โรคซึมเศร้า เราเป็นหรือไม่เป็น ? เช็กเบื้องต้นได้ง่าย ๆ จากแบบทดสอบของกรมสุขภาพจิต
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ เกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พันธุกรรม สารเสพติด หรือโรคทางกาย และปัจจัยด้านจิตสังคมและลักษณะนิสัย เช่น ความเครียด ความผิดหวัง การมองโลกในแง่ร้าย ส่งผลให้เกิดอาการท้อแท้ ง่วง ซึม หงุดหงิดง่าย รู้สึกเบื่อหน่าย มีอารมณ์เศร้า นอนหลับยาก ไม่ค่อยมีแรง ทำอะไรช้าลง อยู่ไม่นิ่ง รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่สามารถทำงานปกติได้ บางคนอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายตัวเองหรืออยากฆ่าตัวตายได้เลย โดยอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นอยู่นานถึงประมาณ 2 สัปดาห์
รู้ไหมว่า กรมสุขภาพจิตได้เคยสำรวจพบว่า ปัจจุบันมีคนไทยถึง 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ส่วนมากเป็นวัยทำงานอายุ 25-59 ปี และผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า ที่น่ากังวลก็คือ มีผู้ป่วยหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ หรือบางคนที่รู้ก็ไม่ยอมเข้ารับการรักษา จากผลการสำรวจบอกว่ามีผู้ได้รับการตรวจรักษาแค่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่โรคนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้
ดังนั้นเพื่อตรวจสอบตัวเองว่ามีอาการเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า
เราเลยมีแบบทดสอบจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มาให้ลองทำกันดู
เพื่อให้ทุกคนได้เช็กตัวเอง และหาแนวทางป้องกันกันต่อไป
ลองทำได้จากภาพข้างล่างเลยค่ะ
หากทำแบบทดสอบแล้วพบว่าตัวเองไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า เราอยากให้ลองช่วยกันสังเกตคนอื่น ๆ แล้วเช็กว่าเขามีอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า หรือถ้าใครมีคนใกล้ตัวเป็นโรคนี้ โปรดเข้าใจ ช่วยเหลือ รับฟัง และให้กำลังใจเขา เพื่อให้เขามีความหวังและสู้ต่อไป
แต่หากทำแบบทดสอบแล้วพบว่าคุณมีภาวะซึมเศร้า หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ ควรหาเวลาไปพบเพื่อนหรือครอบครัวบ่อย ๆ ระบายความเศร้าหรือเรื่องราวต่าง ๆ กับคนที่ไว้ใจ ทำกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข ลองปรับเปลี่ยนความคิดตัวเองให้ดีขึ้น อย่ากลัวโรคซึมเศร้า ยอมรับและพยายามหาทางรักษา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคซึมเศร้าค่ะ
แต่ถ้าหากคุณเริ่มมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเองเมื่อไหร่
ควรรีบพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อขอความช่วยเหลืออย่างเร็วที่สุด
เพราะคุณอาจทำร้ายตัวเอง และมีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายสูง
สุดท้ายนี้อย่าลืมนะคะว่าโรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ โดยมีวิธีการรักษามากมาย ทั้งการใช้ยา พบแพทย์ ทำจิตบำบัด ปรับเปลี่ยนมุมมอง ดังนั้นควรยอมรับให้ได้ รีบหาทางรักษา เข้ารักษาอย่างต่อเนื่อง อย่าสิ้นหวัง และควรบอกคนใกล้ตัวเพื่อให้เข้าใจและช่วยเหลือกันต่อไปด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊ก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ประชาสัมพันธ์ กรมสุขภาพจิต
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ เกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พันธุกรรม สารเสพติด หรือโรคทางกาย และปัจจัยด้านจิตสังคมและลักษณะนิสัย เช่น ความเครียด ความผิดหวัง การมองโลกในแง่ร้าย ส่งผลให้เกิดอาการท้อแท้ ง่วง ซึม หงุดหงิดง่าย รู้สึกเบื่อหน่าย มีอารมณ์เศร้า นอนหลับยาก ไม่ค่อยมีแรง ทำอะไรช้าลง อยู่ไม่นิ่ง รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่สามารถทำงานปกติได้ บางคนอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายตัวเองหรืออยากฆ่าตัวตายได้เลย โดยอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นอยู่นานถึงประมาณ 2 สัปดาห์
รู้ไหมว่า กรมสุขภาพจิตได้เคยสำรวจพบว่า ปัจจุบันมีคนไทยถึง 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ส่วนมากเป็นวัยทำงานอายุ 25-59 ปี และผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า ที่น่ากังวลก็คือ มีผู้ป่วยหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ หรือบางคนที่รู้ก็ไม่ยอมเข้ารับการรักษา จากผลการสำรวจบอกว่ามีผู้ได้รับการตรวจรักษาแค่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่โรคนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้
หากทำแบบทดสอบแล้วพบว่าตัวเองไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า เราอยากให้ลองช่วยกันสังเกตคนอื่น ๆ แล้วเช็กว่าเขามีอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า หรือถ้าใครมีคนใกล้ตัวเป็นโรคนี้ โปรดเข้าใจ ช่วยเหลือ รับฟัง และให้กำลังใจเขา เพื่อให้เขามีความหวังและสู้ต่อไป
แต่หากทำแบบทดสอบแล้วพบว่าคุณมีภาวะซึมเศร้า หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ ควรหาเวลาไปพบเพื่อนหรือครอบครัวบ่อย ๆ ระบายความเศร้าหรือเรื่องราวต่าง ๆ กับคนที่ไว้ใจ ทำกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข ลองปรับเปลี่ยนความคิดตัวเองให้ดีขึ้น อย่ากลัวโรคซึมเศร้า ยอมรับและพยายามหาทางรักษา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคซึมเศร้าค่ะ
สุดท้ายนี้อย่าลืมนะคะว่าโรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ โดยมีวิธีการรักษามากมาย ทั้งการใช้ยา พบแพทย์ ทำจิตบำบัด ปรับเปลี่ยนมุมมอง ดังนั้นควรยอมรับให้ได้ รีบหาทางรักษา เข้ารักษาอย่างต่อเนื่อง อย่าสิ้นหวัง และควรบอกคนใกล้ตัวเพื่อให้เข้าใจและช่วยเหลือกันต่อไปด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊ก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ประชาสัมพันธ์ กรมสุขภาพจิต