Home »
Uncategories »
ผู้เชี่ยวชาญม.มหิดลเตือน ผัก 5 อย่างนี้ ห้ามกินดิบเด็ดขาด!!
ผู้เชี่ยวชาญม.มหิดลเตือน ผัก 5 อย่างนี้ ห้ามกินดิบเด็ดขาด!!
เชื่อว่าหลานคนคิดว่า “ผักสด” ย่อมดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว
เพราะคุณค่าทางสารอาหารอยู่ครบ ไม่สูญเสียไประหว่างทำอาหารผ่านความร้อน
แต่รู้หรือไม่ว่าก็ยังมี ผักสด ผักดิบ
ที่ไม่เหมาะสำหรับบางคนที่อาจมีปัญหาสุขภาพในบางด้าน หรือผักสดบางชนิด
วันนี้เราขอแนะนำ ผักที่ห้ามทานดิบ 5 ชนิด
เพราะอาจมีอันตรายแฝงในแบบที่เราไม่ทันคาดคิด มีอะไรบ้างไปดูกันเลย
ผศ.ดร. ชนิพรรณ บุครยี่
จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับผัก 5
ชนิดที่ไม่ควรนำมากินแบบดิบๆเป็นอันขาด
ซึ่งมันอาจไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคบางโรคอยู่แล้ว
เรากันเลยว่ามีผักชนิดใดบ้าง
1. ถั่วงอก กับเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน
ถั่วงอกดิบพบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียอย่าง ซาลโมเนลลา หรืออีโคไล
ซึ่งไม่ใช่แค่บ้านเราเท่านั้น
ที่ต่างประเทศก็พบการปนเปื้อนของเชื้อโรคเช่นกัน
เมื่อทำการเพาะถั่วงอก ความชื้นและอุณหภูมิของถั่วงอกในการเจริญเติบโต เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเช่นเดียวกัน
แต่หากเรานำมาปรุงผ่านความร้อน เชื้อเหล่านี้ก็จะถูกทำลาย เราจึงสามารถทานถั่วงอกได้ปลอดภัยมากขึ้น
2. กะหล่ำ กับสารกอยโตรเจน
คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับไฮโปไทรอยด์
หรือการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ หากรับประทานผักที่มีกอยโตรเจน
เช่น กะหล่ำปลี หรือกะหล่ำดอก สารกอยโตรเจน
จะเข้าไปยับยั้งการดูดซึมไอโอดีน
ยิ่งทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้องลงไปกว่าเดิมอีก
ดังนั้นควรทานผักเหล่านี้โดยทำไปปรุงให้ผ่านความร้อนจะดีกว่า
แต่คนปกติทานได้ไม่มีปัญหา จะมีเรื่องกังวลแค่สารกำจัดศัตรูพืชและแมลง
ที่อาจตกค้างได้เท่านั้น อาจจะต้องล้างให้สะอาด โดยแยกออกมาเป็นใบๆ ก้านๆ
3. หน่อไม้ และมันต่างๆ กับสารไซยาไนด์
มันฝรั่ง มันสำปะหลัง และหน่อไม้ดิบ
อาจมีสารไซยาไนด์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตได้
สารไซยาไนด์จะสลายหายไปได้ ต้องผ่านความร้อนโดยการต้มนานมากกว่า 10
นาทีขึ้นไป
4. ถั่วฝักยาว กับสารปนเปื้อน
บางคนอาจเคยมีอาการท้องอืดหลังทานถั่วฝักยาวดิบ
อาจเป็นที่ระบบลำไส้ของแต่ละคนมากกว่า แต่เรื่องที่ต้องระมัดระวังจริงๆ คือ
ถั่วฝักยาว เป็นกลุ่มพืชที่มีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชสูง
ซึ่งอาจทำให้ตัวถั่วฝักยาวเองดูดซึมสารเหล่านั้นเข้าไปด้วย
ปกติสารเหล่านี้จะต้องใช้เวลาจนกว่าจะสลายไปราวๆ 7 วัน
แต่กว่าจะถึงมือเรา เราไม่อาจทราบได้ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไรแล้ว
หากถั่วฝักยาวมารับประทานเอง ควรล้างให้สะอาด เอามือถูถั่วฝักยาวซ้ำๆ
และอาจต้องมีการแช่น้ำทิ้งไว้ด้วย
เพราะเป็นพืชที่มีการดูดซึมสารพิษตกค้างจากยากำจัดศัตรูพืชค่อนข้างมาก
5. ผักโขม กับกรดออกซาลิก
กรดออกซาลิกในผักโขม
อาจเข้าไปขัดขวางกระบวนการทางร่างกายที่จะดึงเอกแคลเซียม และธาตุเหล็กไปใช้
แม้ว่าเราจะทานอาหารที่มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก
แต่หากเราทานผักโขมเข้าไปด้วย อาจทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม
และธาตุเหล็กได้น้อยลง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงในการทานพร้อมกัน
ผักเหล่านี้ที่เราได้แนะนำกัน
ส่วนมากเราจะรู้อยู่แล้วโดยความนิยมในการทานผัก
แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าไม่ควรทานดิบเพราะอะไร เมื่อมีความรู้แบบนี้แล้ว
ก็ควรหลีกเลี่ยงกันนะคะโดยผักเหล่านี้ไม่ใช่ผักต้องห้าม
แต่ควรทานแบบดิบได้ในปริมาณที่จำกัด
แต่เพื่อความปลอดภัยและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ก็ควรนำมาปรุงให้สุกก่อนทานนะคะ
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, thaijobsgov.com