กระเป๋านักเรียน ที่ลูกพายไม่ควรหนักเกินไป

พูดถึงเรื่องของเด็กนักเรียนที่ไปโรงเรียน ซึ่งแต่ครั้งเด็กๆมักจะนำหนังสือใส่กระเป๋าไปโรงเรียนเยอะมากจนต้องเดินหลังโก่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรที่จะมองข้ามเพราะส่งผลต่อลูกๆแน่นอน ควรจะจัดกระเป๋าให้กับลูกเฉพาะวิชาที่ต้องเรียนเท่านั้น เพราะหากสะพายกระเป๋าหนักเสี่ยงที่จะเสียบุคลิกได้ วันนี้เราได้นำสาเหตุที่ไม่ควรให้ลูกสะพายกระเป๋าที่หนักเกินไป ลองไปดูกันเลยจ้า

การสะพายกระเป๋านักเรียนหนักๆ ส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกสันหลังของเด็กจริง หากต้องสะพายกระเป๋าหนัก ๆ ไปโรงเรียนทุกวัน อาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมาได้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังเรื้อรัง และส่งผลต่อรูปร่างของกระดูกสันหลังในอนาคตอีกด้วย

โดยมีการศึกษาชัดเจนพบว่า หากมีอาการปวดหลังตั้งแต่ตอนเด็กๆ โตขึ้นไปอาการปวดหลังจะเกิดเรื้อรังได้ โดยในต่างประเทศนั้น คนที่ปวดหลังเรื้อรัง เช่น ในวันแรงงานก็มีปัญหามาตั้งแต่วัยเด็ก และวัยรุ่น ยิ่งถ้าแบกกระเป๋าที่หนักมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จะเห็นได้เลยว่าลักษณะของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ความโค้งงอของกระดูกสันหลังจะผิดปกติไป

ไม่เพียงแต่จะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายเท่านั้น ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กด้วย ถึงแม้จะไม่มาก แต่คุณหมอท่านนี้บอกว่า การที่เด็กสะพายกระเป๋านักเรียนหนักๆ เป็นประจำ กล้ามเนื้อทั้งไหล่ ทั้งเอวจะเมื่อยล้า เป็นไปได้ที่สมาธิในการเรียนรู้ของเด็กจะลดลง

“ก็เหมือนผู้ใหญ่นั่นแหละ หากต้องแบก หรือยกอะไรหนัก ๆ ก็ต้องเมื่อยล้าเป็นธรรมดา แต่สำหรับเด็กผมคิดว่ากระเป๋ามันหนักเกินไปนะ ต้องมีใครเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง โดยเฉพาะโรงเรียนที่ควรเข้ามามีส่วนช่วยเด็ก โดยหาตู้ หรือโต๊ะเพื่อไว้เก็บสัมภาระ หรือหนังสือ รวมถึงสอนเด็กจัดตารางสอนให้พอดี และถือของเท่าที่จำเป็นไปโรงเรียน ซึ่งพ่อแม่ และโรงเรียนต้องให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ด้วยครับ” ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังและข้อเผยอันตรายใน กระเป๋านักเรียนใบหนัก ของลูก!

ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ ทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มีข้อเสนอแนะไว้เป็นทางเลือกว่า

เลือกใช้กระเป๋ามีล้อเข็น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนักกดทับกระดูกสันหลัง อย่างไรก็ตามเด็กนักเรียนก็ยังคงต้องแบกหิ้วกระเป๋าล้อเข็นขึ้นลงรถโดยสาร หรือบันไดอยู่ดี ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มได้ง่าย พ่อแม่ควรพิจารณาน้ำหนักโดยรวมทั้งหมดต้องไม่ควรเกิน 20 % ของน้ำหนักตัว เช่น เด็กน้ำหนักประมาณ 20 ก.ก. น้ำหนักกระเป๋าไม่ควรเกิน 4 ก.ก.

การใช้กระเป๋าแบกหลัง ต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับเด็ก มีช่องว่างใส่ของเพียงพอ และจัดวางอย่างเหมาะสมโดยให้น้ำหนักกระจายไปทั่วกระเป๋า สายสะพายไหล่ควรมีความกว้างกว่า 6 ซ.ม. สายที่เล็กจะทำให้กดทับบริเวณไหล่ ซึ่งอาจกดลึกจนมีผลต่อกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทได้

การใช้กระเป๋าสะพายหลัง ต้องปรับสายสะพายเพื่อให้กระเป๋าแนบหลัง ไม่ห้อยต่ำ ก้นกระเป๋าต้องไม่อยู่ต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าบั้นเอว และผู้ใช้ต้องเดินตัวตรง ไม่เอนตัวไปข้างหน้า

การแบกกระเป๋าต้องใช้สายสะพายไหล่ทั้งสองข้าง เพื่อให้น้ำหนักกระจายตัวอย่างสมดุล การสะพายไหล่ข้างเดียวจะมีความเสี่ยงสูงต่อการปวดต้นคอ ไหล่ และหลังได้ เพราะน้ำหนักถ่วงไม่สมดุลย์นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น กระเป๋านักเรียนที่สะายไปเรียนเกือบ 4 กิโลกรัม หลายคนอาจจะบอก ก็ 4 กิโลกรัมเอง แต่ถ้าเอามาเทียบน้ำหนักตัว ผมว่าเยอะนะครับ (มีวันอื่น ที่กระเป๋าหนักกว่านี้ มากสุดก็เกือบ 5 กิโลกรัม)

