Home »
Uncategories »
วงการตลกสูญเสียครั้งสำคัญ “พ่อดม ชวนชื่น” ปิดตำนานตลกของเมืองไทย
วงการตลกสูญเสียครั้งสำคัญ “พ่อดม ชวนชื่น” ปิดตำนานตลกของเมืองไทย
วันที่ 24 ธ.ค.61
มีรายงานแจ้งว่าในวงการบันเทิงบ้านเราได้มีการสูญเสียตลกรุ่นใหญ่ อย่าง
พ่อดม ชวนชื่น ซึ่งเฟสบุ๊กที่ชื่อว่า ชูษี เชิญยิ้ม ได้โพสรูปภาพของพ่อดม
พร้อมระบุข้อความว่า หลับให้สบายครับ พ่อดม ปิดตำนานตลก.
คนแต่งเพลงและคนร้องเพลง. “พิษรักพิษณุโลก”
“พ่อดม ชวนชื่น” จากไปด้วยโรคมะเร็งด้วยวัย 84 ปี โดยครั้งหนึ่งนั้น
พ่อดม ได้ไปรักษา โรคมะเร็งตับระยะสุดท้ายเมื่อ 7 เดือนก่อน และลูกๆ
ส่งไปรักษาตัวที่ประเทศจีน
โดย “พ่อดม ชวนชื่น” นั้น เสียชีวิตลงแล้วอย่างสงบที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเมื่อเวลาประมาณ 11 โมงวันนี้ (24/12/2561)
ซึ่งได้มีหลายคนที่อยู่ในแวดวง ต่างโพสต์อาลัยกับการจากไปของพ่อดม
ประวัติย่อ ของพ่ออุดม ชวนชื่น เป็นชาวบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ครอบครัวมีอาชีพเป็นลิเก
เขาจึงถูกดึงเข้าสู่ธุรกิจและศิลปะแขนงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อุดม
ชวนชื่นชอบเรื่องดนตรี
จึงสามารถเล่นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงลิเกได้ทุกชิ้น
แต่ใจจริงเขาอยากเป็นนักดนตรีสากลมากกว่า เพราะเห็นว่าเท่ห์ดี
เขาจึงไม่ค่อยชอบเมื่อต้องถูกนำมาหัดร้องรำลิเก
และก็มักจะหลบหนีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ
แต่ดวงของเขาผูกพันกับเรื่องลิเกอย่างช่วยไม่ได้ ทำให้ในที่สุด
ก็ต้องจับพลัดจับผลู เข้ามารับบทเป็นพระเอกลิเกจนได้
เมื่อพระเอกลิเกในคณะขาดเขาจึงถูกนำตัวขึ้นรับบทพระเอกแทนอย่างกะทันหัน
แต่ด้วยไหวพริบ การรู้จังหวะดนตรี และปฏิภาณที่มีอยู่เหลือล้น
ก็ทำให้เขาสามารถแสดงจนผ่านพ้นไปได้ด้วยดี หลังจากนั้น
ก็จึงได้เร่งหัดลิเกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ โดยลิเกคณะแรกที่อุดม ชวนชื่น
รับบทเป็นพระเอก ก็คือคณะ ศิลป์ส่งเสริม
อุดม ชวนชื่น ในคราบของพระเอกลิเก
ประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ต่อมา
เขาก็แยกมาตั้งคณะลิเกอุดมศิลป์ และเมื่อมีรายการวิทยุ
เขาก็แสดงลิเกออกวิทยุในนามคณะ อุดม – แววดาว ซึ่งเป็นน้องสาว
และก็ประสบความสำเร็จอย่างมากที่จันทบุรี หลังจากที่แสดงไปได้แค่ 7 วัน นอก
จากนั้น อุดม ชวนชื่น ก็ยังเป็นผู้ที่นำเอาดนตรีสากลมาเล่นร่วมกับลิเกด้วย
เนื่อง จากเป็นคนชอบดนตรีสากลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
เขาจึงหัดเป่าแซ็กโซโฟนด้วยตัวเอง เมื่อพอเล่นได้
เขาก็หาวิธีการดึงผู้ชมให้เข้ามาดูลิเก ด้วยการเล่นดนตรีสากลในช่วงหัวค่ำ
เพื่อเรียกคน คณะลิเกของเขาจึงมีทั้งแอ็คคอร์เดี้ยน กีต้าร์ เบส และกลองชุด
ไปๆมาๆ เครื่องดนตรีเหล่านี้ก็ถูกนำไปเล่นรวมกับเครื่องดนตรีลิเก
อุดม ชวนชื่น รับบทเป็นพระเอกอย่างยืนยงจนอายุมาก
