย ทั้งที่อาจจะแค่ชอบแต่งตัวเป็นผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งจากประสบการณ์ของคุณเบิ้มแล้ว สามารถแบ่งได้หลายระดับ ดังนี้
1.ชอบเนื้อผ้าของกางเกงในผู้หญิง เพราะใส่สบายกว่ากางเกงในผู้ชาย
2.ชอบเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชนิดของผู้หญิง เช่น ส้นสูง แต่แค่ดู หรือแค่สัมผัส เห็นแล้วมีอารมณ์ทางเพศ
3.ชอบเอาเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชิ้นมาสวมใส่
5.ชายแต่งหญิง แบบแต่งให้เหมือน แต่งเพราะสวยดี คล้ายกับพวกคอสเพลย์
6.ชายแต่งหญิง แล้วมีอารมณ์ทางเพศชนิดที่ต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้ชาย (โดยคิดว่าตัวเองเป็นผู้หญิง) แต่เป็นชั่วคราว
7.ชายแต่งหญิง แต่ต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้หญิง
8.ชายแต่งหญิง แล้วต้องการเป็นผู้หญิงจริงๆ มีการกิน/ฉีดฮอร์โมน ผ่าตัด ฯลฯ
เท่าที่เห็น ณ เวลานี้ สังคมจะยอมรับกลุ่มที่ชอบแต่งคอสเพลย์ และกะเทยที่ก้าวข้ามความเป็นครอสเดรสไปแล้ว คือทำสรีระร่างกายให้เป็นผู้หญิงมากกว่า
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การก้าวข้ามความเป็นชายแต่งหญิงไปสู่ความต้องการเป็นผู้หญิงจริงๆ นี่แหละ ถ้าคนที่ไม่รู้อาจจะคิดว่าการที่ตัวเองชอบแต่งเป็นผู้หญิงนั้นเพราะตัวเองเป็นกะเทยทำให้ไปกินฮอร์โมนตอนอายุเยอะๆ ซึ่งมันไม่น่าจะดีเท่าไหร่” คุณเบิ้มกล่าว
และบางอย่าง เมื่อทำลงไปแล้วมันเรียกกลับคืนมาไม่ได้…
“ส่วนพวกที่ไปลักขโมยกางเกงในชาวบ้าน ผมไม่ถือว่าเป็นกลุ่มชายแต่งหญิงนะครับ เพราะพวกนั้นสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านและผิดกฎหมายด้วย”
การยอมรับจากคนรอบข้าง
หากสังคมยังไม่รับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างชายแต่งหญิงแต่ละประเภท ก็อาจจะคิดว่าแบบเหมารวมว่ามันแสดงถึงความโรคจิต หรือความผิดปกติทางเพศ แต่สำหรับครอสเดรสที่โชคดีหน่อยอาจจะมีคนใกล้ตัวที่เปิดใจยอมรับในความแปลกเล็กๆ นี้ได้ ดังเช่นภรรยาของคุณเบิ้ม ที่รู้เรื่องนี้เข้าโดยบังเอิญ
แต่ก่อนที่ภรรยาจะรู้เรื่องนี้ ตัวเขาเองก็อายเวลาที่จะไปซื้อเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์แต่งหญิง บางทีก็ต้องบอกว่าซื้อให้น้องบ้าง ซื้อให้แฟนบ้าง แต่ปัจจุบันก็สามารถเข้าไปเลือกซื้อเองได้แล้ว และบางทีภรรยาก็ช่วยเลือกให้ด้วย
“ทีแรกก็ไม่ได้ตั้งใจให้รู้หรอกครับ แต่ว่าผมถ่ายรูปเก็บไว้ในโทรศัพท์ ปกติเราจะไม่ค่อยไปยุ่งกับโทรศัพท์ของอีกฝ่าย พอดีวันนั้นภรรยาผมเอาโทรศัพท์ผมไปถ่ายรูปอะไรสักอย่าง แล้วเค้าก็กดดูรูปที่ถ่าย เลยไปเจอรูปที่ผมถ่ายไว้ลงเว็บ ภรรยาผมนั่งหัวเราะคิกๆ ผมก็สงสัยเลยเดินไปดู เขาจำได้ ขนาดผมเบลอหน้าแล้วนะ”
เหตุการณ์นั้นเองที่เป็นจุดเริ่มต้น ทางด้านภรรยาของคุณเบิ้มบอกว่ารสนิยมแบบนี้ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร และไม่ไปสำส่อนนอกบ้านก็พอแล้ว ในตอนแรกเธอก็เข้าใจเหมือนคนทั่วไปว่ามันคืออาการทางจิต แต่เมื่อสามีอธิบายให้ฟัง เธอก็เข้าใจ
“หลังจากนั้นเราก็ใช้ชุดร่วมกัน เพราะตัวพอๆ กัน ผมชอบชุดไหนผมก็ซื้อ เธอชอบชุดไหนก็ซื้อ บางทีผมก็ขอให้ภรรยาช่วยแต่งหน้าให้” คุณเบิ้มเล่าอย่างอารมณ์ดี
ถ้าแม้แต่คนใกล้ตัวยังไม่รู้สึกว่ารสนิยมของเขาเป็นปัญหา คนนอกอย่างเราก็อย่าไปตัดสินเลย
ก่อนจะจบการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ คุณเบิ้มกล่าวทิ้งท้ายเอาไว้ว่า “ผมไม่ใช่ผู้หญิงนะครับ ผมเป็นผู้ชาย แต่แค่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าผู้หญิงเฉยๆครับ”
นี่คือเรื่องจริง ไม่ได้ปลุกปั้นหรือปั่นกระแสแต่อย่างใด แต่ที่น้องตะมุตะมินำมาเสนอให้ทุกท่านได้เห็นนี้ ก็แค่อยากบอกว่า ผู้คนเหล่านี้มีจริงในโลกของเรา ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเพียงแค่มีบางท่านไม่อยากเปิดเผย เพราะกลัวคนรอบข้างไม่เข้าใจ อย่าลืมนะคะว่ารสยนิยม ความชอบ ความคลั่งไคล้ ของแตละคนไม่เหมือนกัน โปรดจงยอมรับในตัวตนของแต่ละคนด้วยนะคะ สำหรับวันนี้น้องตะมุตะมิขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ
ถึงแม้ว่า Henk จะชอบแต่งตัวเป็นตุ๊กตาหญิง แต่ชีวิตและจิตใจของเค้าก็ไม่ได้ชอบไม้ป่าเดียวกัน เพียงแต่เค้านั้นมีความสุขเวลาที่ได้ใส่ชุดตุ๊กตาหญิง นอกจากนี้ Henk ยังได้กล่าวว่าชุดตุ๊กตาหญิงของเค้านั้นมีมากกว่า 1,000 ชุด แต่ส่วนมากผู้คนเหล่านี้ไม่ค่อยแสดงตัวในชีวิตจริง จะมีก็แต่การติดต่อผ่านทางโลกโซเชียลเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเท่านั้น เพราะถ้าเปิดเผยไปคนรอบข้างอาจจะไม่ยอมรับ
ครอสเดรสในต่างแดน
จากการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เราพบว่า “ครอสเดรส” มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก
และมันไม่ใช่เรื่องใหม่ ประวัติศาสตร์โลกบันทึกเรื่องราวของบุรุษที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าของสตรีเอาไว้ในหลายๆ แง่มุม เช่น ในปี 1629 เกิดกระแสแบนผู้หญิงในละครคาบูกิของญี่ปุ่น ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ตัวละครหญิงจึงถูกแสดงโดยผู้ชายแท้ๆ ทั้งสิ้น
หากจะให้ยกตัวอย่างประเทศที่วัฒนธรรมแต่งหญิงได้รับการเปิดเผยมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้คำว่า “โอโตะโคโนโกะ” (OTOKONOKO) เป็นศัพท์เฉพาะสำหรับการเรียกขานวัฒนธรรมแต่งหญิง
ในปัจจุบัน ที่ญี่ปุ่นมีการประกวดครอสเดรสอย่างจริงจัง แถมยังมี “ครอสเดรสคาเฟ่” ที่เป็นแหล่งหารายได้พิเศษของมนุษย์เงินเดือนหนุ่มๆ ด้วยการเป็นสาวเสิร์ฟในร้านแห่งนี้ ลูกค้าทั้งหญิงชายต่างก็พึงพอใจที่มีของสวยๆ งามๆ ให้ดู
กลับมาถึงเรื่องราวในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะไม่มีที่ให้แสดงตัวตนในที่สาธารณะแบบญี่ปุ่น แต่ก็ยังมีชุมชนเล็กๆ สำหรับพบปะพูดคุยกับคนที่มีรสนิยมเหมือนกัน
“เราเปิดกลุ่มใน Facebook และก็แชร์ประสบการณ์การแต่งตัว แชร์รูปภาพ หรือบางครั้งก็มีการจัดมีทติ้งกัน ทานข้าวกันที่ร้านอาหารโดยการเช่าห้องคาราโอเกะ คนที่แต่งหน้าเป็นก็จะแต่งหน้าให้กับคนอื่นๆ เหมือนมาแต่งตัว แต่งหน้า ถ่ายรูป ร้องเพลงกัน”
รู้จักตัวเองก่อนแต่งหญิง
อย่างที่บอกไปแล้วในตอนต้น รสนิยมชอบแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของผู้หญิงนั้นเป็นคนละเรื่องกับการเป็นกะเทย แต่ในความเข้าใจของคนทั่วไปมันมีความคาบเกี่ยวกันในหลายๆ ระดับ บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองเป็นกะเทย ทั้งที่อาจจะแค่ชอบแต่งตัวเป็นผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งจากประสบการณ์ของคุณเบิ้มแล้ว สามารถแบ่งได้หลายระดับ ดังนี้
1.ชอบเนื้อผ้าของกางเกงในผู้หญิง เพราะใส่สบายกว่ากางเกงในผู้ชาย
2.ชอบเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชนิดของผู้หญิง เช่น ส้นสูง แต่แค่ดู หรือแค่สัมผัส เห็นแล้วมีอารมณ์ทางเพศ
3.ชอบเอาเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชิ้นมาสวมใส่
5.ชายแต่งหญิง แบบแต่งให้เหมือน แต่งเพราะสวยดี คล้ายกับพวกคอสเพลย์
6.ชายแต่งหญิง แล้วมีอารมณ์ทางเพศชนิดที่ต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้ชาย (โดยคิดว่าตัวเองเป็นผู้หญิง) แต่เป็นชั่วคราว
7.ชายแต่งหญิง แต่ต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้หญิง
8.ชายแต่งหญิง แล้วต้องการเป็นผู้หญิงจริงๆ มีการกิน/ฉีดฮอร์โมน ผ่าตัด ฯลฯ
เท่าที่เห็น ณ เวลานี้ สังคมจะยอมรับกลุ่มที่ชอบแต่งคอสเพลย์ และกะเทยที่ก้าวข้ามความเป็นครอสเดรสไปแล้ว คือทำสรีระร่างกายให้เป็นผู้หญิงมากกว่า
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การก้าวข้ามความเป็นชายแต่งหญิงไปสู่ความต้องการเป็นผู้หญิงจริงๆ นี่แหละ ถ้าคนที่ไม่รู้อาจจะคิดว่าการที่ตัวเองชอบแต่งเป็นผู้หญิงนั้นเพราะตัวเองเป็นกะเทยทำให้ไปกินฮอร์โมนตอนอายุเยอะๆ ซึ่งมันไม่น่าจะดีเท่าไหร่” คุณเบิ้มกล่าว
และบางอย่าง เมื่อทำลงไปแล้วมันเรียกกลับคืนมาไม่ได้…
“ส่วนพวกที่ไปลักขโมยกางเกงในชาวบ้าน ผมไม่ถือว่าเป็นกลุ่มชายแต่งหญิงนะครับ เพราะพวกนั้นสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านและผิดกฎหมายด้วย”
การยอมรับจากคนรอบข้าง
หากสังคมยังไม่รับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างชายแต่งหญิงแต่ละประเภท ก็อาจจะคิดว่าแบบเหมารวมว่ามันแสดงถึงความโรคจิต หรือความผิดปกติทางเพศ แต่สำหรับครอสเดรสที่โชคดีหน่อยอาจจะมีคนใกล้ตัวที่เปิดใจยอมรับในความแปลกเล็กๆ นี้ได้ ดังเช่นภรรยาของคุณเบิ้ม ที่รู้เรื่องนี้เข้าโดยบังเอิญ
แต่ก่อนที่ภรรยาจะรู้เรื่องนี้ ตัวเขาเองก็อายเวลาที่จะไปซื้อเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์แต่งหญิง บางทีก็ต้องบอกว่าซื้อให้น้องบ้าง ซื้อให้แฟนบ้าง แต่ปัจจุบันก็สามารถเข้าไปเลือกซื้อเองได้แล้ว และบางทีภรรยาก็ช่วยเลือกให้ด้วย
“ทีแรกก็ไม่ได้ตั้งใจให้รู้หรอกครับ แต่ว่าผมถ่ายรูปเก็บไว้ในโทรศัพท์ ปกติเราจะไม่ค่อยไปยุ่งกับโทรศัพท์ของอีกฝ่าย พอดีวันนั้นภรรยาผมเอาโทรศัพท์ผมไปถ่ายรูปอะไรสักอย่าง แล้วเค้าก็กดดูรูปที่ถ่าย เลยไปเจอรูปที่ผมถ่ายไว้ลงเว็บ ภรรยาผมนั่งหัวเราะคิกๆ ผมก็สงสัยเลยเดินไปดู เขาจำได้ ขนาดผมเบลอหน้าแล้วนะ”
ชอบเเต่งเป็นตุ๊กตา
ภาพประกอบ
เหตุการณ์นั้นเองที่เป็นจุดเริ่มต้น ทางด้านภรรยาของคุณเบิ้มบอกว่ารสนิยมแบบนี้ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร และไม่ไปสำส่อนนอกบ้านก็พอแล้ว ในตอนแรกเธอก็เข้าใจเหมือนคนทั่วไปว่ามันคืออาการทางจิต แต่เมื่อสามีอธิบายให้ฟัง เธอก็เข้าใจ
“หลังจากนั้นเราก็ใช้ชุดร่วมกัน เพราะตัวพอๆ กัน ผมชอบชุดไหนผมก็ซื้อ เธอชอบชุดไหนก็ซื้อ บางทีผมก็ขอให้ภรรยาช่วยแต่งหน้าให้” คุณเบิ้มเล่าอย่างอารมณ์ดี
ถ้าแม้แต่คนใกล้ตัวยังไม่รู้สึกว่ารสนิยมของเขาเป็นปัญหา คนนอกอย่างเราก็อย่าไปตัดสินเลย
ก่อนจะจบการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ คุณเบิ้มกล่าวทิ้งท้ายเอาไว้ว่า “ผมไม่ใช่ผู้หญิงนะครับ ผมเป็นผู้ชาย แต่แค่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าผู้หญิงเฉยๆครับ”
นี่คือเรื่องจริง ไม่ได้ปลุกปั้นหรือปั่นกระแสแต่อย่างใด แต่ที่น้องตะมุตะมินำมาเสนอให้ทุกท่านได้เห็นนี้ ก็แค่อยากบอกว่า ผู้คนเหล่านี้มีจริงในโลกของเรา ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเพียงแค่มีบางท่านไม่อยากเปิดเผย เพราะกลัวคนรอบข้างไม่เข้าใจ อย่าลืมนะคะว่ารสยนิยม ความชอบ ความคลั่งไคล้ ของแตละคนไม่เหมือนกัน โปรดจงยอมรับในตัวตนของแต่ละคนด้วยนะคะ สำหรับวันนี้น้องตะมุตะมิขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