Home »
Uncategories »
ฝีมือหนุ่มไทย เปลี่ยนรถกระบะเป็นรถบ้าน ในงบเพียง 3 แสนกว่าเท่านั้น
ฝีมือหนุ่มไทย เปลี่ยนรถกระบะเป็นรถบ้าน ในงบเพียง 3 แสนกว่าเท่านั้น
ฝีมือหนุ่มไทย เปลี่ยนรถกระบะเป็นรถบ้าน ในงบเพียง 3 แสนกว่าเท่านั้น
คนไทยมีไอเดียเจ๋งไม่แพ้ใครในโลกทีเดียว
เชื่อว่าหากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมไอเดียคงจะไม่ผลงานของชาวไทยที่ออกไปสู่สายตาชาวโลกให้ต้องทึ่งแน่นอน
เหมือนกับหนุ่มไทยไอเดียเจ๋งคนนี้
ที่เอารถกระบะมาทำเป็นรถบ้านที่หรูหราน่าอยู่มาก
มีคุณภาพไม่แพ้รถบ้านจากต่างประเทศที่สำคัญใช้งบไม่มากเพียง 3
แสนกว่าบาทเท่านั้น สะดวกสบายตอบโจทย์การค่ำไหนนอนนั่นได้อีกด้วย
ภายในรถมีสิ่งอำนวยความสะดวกจำเป็นพร้อม
การมีรถบ้านสำหรับคนไทยไม่ไกลเกินไปอีกแล้ว สำหรับไอเดียนี้ถูกแชร์โดยคุณ Original Black
ที่เป็นสมาชิกเว็บอร์ดพันทิป
โดยเป็นเจ้าของรถบ้านนี้และเป็นคนทำเองทุกขั้นตอนตั้งแต่การซื้อรถกระบะ
รวมถึงการออกแบบตกแต่งให้กลายเป็นรถบ้าน
เจ้าตัวบอกว่าเนื่องจากครอบครัวตนชอบเดินทางท่องเที่ยวและคุณพ่อก็อายุเยอะแล้วท่านอยากจะออกเดินทางตามความฝันที่มีในสมัยหนุ่
ๆ และพ่อยังเป็นคนที่ชอบนอนในรถจนเป็นนิสัย
โดยลูกชายก็ได้ทำตามโจทย์ที่คุณพ่อตั้งไว้ดังนี้
1. ขอเป็นรถบ้านที่นอนได้จริง ๆ ให้ความรู้สึกสบายเหมือนนอนที่บ้านไม่ใช่ว่าพอนอนแล้วดันรู้สึกอยากจะออกไปนอนข้างนอก
2. ขนาดต้องพอดีต้องไม่ใหญ่หรือยาวจนเกินไปเพราะคุณพ่อจะขับเอง แต่คนทั่วไปก็ต้องขับได้ และเข้ากับสภาพถนนของประเทศไทย
3. วัสดุที่ใช้จะต้องหาได้ในประเทศไทย และเหมาะที่จะใช้ในไทย
4. อย่าให้น้ำหนักเยอะไปเพราะจะเกิดปัญหาในการเดินทางอีกทั้งยังทำให้เปลืองพลังงานเปลืองน้ำมันอีกด้วย
5. จะต้องใช้พลังงานได้ 2 ทาง คือ น้ำมัน + LPG
6. สมรรถนะของรถจะต้องขับขี่ได้ปกติปลอดภัย
7. พอทำรถเสร็จแล้วต้องนำไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
8. ราคาการทำรถบ้านต้องไม่แพงเกินไป ขอแบบสมเหตุสมผล
9. จะต้องเป็นรถที่สามารถใช้เดินทางคนเดียวได้
10. สามารถจอดนอนในที่ไม่มีไฟฟ้า และ น้ำประปาได้ในระดับหนึ่ง
พอได้โจทย์แล้วก็ทำให้ต้องสร้างเอง
แต่ก็แอบหวั่นกับโจทย์อยู่เหมือนกันเพราะว่าทั้ง 2
คนพ่อลูกนั้นไม่มีทักษะทางด้านช่างยนต์เลย เพราะคุณพ่อจบนิติศาสตร์
แต่คุณลูกชายยังคงเรียนอยู่แถมเรียนบริหารอีกด้วย
สำหรับรถบ้านคันนี้ก็เป็นรถบ้านที่เกิดจากความพยายามและตั้งใจอย่างดีเพื่อสานฝันคุณพ่อ
ก่อนทำก็มีการทำการบ้านอย่างดีเพื่อที่จะปรับปรุงรถทั้งภายในและภายนอกให้ดีที่สุด
