ประกาศใช้แล้ว “เก็บภาษีพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์” ฝ่าฝืน ” โ ทษปรับ ” วันละ 10,000 บาท

วันนี้เรามีเรื่องน่ารู้มาฝากแม่ค้าออนไลน์ทกๆ คน เพราะตอนนี้ได้มีการประกาศ “เก็บภาษีแม่ค้าออนไลน์” ให้มีผลใช้แล้ว ฝ่าฝืนโทษปรับวันละ 10,000 บาท

ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 โดยมีเหตุผลว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติได้กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐ

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษี ประกอบกับลักษณะในการทำธุรกรรมของภาคเอกชนในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูลเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร และเพื่อให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีอากร สมควรปรับปรุงวิธีการนำส่งเงินภาษีบางประเภทและการยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร ให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรได้

นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร และปรับปรุงอัตราโทษสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

โดยผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ดังต่อไปนี้

1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป

2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รายงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้มีหน้าที่รายงานปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดี ให้อธิบดีมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 แสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และปรับปรุงอัตราโทษเจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 10 มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และเพื่อความกระจ่างชัดในข้อนี้เราจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูล”วิธีนับจำนวนครั้งจำนวนเงิน”มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลจากเพจ TAXBugnoms คุณผู้อ่านท่านใดสนใจและต้องการหาความรู้ในเรื่องของภาษี ก็สามารถเข้าไปติดตามเพจนี้กันได้เล๊ย

“วิธีนับจำนวนครั้งจำนวนเงิน”

เคลียร์ให้ชัด วิธีนับจำนวนครั้งจำนวนเงิน

เพื่อเช็คว่าธนาคารจะส่งบัญชีเราให้สรรพากรไหม?



พรี่หนอมสรุปวิธีสั้นๆให้ว่านับยังไง แบบไหน?

  1. เช็คตัวเองก่อนว่าเรามีบัญชีกี่ธนาคาร

  2. แยกแต่ละธนาคารออกมา

  3. นับรวมทุกบัญชีที่เป็นชื่อเราในธนาคารนั้นๆ

  4. ยอดที่นับ คือ ยอดเงินเข้าบัญชี*

  5. เอ้า… นับรายการทั้งปีได้เลย**

หลังจากนั้นมาเช็คต่อว่า

1. รายการเข้าทั้งหมดถึง 400 ครั้งไหม?

ถ้าไม่ถึง = ไม่ส่ง #รอด

2. ถ้าถึง/เกิน 400 ครั้ง ดูว่ายอดเงินถึง 2 ล้านไหม

ถ้าไม่ถึง = ไม่ส่ง #ยังรอด

3. เช็คครั้งสุดท้าย รายการเข้าถึง 3,000 ครั้งไหม

ถ้าไม่ถึง = ไม่ส่ง #ก็รอดอยู่ดี

เช็คเป็นขั้นตอนแบบนี้ จะได้สบายใจ และที่สำคัญจำไว้ด้วยว่า ต่อให้ไม่ส่ง ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ถูกสรรพากรตรวจนะจ๊ะ มันคนละเรื่องกัน

ป.ล. อ่านเพิ่มสักนิด จะได้ติดใจ

* จะฝากแบบไหนรับเงินอย่างไร จากกฎหมายหลักตอนนี้ตีความว่าถ้าเข้าบัญชี คือ นับหมดจ้า

** วันที่กฎหมายบังคับใช้คือ 21 มีนาคม 2562 หลายคนสงสัยว่าจะนับทั้งปี หรือ หลังจากที่กฎหมายบังคับใช้ ถ้ายึดหลักกฎหมาย ควรจะเริ่มหลังจากกฎหมายบังคับใช้ครับ แต่ยังไงก็รอกฎหมายหรือประกาศเพิ่มเติมอีกทีนะครับผม

เนื่องจากหลายคนถามมาทางข้อความ ตอบไม่ทันจ้า ขอตอบทางนี้ทีเดียวละกันนะครับผม ฝากแชร์บอกเพื่อนๆด้วยครับ ขอบคุณจ้าาา

#TAXBugnoms

แหล่งที่มา : taibannblognone,TAXBugnoms