พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560
ประกาศแล้ว เพิ่มโทษปรับ 4-8 แสนบาทต่อคน
แรงงานผิดกฎหมายอยากลงทะเบียนให้ถูกต้อง รีบแจ้งคำขอไดัตั้งแต่ 24
กรกฎาคม-7 สิงหาคมนี้ ตรวจสอบรายละเอียดได้เลย
กลายเป็นผลกระทบลูกโซ่เป็นวงกว้างไปแล้ว สำหรับ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 หลังจากที่รัฐบาลประกาศออกมาเป็นกฎหมายไม่ทันไร ก็เกิดปรากฎการณ์แรงงานต่างด้าวจำนวนมากแห่เดินทางกลับประเทศ จนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องตัดสินใจใช้มาตรา 44 ยืดเวลาบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวออกไปก่อน 180 วัน หรือให้เริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคการผลิตต่าง ๆ ของประเทศ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีมากถึง 2.5 ล้านคน เป็นกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย 1.5 ล้านคน และยังมีกลุ่มที่ลักลอบเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งก็คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้ และคาดว่าจะกระทบต่อมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจของไทยกว่า 4.65 หมื่นล้านบาท หากแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ออกจากไทยไป โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม โรงแรม ภัตตาคาร และก่อสร้าง ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ทางกระทรวงแรงงาน ได้ออกประกาศกระทรวง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขออนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงาน ตาม พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ออกมา (คลิกอ่าน) เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ที่มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ทำงานแบบไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ก่อนที่ พ.ร.ก. ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2561
กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทราบกันว่าเงื่อนไขการขออนุญาตทำงาน และจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในปี 2560 เป็นอย่างไรบ้าง ต้องใช้เอกสารอะไร ค่าใช้จ่ายมาก-น้อยแค่ไหน และมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้าง รวมทั้งลูกจ้างเอง รีบไปดำเนินการให้ถูกต้องกัน โดยสามารถแบ่งแรงงานต่างด้าวได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ตามนี้
ภาพจาก YE AUNG THU / AFP
1. กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว กัมพูชา และเมียนมา ที่ทำงานกับนายจ้างอยู่แล้วแต่ไม่มีเอกสารอะไรเลย
สำหรับกลุ่มนี้ต้องบอกว่าเป็นกลุ่มที่ยังทำงานแบบผิดกฎหมายอยู่ ให้รีบไปดำเนินการทันทีเลย เพราะยังไม่มีทั้งเอกสารแสดงตน และใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถดำเนินได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ให้นายจ้างยื่นคำขอจ้างแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเปิดให้บริการในกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง และในต่างจังหวัดจำนวนจังหวัดละ 1 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม- 7 สิงหาคม 2560 ในเวลาราชการ ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งนายจ้างสามารถมายื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจผู้ทำการแทนก็ได้
- เจ้าหน้าที่จะออกใบรับคำขอ พร้อมนัดหมายให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวไปพบอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์ว่าเป็นลูกจ้างและทำงานกับนายจ้างจริง
- เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นลูกจ้าง นายจ้างจริง เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารรับรองการเดินทางไปนอกราชอาณาจักร เพื่อขอรับหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity)
- ให้แรงงานต่างด้าวนำหนังสือรับรองฯ เดินทางกลับประเทศต้นทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อขอรับเอกสารต่าง ๆ แต่หากกรณีเป็นสัญชาติเมียนมา สามารถไปจัดทำเอกสารในศูนย์ตรวจสัญชาติคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ได้ที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ระนอง ตาก และเชียงราย โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง
- เมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับเอกสารดังกล่าวแล้ว ให้ไปขอรับการตรวจลงตรา (Visa) ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่จะทำงานกับนายจ้าง
- ให้แรงงานต่างด้าวตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ในระหว่างเวลาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม
- นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวไปยื่นขออนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในเขตพื้นที่ตั้งสถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าว
เอกสาร และค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน
เอกสารที่ต้องใช้ในการดำเนินการจะมี
1. บัตรประชาชน หรือหนังสือใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลของนายจ้าง
2. ภาพถ่ายของแรงงานต่างด้าว ขนาด 1.5 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป
ส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินการรวมทั้งสิ้น 1,050 บาท ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา 500 บาท ค่ายื่นคำขอ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 450 บาท
2. กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ถือบัตรสีชมพู
โดยเป็นกลุ่มที่ผ่านการตรวจสัญชาติ ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และได้รับอนุญาตให้ทำงาน แต่ทำงานไม่ตรงกับตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานเดิม
สำหรับกลุ่มนี้สามารถไปยื่นคำขออนุญาตทำงานได้เลย โดยได้รับการยกเว้นตรวจสุขภาพ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในเขตพื้นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบัน มีค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขออยู่ที่ 100 บาท และมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานอีกปีละ 900 บาท
3. กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีหนังสือรับรองฯ แล้ว แต่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการตรวจลงตรา
กลุ่มนี้สามารถเข้าไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตทำงานได้เลยเช่นกัน
- แรงงานต่าวด้าวในกิจการทั่วไป สามารถไปยื่นคำขออนุญาตทำงานได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561
- แรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล หรือแปรรูปสัตว์น้ำ สามารถไปยื่นได้จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560
ทั้งนี้ สามารถยื่นได้ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบัน มีค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ปีละ 900 บาท
4. กลุ่มที่แรงงานต่างด้าวที่ต้องการเปลี่ยนนายจ้าง หรือเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน
ต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับใบอนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมายแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินการเปลี่ยนนายจ้าง หรือพื้นที่ทำงานของแรงงานต่างด้าวได้ ทั้งนี้ ให้เข้าไปเดินเรื่องได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบัน มีค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ปีละ 900 บาท
มีบทลงโทษอะไรบ้าง ? หากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย
แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีการจับปรับดำเนินคดี เนื่องจากอยู่ในช่วง 6 เดือน ตามคำสั่ง ม.44 แต่หลังจากวันที่ 1 มกราคม 2561 ไปแล้ว จะมีการดำเนินการตามกฎหมายทันทีกับนายจ้างและลูกจ้างที่ไม่ไปลงทะเบียนให้ถูกต้อง ซึ่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ได้เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น ดังนี้
- นายจ้างที่รับคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน
- นายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับ ไม่เกิน 4,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน
- คนต่างด้าวทำงานโดยไม่รับอนุญาตให้ทำงาน หรือทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คนต่างด้าวที่ทำงานจำเป็นและเร่งด่วน แต่ไม่แจ้งนายทะเบียนมีโทษปรับ ตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท
- คนต่างด้าว ทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
- ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 ถึง 10 ปี หรือปรับ ตั้งแต่ 600,000-1,000,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาพจาก YE AUNG THU / AFP
อาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ มีอะไรบ้าง ?