ลูกผมหนัก 24 กิโลกรัม แปลว่า ลูกต้องแบกน้ำหนักเพิ่มถึง 1/6 ของน้ำหนักตัว(16.67%) ผมว่ามันมากเกินไปนะครับ อย่างผมหนัก 80 กิโลกรัม ถ้าแบก 1/6 ของน้ำหนักตัว ก็ 13.33 กิโลกรัมเลยนะครับ แค่คิด ก็ไม่อยากแบกแล้ว

เคยคุยกับหมอ อาจจะมีปัญหาเรื่องกระดูกและข้อต่อได้ ทำให้เด็กเดินตัวเอียง ห่อไหล่ ทิ้งน้ำหนักไปที่เท้าไม่เท่ากัน ส่งผลให้เด็ก ปวดคอ ไหล่ หลัง และกระดูกโค้งเปลี่ยนรูปได้

ลองไปหาข้อมูลว่ามาตรฐานน้ำหนักกระเป๋านักเรียนควรอยู่ที่เท่าไหร่?
ต่างประเทศ กำหนด น้ำหนักกระเป๋านักเรียน ร้อยละ 10-20 ของน้ำหนักตัว แต่คนไทยตัวเล็ก กำหนดที่ไม่ควรเกินร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัว เด็กอายุ 7 ปี น้ำหนักมาตรฐาน ประมาณ 22.5 กิโลกรัม ดังนั้น กระเป็านักเรียนไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 3.375 กิโลกรัม

ทางแก้ ถ้าไม่สามารถลดน้ำหนักสิ่งของที่พกไปได้ ก็อาจจะมีล้อลากที่กระเป๋าครับ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้หยุดพักบ้าง จัดกระเป๋าให้น้ำหนักไม่มากไปข้างใดข้างนึง ต้องใส่สะพายกระเป๋าทั้งสองข้าง โดย1สาย/ไหล่

แล้วดูยังไงว่าเด็กผิดปกติไหม?
ก็ให้เด็กถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ให้ยืน แล้วสังเกตุว่า ไหล่ สะโพก ทั้งสองข้างอยู่ในระดับเดียวกันไหม ดูแนวกระดูสันหลังว่าตคดงอไหม ถ้าผิดปกติ ก็ต้องไปพบแพทย์ครับ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ) กล่าวให้ข้อมูลว่า ถ้าสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนัก 20% ของน้ำหนักตัวเด็ก จะมีโอกาสเกิดอาการ ปวดคอ ปวดหลัง กระดูกสันหลังคด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังทำให้การทำงานของปอดลดลงอีกด้วย

สำหรับคำแนะนำการซื้อกระเป๋าเป้สะพายหลังมีดังนี้
กระเป๋าต้องน้ำหนักเบา ความกว้างกระเป๋าต้องไม่กว้างกว่าไหล่ และความสูงของกระเป๋าเมื่อเด็กนั่งลง ต้องไม่สูงเกินไหล่ ขณะที่สายสะพายไหล่ควรหุ้มเบาะทั้ง 2 เส้น และควรมีความกว้างกว่า 6 ซม. เพื่อกระจายแรงที่กดลงบนไหล่ ที่สำคัญควรคล้องสายสะพายไหล่ทั้ง 2 เส้น อย่าสะพายหรือแบกข้างเดียว และปรับสายสะพายให้กระชับพอดี เพื่อให้กระเป๋าแนบหลังและก้นกระเป๋าอยู่สูงกว่าเอว ถ้ามีสายรัดบริเวณเอวก็ควรใช้ด้วย จะช่วยให้กระเป๋ากระชับกับแผ่นหลัง ไม่แกว่งไปมาขณะเดินหรือวิ่ง

อย่างไรก็ตาม น้ำหนักกระเป๋าไม่ควรเกิน 10-15% ของน้ำหนักตัว หรือหากเด็กสะพายกระเป๋า แล้วเดินโน้มตัวมาข้างหน้า แสดงว่าน้ำหนักกระเป๋ามากเกินไป จึงควรจัดสิ่งของที่มีน้ำหนักมากที่สุด ให้อยู่ชิดบริเวณกลางหลังมากที่สุด และจัดวางให้น้ำหนักกระจายทั่วกระเป๋า ทั้งนี้ภัยใกล้ตัวที่คุณพ่อ-คุณแม่มองข้าม และมักไม่ค่อยสนใจกันเท่าไหร่ กลายเป็นเรื่องเคยชินจนเป็นปัญหาสุขภาพ เพราะหลังเล็กๆ ของเด็กก็มีความหมาย

ถึงเวลาแล้วที่ผู้ใหญ่ทั้งหลาย ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมเสียที เพราะไม่เช่นนั้น เด็กในวันนี้อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพตามมาในอนาคตได้ นั่นหมายความว่า คุณภาพในการใช้ชีวิตของเด็กอาจด้อยลงตามไปด้วย

เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับสาเหตุที่ไม่ควรจะให้ลูกสะพายกระเป๋าหนักๆ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากๆ ใครที่ลูกชอบพายกระเป๋าหนักๆควรเปลี่ยนนะคะ จะได้ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกาย