วิธีทำสาวมะละกอให้ต้นเตี๊ยและลูกดก
หลายคนยังไม่ทราบว่าในการทำสาวต้นมะละกอมีข้อดีหลายประการ อาทิ
ได้ลักษณะและคุณภาพผลเหมือนต้นแม่พันธุ์เดิม ไม่ต้องปลูกมะละกอใหม่ทุกปี
ช่วยให้เก็บผลผลิตได้ง่าย
เนื่องจากต้นมะละกอจะเตี้ยเหมือนกับเริ่มต้นปลูกใหม่ซึ่งจะส่งผลในเรื่องการจัดการแปลง
มีส่วนลดการระบาดของโรคและแมลงได้
เกษตรกรตัดต้นมะละกอทำสาวทุกปีจะตัดวงจรโรคและแมลงได้,
ที่สำคัญพบว่าต้นมะละกอที่มีการทำสาวทุกปีจะมีการติดดกเหมือนกับต้นมะละกอปลูกใหม่ซึ่งผิดกับต้นมะละกอที่ไม่เคยทำสาวเลยจะมีการออกดอกและติดผลน้อยลง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอในเชิงพาณิชย์ จะสามารถกำหนดการให้ผลผลิตด้วยวิธีการทำสาวกำหนดให้ต้นมะละกอมีผลผลิตขายได้ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยมาจนถึงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเกษตรกรได้เก็บผลผลิตมะละกอรุ่นแรกไปแล้ว (คอแรก) ควรจะทำสาวด้วยการตัดต้นมะละกอแล้วเลี้ยงยอดใหม่ ซึ่งหลังจากตัดต้นไปแล้วเพียง 3 เดือน
ยอดใหม่ที่แตกออกมาจะเริ่มออกดอกและติดผลตรงตามสายพันธุ์เดิมและเก็บผลมะละกอดิบได้ในเดือนที่ 4 หลังจากตัดต้น เทคนิคในการทำสาวให้ตัดต้นมะละกอให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร (เผื่อลำต้นมะละกอจะต้องผุเปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบ) มีเกษตรกรหลายรายมักจะเข้าใจผิดด้วยการเอาถุงพลาสติกมาครอบต้นส่วนที่ตัดเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นเน่า วิธีการนี้ไม่ถูกต้อง
การเอาถุงพลาสติกมาคลุมรอยแผลที่ตัดจะมีผลทำให้ลำต้นเน่ามากกว่า เนื่องจากน้ำที่ระเหยจากลำต้นจะไปเกาะติดที่พลาสติกจนขังเต็มอยู่ในลำต้น ไม่มีที่ระบายน้ำออกส่งผลให้ลำต้นเน่าในที่สุด แต่ถ้าปล่อยไว้ตามธรรมชาติถึงแม้จะมีฝนตกจนมีน้ำขัง น้ำจะแห้งหรือระเหยไปเองเพราะแผลจะโดนแดดโดยตรง แต่เกษตรกรจะต้องช่วยเจาะรูให้น้ำมีทางระบายออกจากลำต้นด้วย ในการทำสาวเพื่อจะให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดีควรทำในช่วงฤดูฝน หลังจากตัดต้นมะละกอเสร็จแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องทายาเชื้อราหรือปูนแดงบริเวณรอยแผล เนื่องจากธรรมชาติส่วนที่เป็นรอยแผลจะผุเปื่อยไปจนถึงบริเวณที่ยอดตาใหม่จะแตกออกมา
หลังจากตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวเสร็จเกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 หรือสูตรตัวหน้าสูง เช่น 32-10-10 และใส่ปุ๋ยคอกเก่าร่วมด้วย มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจะมียอดมะละกอแตกออกมาใหม่หลายยอดให้คัดเลือกยอดที่สมบูรณ์ที่สุดเหลือไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ยอดเจริญแข่งกัน
กิ่งที่เราไม่ต้องการให้ทำการการตอน เพื่อนำไปปลูกเป็นมะละกอต้นเตี๊ยต่อไป ข้อควรระวัง ห้ามใส่ปุ๋ยมาก หรือใส่บ่อยเกินไปเพราะจะทำให้รากและโคนเน่า ถ้าไม่เน่าก็จะทำให้ต้นมะละกออ่อนแอเกิดโรคใบหงิกได้ง่าย หรือเกิดโรคใบเหลืองและตายได้
ที่สำคัญพบว่าต้นมะละกอที่มีการทำสาวทุกปีจะมีการติดดกเหมือนกับต้นมะละกอปลูกใหม่ซึ่งผิดกับต้นมะละกอที่ไม่เคยทำสาวเลยจะมีการออกดอกและติดผลน้อยลง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอในเชิงพาณิชย์ จะสามารถกำหนดการให้ผลผลิตด้วยวิธีการทำสาวกำหนดให้ต้นมะละกอมีผลผลิตขายได้ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยมาจนถึงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเกษตรกรได้เก็บผลผลิตมะละกอรุ่นแรกไปแล้ว (คอแรก) ควรจะทำสาวด้วยการตัดต้นมะละกอแล้วเลี้ยงยอดใหม่ ซึ่งหลังจากตัดต้นไปแล้วเพียง 3 เดือน
ยอดใหม่ที่แตกออกมาจะเริ่มออกดอกและติดผลตรงตามสายพันธุ์เดิมและเก็บผลมะละกอดิบได้ในเดือนที่ 4 หลังจากตัดต้น เทคนิคในการทำสาวให้ตัดต้นมะละกอให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร (เผื่อลำต้นมะละกอจะต้องผุเปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบ) มีเกษตรกรหลายรายมักจะเข้าใจผิดด้วยการเอาถุงพลาสติกมาครอบต้นส่วนที่ตัดเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นเน่า วิธีการนี้ไม่ถูกต้อง
การเอาถุงพลาสติกมาคลุมรอยแผลที่ตัดจะมีผลทำให้ลำต้นเน่ามากกว่า เนื่องจากน้ำที่ระเหยจากลำต้นจะไปเกาะติดที่พลาสติกจนขังเต็มอยู่ในลำต้น ไม่มีที่ระบายน้ำออกส่งผลให้ลำต้นเน่าในที่สุด แต่ถ้าปล่อยไว้ตามธรรมชาติถึงแม้จะมีฝนตกจนมีน้ำขัง น้ำจะแห้งหรือระเหยไปเองเพราะแผลจะโดนแดดโดยตรง แต่เกษตรกรจะต้องช่วยเจาะรูให้น้ำมีทางระบายออกจากลำต้นด้วย ในการทำสาวเพื่อจะให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดีควรทำในช่วงฤดูฝน หลังจากตัดต้นมะละกอเสร็จแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องทายาเชื้อราหรือปูนแดงบริเวณรอยแผล เนื่องจากธรรมชาติส่วนที่เป็นรอยแผลจะผุเปื่อยไปจนถึงบริเวณที่ยอดตาใหม่จะแตกออกมา
หลังจากตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวเสร็จเกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 หรือสูตรตัวหน้าสูง เช่น 32-10-10 และใส่ปุ๋ยคอกเก่าร่วมด้วย มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจะมียอดมะละกอแตกออกมาใหม่หลายยอดให้คัดเลือกยอดที่สมบูรณ์ที่สุดเหลือไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ยอดเจริญแข่งกัน
กิ่งที่เราไม่ต้องการให้ทำการการตอน เพื่อนำไปปลูกเป็นมะละกอต้นเตี๊ยต่อไป ข้อควรระวัง ห้ามใส่ปุ๋ยมาก หรือใส่บ่อยเกินไปเพราะจะทำให้รากและโคนเน่า ถ้าไม่เน่าก็จะทำให้ต้นมะละกออ่อนแอเกิดโรคใบหงิกได้ง่าย หรือเกิดโรคใบเหลืองและตายได้