ถึงแม้นายจ้างและลูกจ้างจะดำเนินการลงทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแรงงานต่างด้าวที่ลงทะเบียนจะสามารถประกอบอาชีพได้ทุกอย่าง ซึ่งมีหลายอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำทั้งหมด 39 อาชีพด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น อาชีพกสิกรรรม, ขายของหน้าร้าน, งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี, ตัดผม ดัดผม หรืองานเสริมสวย, งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา และงานช่างฝีมือต่าง ๆ เป็นต้น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำได้ที่กระทรวงแรงงาน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา สามารถทำงานได้ 2 อาชีพ คือ งานกรรมกร และงานบ้าน
ได้ข้อมูลกันไปแล้วสำหรับทั้งนายจ้างและลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว ก็ให้รีบไปดำเนินการให้ถูกต้องตามเวลาสถานที่ที่กำหนดไว้ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาและทำงานกันได้อย่างมีความสุข สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถตรวจสอบรายละเอียด และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กระทรวงแรงงาน หรือติดต่อ Call Center โทร. 1546
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กระทรวงแรงงาน
อ่านรายละเอีดเพิ่มเติมจาก
กระทรวงแรงงาน
กลายเป็นผลกระทบลูกโซ่เป็นวงกว้างไปแล้ว สำหรับ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 หลังจากที่รัฐบาลประกาศออกมาเป็นกฎหมายไม่ทันไร ก็เกิดปรากฎการณ์แรงงานต่างด้าวจำนวนมากแห่เดินทางกลับประเทศ จนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องตัดสินใจใช้มาตรา 44 ยืดเวลาบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวออกไปก่อน 180 วัน หรือให้เริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคการผลิตต่าง ๆ ของประเทศ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีมากถึง 2.5 ล้านคน เป็นกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย 1.5 ล้านคน และยังมีกลุ่มที่ลักลอบเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งก็คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้ และคาดว่าจะกระทบต่อมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจของไทยกว่า 4.65 หมื่นล้านบาท หากแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ออกจากไทยไป โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม โรงแรม ภัตตาคาร และก่อสร้าง ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ทางกระทรวงแรงงาน ได้ออกประกาศกระทรวง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขออนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงาน ตาม พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ออกมา (คลิกอ่าน) เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ที่มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ทำงานแบบไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ก่อนที่ พ.ร.ก. ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2561
กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทราบกันว่าเงื่อนไขการขออนุญาตทำงาน และจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในปี 2560 เป็นอย่างไรบ้าง ต้องใช้เอกสารอะไร ค่าใช้จ่ายมาก-น้อยแค่ไหน และมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้าง รวมทั้งลูกจ้างเอง รีบไปดำเนินการให้ถูกต้องกัน โดยสามารถแบ่งแรงงานต่างด้าวได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ตามนี้
ภาพจาก YE AUNG THU / AFP
1. กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว กัมพูชา และเมียนมา ที่ทำงานกับนายจ้างอยู่แล้วแต่ไม่มีเอกสารอะไรเลย
สำหรับกลุ่มนี้ต้องบอกว่าเป็นกลุ่มที่ยังทำงานแบบผิดกฎหมายอยู่ ให้รีบไปดำเนินการทันทีเลย เพราะยังไม่มีทั้งเอกสารแสดงตน และใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถดำเนินได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ให้นายจ้างยื่นคำขอจ้างแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเปิดให้บริการในกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง และในต่างจังหวัดจำนวนจังหวัดละ 1 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม- 7 สิงหาคม 2560 ในเวลาราชการ ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งนายจ้างสามารถมายื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจผู้ทำการแทนก็ได้
- เจ้าหน้าที่จะออกใบรับคำขอ พร้อมนัดหมายให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวไปพบอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์ว่าเป็นลูกจ้างและทำงานกับนายจ้างจริง
- เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นลูกจ้าง นายจ้างจริง เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารรับรองการเดินทางไปนอกราชอาณาจักร เพื่อขอรับหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity)
- ให้แรงงานต่างด้าวนำหนังสือรับรองฯ เดินทางกลับประเทศต้นทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อขอรับเอกสารต่าง ๆ แต่หากกรณีเป็นสัญชาติเมียนมา สามารถไปจัดทำเอกสารในศูนย์ตรวจสัญชาติคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ได้ที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ระนอง ตาก และเชียงราย โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง
- เมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับเอกสารดังกล่าวแล้ว ให้ไปขอรับการตรวจลงตรา (Visa) ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่จะทำงานกับนายจ้าง
- ให้แรงงานต่างด้าวตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ในระหว่างเวลาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม
- นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวไปยื่นขออนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในเขตพื้นที่ตั้งสถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าว
เอกสาร และค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน
เอกสารที่ต้องใช้ในการดำเนินการจะมี
1. บัตรประชาชน หรือหนังสือใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลของนายจ้าง
2. ภาพถ่ายของแรงงานต่างด้าว ขนาด 1.5 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป
ส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินการรวมทั้งสิ้น 1,050 บาท ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา 500 บาท ค่ายื่นคำขอ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 450 บาท
โดยเป็นกลุ่มที่ผ่านการตรวจสัญชาติ ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และได้รับอนุญาตให้ทำงาน แต่ทำงานไม่ตรงกับตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานเดิม
สำหรับกลุ่มนี้สามารถไปยื่นคำขออนุญาตทำงานได้เลย โดยได้รับการยกเว้นตรวจสุขภาพ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในเขตพื้นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบัน มีค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขออยู่ที่ 100 บาท และมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานอีกปีละ 900 บาท
3. กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีหนังสือรับรองฯ แล้ว แต่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการตรวจลงตรา
กลุ่มนี้สามารถเข้าไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตทำงานได้เลยเช่นกัน
- แรงงานต่าวด้าวในกิจการทั่วไป สามารถไปยื่นคำขออนุญาตทำงานได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561
- แรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล หรือแปรรูปสัตว์น้ำ สามารถไปยื่นได้จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560
ทั้งนี้ สามารถยื่นได้ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบัน มีค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ปีละ 900 บาท
4. กลุ่มที่แรงงานต่างด้าวที่ต้องการเปลี่ยนนายจ้าง หรือเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน
ต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับใบอนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมายแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินการเปลี่ยนนายจ้าง หรือพื้นที่ทำงานของแรงงานต่างด้าวได้ ทั้งนี้ ให้เข้าไปเดินเรื่องได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบัน มีค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ปีละ 900 บาท
มีบทลงโทษอะไรบ้าง ? หากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย
แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีการจับปรับดำเนินคดี เนื่องจากอยู่ในช่วง 6 เดือน ตามคำสั่ง ม.44 แต่หลังจากวันที่ 1 มกราคม 2561 ไปแล้ว จะมีการดำเนินการตามกฎหมายทันทีกับนายจ้างและลูกจ้างที่ไม่ไปลงทะเบียนให้ถูกต้อง ซึ่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ได้เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น ดังนี้
- นายจ้างที่รับคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน
- นายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับ ไม่เกิน 4,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน
- คนต่างด้าวทำงานโดยไม่รับอนุญาตให้ทำงาน หรือทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คนต่างด้าวที่ทำงานจำเป็นและเร่งด่วน แต่ไม่แจ้งนายทะเบียนมีโทษปรับ ตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท
- คนต่างด้าว ทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
- ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 ถึง 10 ปี หรือปรับ ตั้งแต่ 600,000-1,000,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาพจาก YE AUNG THU / AFP
อาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ มีอะไรบ้าง ?
ถึงแม้นายจ้างและลูกจ้างจะดำเนินการลงทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแรงงานต่างด้าวที่ลงทะเบียนจะสามารถประกอบอาชีพได้ทุกอย่าง ซึ่งมีหลายอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำทั้งหมด 39 อาชีพด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น อาชีพกสิกรรรม, ขายของหน้าร้าน, งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี, ตัดผม ดัดผม หรืองานเสริมสวย, งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา และงานช่างฝีมือต่าง ๆ เป็นต้น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำได้ที่กระทรวงแรงงาน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้มีการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา สามารถทำงานได้ 2 อาชีพ คือ งานกรรมกร และงานบ้าน
ได้ข้อมูลกันไปแล้วสำหรับทั้งนายจ้างและลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว ก็ให้รีบไปดำเนินการให้ถูกต้องตามเวลาสถานที่ที่กำหนดไว้ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาและทำงานกันได้อย่างมีความสุข สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถตรวจสอบรายละเอียด และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กระทรวงแรงงาน หรือติดต่อ Call Center โทร. 1546
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กระทรวงแรงงาน
อ่านรายละเอีดเพิ่มเติมจาก
กระทรวงแรงงาน