และหลังจากที่ได้ยินคนดูบ่นให้ฟังเรื่องอายุมาก
เขาก็ตัดสินใจล้างมือจากการเป็นพระเอกลิเก และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทันที
จากนั้นก็ได้ไปสมัครเป็นนักดนตรีตามวงดนตรีลูกทุ่งต่างๆ
แต่ปรากฏว่าไม่มีที่ไหนรับ เพราะไม่รู้โน๊ต
เขาจึงต้องใช้เวลาในการเรียนโน๊ตด้วยตัวเองจากการซื้อตำรามาอ่านอยู่ 2 ปี
ก่อนที่จะมาสมัครอยู่วงดนตรี เพลิน พรหมแดน
เขาเป็นนักดนตรีอยู่นาน 7 – 8 ปี ต่อมาเมื่อตลกคาเฟ่เริ่มเป็นที่นิยม
เทพ โพธิ์งาม และ เพชร ดาราฉาย ต่างก็ได้ออกจากวงเพื่อไปเล่นคาเฟ่ เพลิน
พรหมแดน จึงขอให้อุดม ชวนชื่น ลองไปแสดงตลกที่หน้าเวทีดู
ปรากฏว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะทำเอาหัวหน้าวงที่แอบดูอยู่
ถึงกับขำกลิ้งอยู่หลังเวที นับตั้งแต่วันนั้น อุดม ชวนชื่น
จึงรามือจากการเป็นนักดนตรี และหันมาเล่นตลกอย่างเดียว
โดยได้ค่าตัวถึงคืนละ 500 บาท เขาเล่นตลกอยู่ราว 1 ปี
ต่อมา เมื่อมีโอกาส อุดม ชวนชื่น ก็หาโอกาสนำจิ้ม ชวนชื่น ลูกชาย
ซึ่งก็เล่นลิเกอยู่ มาร่วมวงเพลิน พรหมแดนด้วย โดยเริ่มจากการเป็นตลก
ได้ค่าตัว 150 บาท และต่อมา เพลิน พรหมแดน ก็เพิ่มค่าตัวให้เป็น 300
บาทเหตุเพราะร้องเพลงเพราะ ต่อมาจิ้ม ชวนชื่น ได้เป็นลูกคู่ของเพลิน
พรหมแดน แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน วงเพลิน พรหมแดน ก็ยุบวง อุดม ชวนชื่น
ที่ตกงาน ก็จึงหยิบเครื่องดนตรีไปสมัครเป็นนักดนตรีวงสายัณห์ สัญญา
แต่ก็ถูกปฏิเสธ เหตุเพราะว่าอายุมาก เขาเคยไปสมัครอยู่กับวงสังข์ทอง สีใส
ที่ให้ค่าตัวคืนละ 200 บาท แต่ไม่เคยได้ขึ้นเล่นดนตรี อุดม ชวนชื่น
จึงรู้สึกเกรงใจ และหลบออกมา ต่อมา เขามาสมัครอยู่กับวงหงษ์ทอง ดาวอุดร
แต่อยู่ได้ไม่นาน ก็รวบรวมสมัครพรรคพวก และลูกชายคือจิ้ม ชวนชื่น
ตั้งคณะตลกชื่อ ชวนชม แต่อยู่ได้ไม่นาน ก็แตกคอกัน ก็เลยแยกตัวออกมา
และไปขอให้หลวงพ่อวัดเชิงหวาย ตั้งชื่อคณะตลกให้
ซึ่งหลวงพ่อก็เอาชื่อศาลาวัด ที่ชื่อศาลาชวนชื่น มาตั้งเป็นชื่อคณะตลก
ที่ต่อมากลายมาเป็นตำนานตลกครอบครัวที่โด่งดังที่สุดในประเทศไทย
โดยสมาชิกในวงล้วนแล้วแต่เป็นลูกหลานมากมายของอุดม ชวนชื่น
ที่มีเอกลักษณ์ของเอกบุรุษด้วยการมีภรรยาหลายคน
สำหรับเรื่องการแต่ง เพลงนั้น อุดม ชวนชื่น ได้รับคำแนะนำมาจากพร ภิรมย์
ในช่วงที่ไปเล่นลิเกด้วยกันนาน 2 ปี และสนิทสนมกันเป็นอย่างดี โดยพร
ภิรมย์ แนะนำให้อุดม ชวนชื่น อ่านกลอนพระอภัยมณี ของสุนทรภู่
จนเข้าใจในสัมผัสนอกสัมผัสใน ที่เป็นหัวใจของการแต่งเพลง เป็นอย่างดี
สำหรับนักร้องคนแรกที่ได้ร้องเพลงของอุดม ชวนชื่น ก็คือคัมภีร์ แสงทอง
นอกจากนั้น เขาก็ยังแต่งเพลงให้ยอดรัก สลักใจ , เอกชัย ศรีวิชัย และอื่น ๆ
อีกหลายคน แต่ไม่มีเพลงไหน ประสบความสำเร็จมากเท่ากับ พิษรักพิษณุโลก เลย
เพลงนี้เป็นเพลงเดียวที่ทำให้เขาได้รับเงินจากการแต่งเพลง โดยเขาได้มา 2
หมื่นบาทเมื่อมีการนำเพลงไปใช้ประกอบภาพยนตร์