โดยเริ่มต้นตั้งแต่การซื้อรถซึ่งคุณพ่อเป็นคนเลือก กระบะช่วงยาว เบนซิน
2.7 มือสองในราคา 360,000 บาท เป็นกระบะทาทา กว้าง 1 เมตร 70 เซนติเมตร
ส่วนภายใน 2 เมตร 50 เซนติเมตร เป็นระยะที่ถูกกฎหมาย
ซึ่งก็ได้มีการหาข้อมูลทางกฎหมายมาประกอบการทำรถบ้านในครั้งนี้ด้วยโดยได้ออกมาเป็นโจทย์ดังนี้
1. ความสูงของรถจากพื้น ถึงหลังคารถต้องไม่เกิน 3 เมตร โดยวัดจากพื้นถนนไปจนถึงหลังคา
2. น้ำหนักของตัวรถรวมหลังคาต้องไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม น่าจะเป็นขนาดของรถกระบะบนทุก
3. ห้ามไม่ให้ทั้งความกว้าง ความยาว ของหลังเกินกว่าตัวรถ
4. ความยาวของโครงสร้างหลังคาด้านหน้าจะต้องไม่เกินขอบกระจกด้านบนของรถ
5. รถที่ใช้เป็นกระบะ มาตรฐานตามกฎหมาย
ความสูงจากพื้นถึงหลังคาตั้งไว้ที่ 1 เมตร 80 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร
เป็นอย่างน้อย ด้านในรถเหมาะกับคนใช้เข้ากับสรีระ
และสามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
6. พอคิดแบบร่างไว้คร่าว ๆ แล้วก็ดำเนินการติดต่อหาร้านสำหรับต่อรถ
พอได้รูปแบบของหลังคาแล้วก็หาอยู่หลายที่เพื่อช่วยทำให้
มีหลายที่ไม่เคยทำเลยไม่กล้าทำให้และสุดท้ายก็ได้มาใช้บริการที่ นำเชียงหลี
NCL Auto
ทางโรงงานก็ได้ทำการสเก็ตซ์รูปหลังคารถอีกตามที่เราต้องการ บวก ลบ
แก้ไขแนะนำได้โดยการใช้ประสบการณ์ทั้งของช่างและของเราประกอบกัน
จากนั้นก็ได้ทำการตกลงราคากันอยู่ที่ 88,685 บาท
และวัสดุเป็นปีเนียมที่หนากว่า 2 ชั้น และด้านในบุความร้อน มีประตูด้านข้าง
1 บาน และ หน้าต่าง 3 บาน ข้าง 2 บาน และ หลังอีก 1 บาน
ร้านนี้ก็บริการดีมากเลยถือว่าไม่แพงนะ
และไฟเก๋งนั้นไปหาซื้อเองที่จตุจักรโดยเขาขายกันคู่ละ 1,000 บาท
โดยประมาณซึ่งซื้อมาทั้งหมด 5 คู่
ในส่วนของหลังคานั้นใช้เวลาประมาณ 30 – 45 วัน แต่ว่าของเจ้าของบทความนี้ใช้เวลาทำ 60 วัน เพราะดันไปเจอช่วงวันหยุดยาวของร้าน
พอได้หลังคามาเรียบร้อยแล้วก็เป็นขั้นตอนการติดตั้งระบบแก๊ส หัวฉีด
ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ที่ 20,400 บาท พร้อมใบรับรองวิศกรรม
ซึ่งเขาต้องการความนุ่มนวลและรถสามารถรับน้ำหนักได้ดี
และสิ่งที่ติดตั้งเพิ่มไปอีกเป็นโช๊คหลังจำนวน 1 คู่ และ แหนบข้างละ 3 แผ่น
ราคา 8,600 บาท แต่ไม่ได้ขอใบวิศวกรรับรอง
โดยทางร้านก็แนะนำอีกว่าหากมีการเพิ่มน้ำหนักก็เอารถมาเพิ่มแหนบได้
ขั้นตอนการนำรถไปจดทะเบียนกระบะ การใส่หลังคาเสริมแหนบ และการติดตั้งการใช้น้ำมัน + LPG
โดยทางกรมขนส่งก็มีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถใช้รถบ้านได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย
1. ความสูงจากพื้นจนถึงหลังคารถต้องไม่เกิน 3 เมตร
2. น้ำหนักรถรวมหลังคาต้องไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
3. อย่าให้ความกว้าง ความยาว หลังคาเกินตัวรถเว้นด้านหน้า
4. ความยาวของโครงด้านหน้าคลุมหลังคาต้องไม่เกินหลังคารถและขอบกระจกด้านบน
หากต้องการจะจดทะเบียนรถใส่หลังคา
สามารถจดได้ที่กรมการขนส่งทั่วประเทศเลย
แต่ว่านะสำหรับการเปลี่ยนพื้นกระบะนั้นจะต้องไปจดทะเบียนที่ขนส่งของรถคันที่ซื้อมาด้วย
ซึ่งคันนี้อยู่ที่กรุงเทพ ฯ ขนส่งหมอชิต
และในการจดทะเบียนก็มีเอกสารจำเป็นจะต้องใช้เหมือนกัน
เอกสารที่ใช้ในการจดทำเบียน
บัตรประชาชน
สมุดคู่มือรถ หรือ เล่มทะเบียนรถ
ใบเสร็จค่าติดตั้ง LPG
ใบเสร็จค่าเปลี่ยนแหนบ และ โช๊ค
ใบเสร็จค่าใช้จ่ายใบการทำโครงสร้างหลังคารถ
ใบเสร็จจากร้านที่เปลี่ยนพื้นกระบะรถ
ใบรับรองวิศวะ ความปลอดภัย ด้านการติดตั้ง LPG สามารถขอจากร้านที่ติดตั้งได้เลย
ใบรับรองวิศวะโครงสร้างหลังคา
ใบรับรองวิศวะรับการเปลี่ยนแหนบและโช๊ค
แต่ก่อนที่จะเอารถบ้านไปทำการจดทะเบียนนั้น จะต้องเอาไปชั่งน้ำหนักก่อน
ซึ่งในส่วนของเจ้าของรถคันนี้ได้นำรถไปชั่งที่ร้านรับซื้อของเก่า มิตรอารี 7
ซอยลาดพร้าว 101 ซึ่งทางร้านมีตราชั่งและรับชั่งของทั่วไปด้วย
ค่าบริการครั้งละ 20 บาท
พร้อมออกใบแสดงน้ำหนักและใบรับรองให้กับเราอย่างถูกต้อง
และจะต้องเอาไปให้ร้านที่ออกใบรับรองวิศวะด้วยนะ
หลังจากนั้นก็เอารถบ้านไปจดทะเบียนที่กรมขนส่งหมอชิตได้เลย โดยไปที่แผนกตรวจสภาพรถพร้อมแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า “ตรวจสภาพรถในการขอจดเปลี่ยนกระบะ เปลี่ยนหลังคา และ จดเปลี่ยนการใช้ LPG”
พร้อมทั้งขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม
ซึ่งก็มีส่วนจะต้องแก้ไขนิดหน่อยเพื่อให้ตรงกับเงื่อนไขของกรมขนส่ง
ก็กลับมาทำการแก้ไขเสร็จแล้วก็กลับไปยื่นขอจดทะเบียนแบบเดิม
และแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าเป็นรถที่ใช้ส่วนบุคคลไม่ได้รับจ้าง
และมีค่าธรรมเนียมในการตรวจเอกสาร ตรวจสภาพรถ อีก 407 บาท
ต่อมาเป็นการเล่าถึงการตกแต่งภายในของตัวรถ
ซึ่งเน้นตกแต่งให้สามารถใช้งานได้อย่างถนัดที่สุดโดยคำนึงพื้นที่ในตัวรถ
และจะต้องไม่ลืมว่าจะต้องใช้ในการเดินทางคนเดียวได้ จอดในที่ไม่มีน้ำ
ไม่มีไฟได้ใน โดยอุปกรณ์ที่ใช้ก็มีดังนี้
อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์
2. อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ไฟฟ้า 12 โวลต์
