เผยวิธีตรวจสอบสถานะโอนเงิน เงินประกันราคาข้าว หรือ เงินประกันรายได้เกษตรกร งวดที่ 1 ของ ธ.ก.ส. พร้อมเช็กราคาส่วนต่าง ประกันราคาข้าว ได้ที่นี่
จากกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/2564 (รอบที่ 1)
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน
ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว โดยกลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ ธ.ก.ส. จะโอนเงินให้กับธนาคารแต่ละสาขา วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ในงวดแรกนั้น
อ่านเพิ่มเติม วิธีเช็กเงินเกษตรกร ประกันราคาข้าว ธ.ก.ส. พร้อมโอนตรงถึงเกษตรกร ใน 3 วัน ทำอย่างไรมาดู
อ่านเพิ่มเติม วิธีเช็กเงินเกษตรกร ประกันราคาข้าว ธ.ก.ส. พร้อมโอนตรงถึงเกษตรกร ใน 3 วัน ทำอย่างไรมาดู
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า เกษตรกรที่เป็นชาวนา สามารถเช็กว่า ธ.ก.ส. โอนเงินได้แล้วที่ chongkho.inbaac.com
โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ถ้าเงินเข้าระบบ จะแจ้งโอนเรียบร้อย
แต่ถ้ายังไม่เข้าให้รอข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ธ.ก.ส.
จะทำการโอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ
ภาพจาก ธ.ก.ส.
- เช็กจากบัตร ATM
- ปรับสมุดเงินฝาก ที่ธนาคาร
ได้เงินเท่าไร
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ แจ้งโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/2564 (รอบที่ 1) หรือ ประกันรายได้เกษตรกร พร้อมจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างงวดแรก วันที่ 16 พฤศจิกายน สามารถช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด ดังนี้
1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 14 ตัน) ได้ส่วนต่างตันละ 2,911 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาท
2. ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท (ไม่เกิน 16 ตัน) ส่วนต่างตันละ 2,137 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 34,199 บาท
3. ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท (ไม่เกิน 30 ตัน) ส่วนต่างตันละ 1,222 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท
4. ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาท (ไม่เกิน 25 ตัน) ส่วนต่างตันละ 1,066 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท
5. ข้าวเหนียว ประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท (ไม่เกิน 16 ตัน) ส่วนต่างตันละ 2,084 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีเงินสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ รวมครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด งวดละ 500 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