ชาวราชบุรีไม่หวั่นโรค เก็บมูลค้างคาวขายมา 40ปี ตรวจโรคทุกปีไม่พบโรค

จากกรณี ดร.ทนพญ.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี นักเทคนิคการแพทย์ รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ได้สำรวจไวรัสที่พบในสัตว์ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2553-2562 โดย จ.ราชบุรี เป็น 1 ใน 9 จังหวัด ที่ได้ทำการสำรวจ และพบว่ามีค้างคาวสายพันธุ์มงกฎยอดสั้นเล็ก ซึ่งเป็นค้างคาว 1ใน 2 สายพันธุ์ ที่มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสโคโรน่าที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศจีน

        ถ้ำค้างคาว วัดเขาช่องพราน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี มีค้างคาวมากกว่า 3 ล้านตัว 17 สายพันธุ์ สร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้าน ทั้งในด้านการเกษตร และการท่องเที่ยว หล่อเลี้ยงชุมชนมาอย่างยาวนาน 

        ชาวบ้าน เปิดเผยว่า ตนทำอาชีพเก็บมูลค้างคาวมาแล้วกว่า 40 ปี โดยในการเข้าไปเก็บทุกครั้ง ตนและคนอื่นๆ จะมีการเตรียมตัว ทั้งในส่วนของผ้าคลุมศีรษะ ผ้าปิดจมูก สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่ถุงมือ สวมรองเท้าบูทอย่างมิดชิด หลังการใช้งานก็จะซักทำความสะอาด และแยกเก็บไม่ปะปนกับเสื้อผ้าทั่วไป และจะได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งผลการตรวจที่ผ่านมาก็ยังไม่พบความผิดปกติ 

          สำหรับตน ผูกพันธ์กับถ้ำค้างคาวเขาช่องพรานมาตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยเกิด เติบโต และเรียนที่วัดเขาช่องพราน รวมไปถึงเข้าไปช่วยเก็บมูลค้างคาวในถ้ำอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งก็ไม่เคยป่วยไข้หรือติดโรคอะไร โดยเมื่อกว่า 30 ปีก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านเชื่อกันว่าการกินค้างคาว ทั้งแบบกินค้างคาว และปรุงสุกหลายเมนู อาทิ ผัดกะเพรา ผัดเผ็ด ลาบ ด้วยมีความเชื่อว่าจะช่วยบำรุงร่างกาย

        แต่หลังจากหน่วยงานสาธารณสุขได้เข้ามาให้ความรู้ รวมไปถึงยุคสมัยเปลี่ยนไป อีกทั้งค้างคาวยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งมีบทลงโทษที่หนัก

ถ้ำค้างคาว 

           อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆ แหล่งที่อยู่ของค้างคาวก็ควรที่จะมีการป้องกันเป็นอย่างดี เพื่อสุขภาพของตัวเอง เพราะว่าสมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน โรคเยอะ อันตรายสุดๆ 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com