สังเกตตัวเองด่วน หากพบ ก้อนนูนตรงข้อมือ ห้ามนวดเด็ดขาด แนะวิธีรักษาทีถูกต้อง หายได้ในพริบตา

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )

มันเกิดขึ้นได้อย่างไร…มาดูกัน

เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ที่พบได้บ่อยที่สุดของบริเวณมือและข้อมือ โดยมี

– ผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อ หรือ เยื่อหุ้มเส้นเอ็น

– ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่

-ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือ

ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ หลังข้อมือ และ ด้านหน้าของข้อมือ บริเวณใกล้ ๆ กับโคนนิ้วหัวแม่มือ

สาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ในผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติ การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก หรือ อาจจะ เป็นผลจากการทำงานโดยเฉพาะงานที่ต้องมีการกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ
พบบ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 – 40 ปี

อาการ

มีก้อนนูนขึ้นมา ลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเมื่อย หรือปวดข้อมือบ้างเล็กน้อย เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ

ถ้ากระดกข้อมือขึ้น หรือ งอข้อมือลง จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าก้อนทางด้านหลังข้อมือ เมื่อกระดกข้อมือขึ้น ขนาดก้อนจะเล็กลงหรือคลำไม่ได้ แต่ถ้างอข้อมือลง ก็จะโตขึ้น และแข็งมากขึ้น เป็นต้น ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือ เป็นปี จึงจะผิดสังเกต

แนวทางรักษาในทางปัจจุบัน

1. วิธีไม่ผ่าตัด

ในรายที่ก้อนใหญ่แต่ผู้ป่วยไม่มีอาการและไม่กังวล ก็อาจปล่อยไว้โดยไม่ต้องผ่าออก เพราะก้อนถุงน้ำนี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายและไม่กลายเป็นเนื้องอกร้ายแรง

ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่และมีอาการปวด ก็ควรลดการใช้ข้อมือ ให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ สักพักอาการปวดมักจะดีขึ้น ถ้ามีอาการปวดมากอาจจะรับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อมือ หรือ ใส่เฝือกอ่อนประมาณ 1 สัปดาห์

2. วิธีกดทำให้ก้อนแตก หรือ วิธีเจาะดูดน้ำในก้อนออก

ถ้าก้อนมีขนาดเล็ก ๆ ก็อาจกดให้ก้อนแตกออก แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ก็ควรใช้วิธีใช้เข็มเจาะก้อนแล้วดูดน้ำที่อยู่ภายในก้อนออก อาจจะฉีดยาสเตียรอยด์ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อก้อนแตกหรือเมื่อดูดน้ำในก้อนออก ก้อนก็ยุบหายไป

แต่วิธีนี้มีโอกาสที่จะเกิดก้อนซ้ำขึ้นมาใหม่ ประมาณ 35 – 70 %

3. วิธีผ่าตัด

แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วก็เลาะเอาก้อนออก ถ้ามีหลายก้อนก็จะต้องผ่าตัดเอาก้อนออกให้หมด ในกรณีที่ช่องต่อเข้าไปในข้อมือมีขนาดใหญ่ ก็จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อมือบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อ มิฉะนั้นจะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำอีกได้ ถ้ารักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะมีโอกาสเป็นซ้ำประมาณ 5 – 15 %

การดูแลหลังผ่าตัด

– หลังผ่าตัดพันผ้าและใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ไว้ 10 – 14 วัน

– ยกแขนสูง กำนิ้วมือสลับกับเหยียดนิ้วมือบ่อย ๆ เพื่อลดอาการบวม

– เริ่มทำแผลในวันที่สองหลังการผ่าตัด แล้วทำแผลวันละครั้งจนถึงวันตัดไหม ( ประมาณ 7-10 วันหลังผ่าตัด )

หรือจะใช้วิธีตามคลิปต่อไปนี้

แต่ทางที่ดี ไม่อยากทนเจ็บจะทำตามวิธีข้างต้นก็ได้นะ

ขอขอบคุณคลิปจาก fanatic278

ขอบคุณที่มา เฟซบุ๊ก ภัทรเวชสยาม รุ่น7 / siamnews

Related Posts :

  • วิธีทำ วุ้นกะทิขนมหวานแบบไทย ๆ เมนูวุ้นกรอบ ๆ เคี้ยวกรุบ ๆ หวานละมุนชวนให้กินเพลิน อีกหนึ่งขนมไทย ๆ ที่หาซื้อกินได้ง่าย แต่ทำเองก็ง่ายไม่แพ้กันวุ้นกะทิ อีก… Read More...
  • วิธีทำ เปาะเปี๊ยะกุ้งกรอบส่วนผสมและสัดส่วน1. กุ้งสด 200 กรัม2. แป้งเปาะเปี๊ยะ3. รากผักชี 2 – 3 ราก4. พริกไทย ¼ ช้อนชา5. เกลือ เล็กน้อย6. ไข่ไก่ 1 ฟอง7. ซีอิ๊วขาว 1 ½… Read More...
  • วิธีทำ แกงเผ็ดปลาย่างส่วนผสมปลาดุกย่าง(แกะเฉพาะเนื้อ) 1 ตัวสับปะรดหั่นชิ้นพอคำ 1½ ถ้วยมะเขือเทศลูกเล็กผ่าครึ่ง 1 ถ้วยน้ำพริกแกงเผ็ดสำเร็จรูป ¼ ถ้วยกะทิธัญพืช 3 ถ… Read More...
  • วิธีทำ ก๋วยเตี๋ยวม้วนทรงเครื่องส่วนผสมก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ทั้งแผ่น (แบบยังไม่หั่น) 500 กรัมกุ้งชีแฮ้ 10 ตัวเนื้อหมูบดละเอียด 100 กรัมเต้าหู้แข็ง 1 แผ่นผักกาดหอม 2 ต้นใบโหระพ… Read More...
  • วิธีทำ ห่อหมกกุ้ง สูตรสุขภาพใช้น้ำเต้าหู้แทนกะทิห่อหมกกุ้งสูตรเพื่อสุขภาพนี้มาจาก นิตยสารชีวจิต ซึ่งอาจจะทำให้ใครหลายคนสงสัยว่า ห่อหมกจะเป็นเมนูเพื่อสุขภาพได้อย่างไร ? คำตอบก็คือ ห่อหมกสูต… Read More...