โดยทางด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง สิงคโปร์ แถลงการณ์ว่า ศาสตราจารย์
Soo Han Sen พร้อมกับทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาราว 2 ปี
เพื่อค้นคว้าการเร่งปฏิกิริยาในตัวทำละลาย จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ
เปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นสารที่นำไปสร้างประโยชน์ได้ด้วยแสงอาทิตย์
ภายในระยะเวลา 6 วัน จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานนับร้อยปีเพื่อย่อยสลายตัวเอง
ศ.Soo Han Sen และทีมวิจัย
อาศัยพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เป็นตัวทำปฏิกิริยาในขั้นตอนการย่อยสลาย
ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาวานาเดียม เปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นกรดฟอร์มิก
ที่นำไปใช้เป็นสารกันบูดหรือส่วมผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
นอกจากนี้ยังนำไปเป็นเชื้อเพลิงในพลังงานทดแทนจำพวกยานพาหนะไฟฟ้า