ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรับเกณฑ์สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
บังคับใช้ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ได้วงเงินไม่เกิน 1.5 เท่า
พร้อมลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต เริ่มมีผล 1 กันยายน 2560
วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท. ได้กำหนดการปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ที่จะมีผลบังคับใช้กับผู้ขอมีบัตรเครดิตหรือผู้ขอสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหม่ พร้อมทั้งประกาศปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต โดยมีผลบังคับใช้กับผู้มีบัตรเครดิตทั้งรายเดิมและรายใหม่ และทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560
โดยมาตรการสินเชื่อบัตรเครดิต ได้กำหนดวงเงินให้มีความเหมาะสมขึ้น ดังนี้
- ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/เดือน วงเงินไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้
- รายได้ตั้งแต่ 30,000-50,000 บาท/เดือน วงเงินไม่เกิน 3 เท่า
- รายได้ตั้งแต่ 50,000 บาท/เดือน วงเงินไม่เกิน 5 เท่า
พร้อมทั้งได้ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลงเหลือ 18% จาก 20% ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ต้นทุนทางการเงินต่ำลง
ขณะที่มาตรการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ได้ปรับวงเงินสินเชื่อเหลือ 1.5 เท่าของรายได้ แก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/เดือน และได้รับวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลจากผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับไม่เกิน 3 ราย ส่วนผู้ที่มีรายได้เกิน 30,000 บาท/เดือน กำหนดวงเงินไม่เกิน 5 เท่า และไม่จำกัดจำนวนผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล โดยยังคงเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลจะเรียกเก็บได้ เพื่อให้สามารถให้บริการสินเชื่อแก่ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้
นอกจากนี้ ธปท. ได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ต้องให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภคในกรณีที่ไม่ต้องการให้ติดต่อเพื่อเสนอขายผลิตภัณฑ์ โดยต้องมีกระบวนการและดูแลให้เป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้า รวมถึงกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินที่ผิดพลาดของบัตรเครดิต ผู้ประกอบการจะต้องให้สิทธิทางเลือกแก่ผู้ถือบัตรเครดิตที่จะขอรับเงินคืนผ่านช่องทางอื่น นอกเหนือจากการคืนเงินเข้าบัญชีบัตรเครดิตด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท. ได้กำหนดการปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ที่จะมีผลบังคับใช้กับผู้ขอมีบัตรเครดิตหรือผู้ขอสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหม่ พร้อมทั้งประกาศปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต โดยมีผลบังคับใช้กับผู้มีบัตรเครดิตทั้งรายเดิมและรายใหม่ และทั้งหมดจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560
โดยมาตรการสินเชื่อบัตรเครดิต ได้กำหนดวงเงินให้มีความเหมาะสมขึ้น ดังนี้
- ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/เดือน วงเงินไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้
- รายได้ตั้งแต่ 30,000-50,000 บาท/เดือน วงเงินไม่เกิน 3 เท่า
- รายได้ตั้งแต่ 50,000 บาท/เดือน วงเงินไม่เกิน 5 เท่า
พร้อมทั้งได้ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลงเหลือ 18% จาก 20% ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ต้นทุนทางการเงินต่ำลง
ขณะที่มาตรการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ได้ปรับวงเงินสินเชื่อเหลือ 1.5 เท่าของรายได้ แก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/เดือน และได้รับวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลจากผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับไม่เกิน 3 ราย ส่วนผู้ที่มีรายได้เกิน 30,000 บาท/เดือน กำหนดวงเงินไม่เกิน 5 เท่า และไม่จำกัดจำนวนผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล โดยยังคงเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลจะเรียกเก็บได้ เพื่อให้สามารถให้บริการสินเชื่อแก่ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้
นอกจากนี้ ธปท. ได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ต้องให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภคในกรณีที่ไม่ต้องการให้ติดต่อเพื่อเสนอขายผลิตภัณฑ์ โดยต้องมีกระบวนการและดูแลให้เป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้า รวมถึงกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินที่ผิดพลาดของบัตรเครดิต ผู้ประกอบการจะต้องให้สิทธิทางเลือกแก่ผู้ถือบัตรเครดิตที่จะขอรับเงินคืนผ่านช่องทางอื่น นอกเหนือจากการคืนเงินเข้าบัญชีบัตรเครดิตด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก