เตือน 12 วิธีป้องกันไฟช็อต-ดูด ช่วงหน้าฝน ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

หลายคนอาจลืมเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึงช่วงฤดูฝนคือปัญหาเรื่องไฟฟ้า โดยไฟช็อตจะเกิดขึ้นเมื่อไปสัมผัสกับแหล่งที่มีการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้าโดยตรง เนื่องจากร่างกายของมนุษย์ถือเป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อไปสัมผัสแหล่งพลังงานที่มีกระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ จึงส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเนื้อเยื่อเข้ามาในร่างกาย และเกิดอาการช็อตได้ ผู้ที่ถูกไฟช็อตอาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงแตกต่างกันไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งบาดแผลจากการถูกไฟช็อตจะทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อภายในร่างกายไหม้ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น รวมทั้งทำลายกล้ามเนื้อและสมอง  ทั้งนี้ ควรปิดการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟช็อตทุกครั้ง

ป้องกันไฟดูด

สาเหตุไฟช็อต
1.สัมผัสอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรงบริเวณที่กระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ ส่วนเด็กเล็กเกิดจากการกัดสายไฟหรือเอาเหล็กแหย่เต้าเสียบปลั๊กไฟ
2.อุปกรณ์ไฟฟ้าโดนน้ำหรือเปียกน้ำ
3.เครื่องไฟฟ้าทำงานผิดปกติ หรือเกิดความขัดข้องเสียหายขึ้นมา
4.ระบบไฟฟ้าเสื่อมสภาพ
5.หากถูกฟ้าผ่า ก็อาจได้รับบาดเจ็บเหมือนถูกไฟช็อตได้
6.เกิดประกายไฟหรือไฟฟ้ารั่ว

ป้องกันไฟดูด

ป้องกันไฟดูด
ซึ่งในวันนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ก็มีคำแนะนำดี ๆ ไว้เตรียมรับมือด้วย 12 วิธีลดความเสี่ยงและป้องกันอันตราย จากเหตุไฟฟ้าดูดในช่วงฤดูฝน

ป้องกันไฟดูด

การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า
      1. การช่วยเหลือและปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด รีบตัดกระแสไฟฟ้า โดยปิดสวิตช์ ปลดปลั๊กไฟ และสับคัตเอาท์ หากไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้ ให้นำวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง หนังสือพิมพ์ เป็นต้น เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูด หรือใช้เชือกคล้องและดันตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูดให้หลุดจากบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยผู้เข้าช่วยเหลือต้องยืนบนพื้นแห้ง และสวมรองเท้ายาง
     2. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร ควรเลือกใช้แบบกันน้ำและมีฝาครอบปิด เพื่อป้องกันฝนสาดและน้ำรั่วซึม
     3. ห้ามใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสผู้ถูกไฟฟ้าดูด ในขณะที่ยังไม่ตัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงห้ามช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ เพราะจะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด

ป้องกันไฟดูด

     4. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด อาทิ เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงหรือวัสดุหุ้มเป็นโลหะ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ไมโครเวฟ ตู้น้ำดื่ม เป็นต้น ควรติดตั้งสายดิน หากกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าจะไหลลงสู่พื้นดิน จึงช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด
      5. โค่นต้นไม้และตัดแต่งกิ่งไม้ที่พาดแนวสายไฟฟ้า เพื่อป้องกันพายุลมแรงพัดต้นไม้ล้มทับ หรือเกี่ยวสายไฟขาด ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่บริเวณดังกล่าว
      6. ปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด ด้วยการปั๊มหัวใจ โดยจัดให้ผู้ถูกไฟฟ้าดูดนอนบนพื้นราบ จากนั้นทำการผายปอดและนวดหัวใจ จนกว่าผู้ถูกไฟฟ้าดูดจะหายใจเองได้ พร้อมรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน และการเรียนรู้วิธีใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า ทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปด้วยความปลอดภัย

ป้องกันไฟดูด


วิธีลดเสี่ยงอันตรายจากไฟฟ้าดูด
ป้องกันไฟดูด

          1. กรณีน้ำท่วมบ้าน ให้ตัดกระแสไฟฟ้า ปิดสวิตช์ไฟ ขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นที่สูง พ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย
          2. ไม่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย
          3. ไม่ซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง เนื่องจากความไม่ชำนาญ และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
          4. ห้ามใช้หรือสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนบนที่ชื้นแฉะ เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว จะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด
          5. เพิ่มความระมัดระวังในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และอยู่บริเวณพื้นที่ชื้นแฉะเป็นพิเศษ เช่น ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว จะทำให้ได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย ควรสวมรองเท้าทุกครั้งที่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่ชื้นแฉะ จะช่วยป้องกันไฟฟ้าดูด
          6. ตรวจสอบ อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่อยู่ภายนอกอาคารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น กริ่ง โคมไฟ เป็นต้น ควรเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดกันน้ำ รวมถึงติดตั้งสายดิน และเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ถูกไฟฟ้าดูด

ในกรณีที่โดนไฟดูดเอง



1.ตั้งสติ รวบรวมแรงทั้งหมดที่มี กระชากมือ แขน ขา หรืออวัยวะที่สัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดไฟดูดออกมาให้ได้มากที่สุด ถ้าไม่ได้ผลให้ตะโกนให้คนอื่นช่วย

2.อย่าให้คนที่เข้ามาช่วยสัมผัสกับร่างกายของคุณโดยตรงเด็ดขาด จับแขน จับขาไม่ได้เลย

 ป้องกันไฟดูด

3.หากมองหาสิ่งที่ไม่นำไฟฟ้าได้ เช่น ไม้ ผ้า พลาสติก ให้ตะโกนบอกผู้อื่นให้นำมาช่วยเขี่ยสายไฟ ตัวนำไฟฟ้าออก หรือฉุดกระชากร่างของตนเองออกอย่างรวดเร็ว

 ป้องกันไฟดูด
4.รอการช่วยเหลือจากผู้อื่นอย่างมีสติ หากผู้ที่มาช่วยทำอะไรไม่ถูก ให้โทรหา 1669 สายด่วนกู้ชีพ
ป้องกันไฟดูด

ในกรณีที่เข้าไปช่วยผู้ที่ถูกไฟดูด
1.อย่าผลีผลามเข้าไปช่วยด้วยการสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของเขาโดยตรง รักษาระยะห่างกับผู้ที่โดนไฟดูดก่อนเล็กน้อย สังเกตให้ดีว่าต้นตอของไฟฟ้าที่รั่วออกมาจนดูดเขานั้นมาจากไหน แล้วอยาห่างจากบริเวณนั้นก่อน

2.หากอยู่ในบ้าน ไม่ได้ใส่รองเท้า ให้วิ่งไปหารองเท้ามาใส่ก่อน อย่าให้เท้าอยู่ติดพื้น หากไม่มีรองเท้า ให้ยืนบนผ้าหนาๆ กองหนังสือ กล่องไม้ ลังกระดาษ ได้เช่นกัน

3.มองหาสิ่งของที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้า กระดาษแข็ง ด้ามพลาสติก สายยาง ถุงมือยางหนาๆ เชือก (ทุกอย่างต้องแห้ง ไม่เปียกน้ำ) สามารถใช้ของเหล่านี้เขี่ยเอาสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโดนไฟดูดออกไปจากร่างของผู้ป่วยได้ เช่น เขี่ยเอาสายไฟออก เขี่ยมือ แขน หรือ เท้าออกจากบริเวณที่มีไฟดูด เป็นต้น หรือหากผู้ป่วยโดนไฟดูดทั้งร่าง ให้ใช้ผ้าแห้งพันมือหนาๆ แล้วผลักหรือฉุด กระชากผู้ป่วยออกมาแรงๆ อย่างรวดเร็ว (ต้องสวมรองเท้าอยู่ด้วยนะ)

 ป้องกันไฟดูด

4.หากจะเลือกช่วยด้วยการถีบ สามารถทำได้ แต่บริเวณข้างๆ ผู้ที่ถูกไฟดูดต้องมีพื้นที่โล่งๆ ให้ผู้ป่วยล้มตัวลงไปโดยไม่เกิดบาดแผลเจ็บตัวมากด้วย ถ้าจะถีบให้บอกผู้ป่วยด้วยวาจาก่อน แล้วค่อยถีบช่วงก้นหรือสะโพกเร็วๆ แรงพอประมาณ เอาให้หลุดออกมาจากบริเวณนั้นทั้งตัวให้ได้ในครั้งเดียว แต่หากเป็นไปได้ให้เลี่ยงไปใช้วิธีในข้อ 3 เพราะวิธีนี้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บเพิ่มเติม

5.ในกรณีที่พบผู้ป่วยถูกไฟดูดในบริเวณที่เสี่ยงเกินไป เช่น ในห้องน้ำที่พื้นเปียกชุ่ม ให้วิ่งหาตู้จ่ายไฟภายในบ้าน ที่กล่องเซอร์กิต เบรกเกอร์ หรือกล่องฟิวส์ เปิดกล่องขึ้นมา มองหาบล็อกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งจะมีที่จับ และอยู่ด้านบนสุดของกล่องฟิวส์ คว้าที่จับแล้วสับไปอีกด้านหนึ่ง เหมือนสับสวิตช์ไฟฟ้า ลองเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อทดสอบว่าตัดไฟแล้วจริงหรือไม่ แล้วค่อยวิ่งไปหาผู้ป่วย

6.ในกรณีที่ผู้ป่วยถูกไฟดูดในบริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูง ควรโทรแจ้งการไฟฟ้าให้เข้ามาดูแลจะดีกว่า (สามารถโทรแจ้งสายด่วนกู้ชีพ 1669 หลังจากนั้นด้วย)

 ป้องกันไฟดูด
7.เมื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้แล้ว ควรตรวจดูว่าเขาหรือยังยังมีสติมากน้อยแค่ไหน ถ้ายังมีสติครบถ้วนให้นอนพัก ตรวจร่างกายคร่าวๆ ว่ามีบาดแผลส่วนไหนร้ายแรงหรือไม่ ส่วนมากอาจมีผมร่วง รอยแดงเป็นจ้ำๆ ตามแขนขา ลำตัว แผ่นหลัง หากสวมสร้อยคอที่ทำจากเงิน ทองแดง ทองคำ อาจมีรอยไหม้ และที่ฝ่าเท้าอาจมีรอยเหมือนไฟไหม้เช่นกัน

8.หากบาดแผลไม่ใหญ่มากให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่หากหมดสติให้รีบโทรแจ้ง 1669 ระหว่างนั้นหากผู้ป่วยไม่หายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้รีบทำ CPR โดยด่วน
ป้องกันไฟดูด

สิ่งที่ต้องมีให้มากที่สุด คือ สติ และความรู้พื้นฐานในเรื่องของกระแสไฟ ตัวนำไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินเช่นนี้ อย่างไรก็ดีเราควรตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้ปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่วให่มากที่สุด หากอยู่นอกบ้านก็ควรสังเกตรอบข้างให้ดีก่อนจะสัมผัสกับอะไร หากต้องสัมผัสที่จับอะไรที่เดาว่าทำมาจากโลหะ ให้ลองเอาหลังมือแตะเบาๆ ดูก่อนแล้วค่อยจับ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการถูกไฟดูดได้ นี่อาจจะเป็นแนวทางในการป้องกันไฟฟ้าดูเพื่อความปลอดภัยในช่วงฝนตก ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเราได้เป็นอย่างดี  เราหวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านเป็นอย่างมาก

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย, http://design.drr.go.th