3. อุปกรณ์ที่ใช้ LPG
ทั้งหมดนี้เป็นการใช้ไฟสำรองแบตเตอร์รี่ 100 แอมป์ 2 ลูก
ซึ่งราคาอยู่ที่ลูกละ 3,200 บาท รวมทั้งหมด 6,400 บาท
มาดูว่าข้างในนั้นมีอะไรบ้าง
หม้อหุงข้าว 12 โวลต์ ราคา 800 บาท
2. หลอดไฟ 3 หลอด 12 โวลต์
3. ปลั๊กไฟชาร์จ USB จำนวน 2 จุด 12 โวลต์
4. พัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ 8 นิ้ว 12 โวลต์ ราคาตัวละ 931.50 บาท 2 ตัว
5. พัดลมเพดานขนาด 10 นิ้ว 12 โวลต์ ราคา 1,100 บาท
6. ตู้เย็นขนาด 12 โวลต์ 22 ลิตร ราคา 5,190 บาท
ไฟฟ้าที่ใช้ผ่านการแปลงไปจากแบตเตอร์รี่ด้วยอินเวอร์เตอร์แปลงไฟ 3,000 วัตต์ 1 ตัว และยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหลายอย่างดังนี้
1. พัดลมดูดอากาศ ในตัวรถเป็นพัดลมขนาด 10 นิ้ว 220 โวลต์ ราคา 879 บาท
2. หลอดไฟ 20 วัตต์ 1 ดวง
3. ปลั๊กไฟ 2 จุด
4. ไมโครเวฟ ราคา 2,590 บาท
5. แอร์ 12000 BTU ราคา 6,500 บาท
6. โทรทัศน์ ขนาด 24 นิ้วพร้อมขายืดผนัง ซึ่งในกรณีนี้ได้ต่อเสา TV และ
Smartphone Cast ไว้ ซึ่งราคาของ TV รวมกับเสาและขาติดผนังอยู่ที่ 5,790
บาท
ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้จากถังปิกนิก ซึ่งจะใช้เป็นถังขนาด 4 กิโลกรัม +
หัวปรับ + อุปกรณ์ต่อรวมเป็นเงิน 1,800 บาท
ซึ่งสิ่งที่ใช้กับแก๊สนี้มีดังนี้
เครื่องทำน้ำอุ่น ราคา 2,800 บาท
เตา ราคา 379 บาท
แท่นวางเตามีโต๊ะครัวพับเก็บได้
ยังมีอุปกรณ์ใช้สอยอื่น ๆ ที่จำเป็นอีกซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้น้ำประปา จะมีสิ่งของดังนี้
1. ชักโครกสแตนเลส พร้อมฝา ราคา 6,400 บาท
2. แท้งค์น้ำ ชักโครกแบบแขวน ราคา 3,000 บาท
3. อ่างล้างมือสแตนเลส ราคา 5,400 บาท
4. ปั้มน้ำ 990 บาท
มาในส่วนของเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในกันบ้าง จะมีดังนี้
1. ที่นอนชั้นบน ราคา 2,700 บาท
2. ที่นอนเบาะนั่งชั้นล่าง ราคา 4,500 บาท
3. ตู้เก็บของปีเนียม แบบแขวน 2 ตู้
4. ตู้แขวนเสื้อผ้าปีเนียม 1 ตู้
มองดูแล้วรถบ้านหนึ่งคันก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกเยอะมากเหมือนกัน
สมกับเป็นรถและเป็นบ้านไปพร้อมกันเลย ซึ่งค่าใช้จ่ายโดยสรุปนั้นเฉพาะตัวรถ
ราคา 360,000 บาท ในส่วนของโครงสร้าง ระบบน้ำ ไฟ ช่วงล่าง และอุปกรณ์ต่าง ๆ
รวมไปถึงค่าช่าง ค่าจดทะเบียนราคาจะอยู่มี่ 311,173 บาท
ถ้าหากอยากจะลองทำรถบ้านก็ลองเอาความรู้นี้ไปเป็นตัวช่วยได้เลย
มีที่นอนไว้พักผ่อน สบายๆ
ตู้แขวนเสื้อผ้า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คุณ Original Black สมาชิกพันทิป