ขี้เกียจตื่นเช้า เหนื่่อยง่าย อยากนอนกลางวัน คือสัญญาณอันตราย! เสี่ยง “ภาวะหมวกไตล้า”
13 สัญญาณ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
เช่น ขี้เกียจตื่นเช้า ง่วงตอนกลางวัน
ชอบขนมหวานอาจบ่งบอกว่า
คุณอาจกำลังเป็น “ภาวะหมวกไตล้า”
มาตรวจสอบตัวเองกันค่ะ
ว่าคุณกำลังมีอาการเช่นนี้อยู่หรือไม่
แล้วคุณจะพบว่า ภาวะหมวกไตล้า
อยู่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิดค่ะ
.
13 สัญญาณ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เสี่ยง “ภาวะหมวกไตล้า”
ลองตรวจเช็คตัวคุณว่า
มีอาการเช่นนี้บ่อยครั้งหรือไม่
หากมีอาการเช่นนี้
นี่อาจเป้นสัญญาณบ่งบอกว่า
– คุณกำลังเป็นภาวะหมวกไตล้า
– ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
– เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อยากนอนตอนกลางวัน
– ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
– ชอบทานของหวาน น้ำตาล
– อาการดีขึ้นเมื่อกินของหวาน
– ติดกาแฟ
– ชอบกินเค็ม
– หน้ามืดวิงเวียน เวลาลุกนั่งเปลี่ยนท่า
– ผิวแห้ง หมองคล้ำ
– อารมณ์แปรปรวนง่าย
– โรคภูมิแพ้ ผื่นแพ้ง่าย
– เป็นหวัดบ่อย
– น้ำหนักขึ้นง่าย
วิธีการรักษาภาวะหมวกไตล้า
.
ขจัดความเครียด
ความเครียด เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมวกไตล้า
การรักษาภาวะหมวกไตล้า
จึงต้องเริ่มต้นจากการรักษาที่ต้นเหตุ
นั่นคือ กำจัดความเครียดให้หมดไป
ตรวจหาภูมิแพ้อาหาร
เชื่อหรือไม่ว่า “ภูมิแพ้อาหาร” นั้นสามารถส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพของคุณได้มากมาย
ไม่ใช่เพียงแค่อาการแพ้เกิดผดผื่น
อาการบวม แดง คัน อย่างที่
เราเห็นกันบ่อยครั้งเพียงเท่านั้น
นอนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
การนอนคือการพักผ่อนให้ดีที่สุดอย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมงนะคะ
ควรนอนก่อน 4 ทุ่ม
ควรนอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกาย
อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
นอนราบระหว่างวัน เมื่อรู้สึกเพลีย
เมื่อรู้สึกเพลีย อย่าฝืนตัวเองเพราะต่อให้ฝืนตัวเองต่อไป
ก็ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ แถมยังทำให้
คุณไม่สามารถเรียนหรือทำงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
ควรนอนราบเป็นการพักผ่อน
ออกกำลังกายแบบไม่แข่งขันเพื่อความเพลิดเพลิน
การออกกำลังกายที่ต้องแข่งขันอาจทำให้ผู้ออกกำลังกาย
เกิดอาการเครียดได้
เนื่องจากเราต้องการลดความเครียด
จึงควรเลือกการออกกำลังกายที่สนุกสนาน
มีความสุข ผ่อนคลาย
ไม่แข่งขัน ไม่เกิดความเครียด
รับประทานอาหารเช้าก่อน 10 โมง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควรเลือกอาหารที่สด สะอาด
เลือกอาหารประเภทไขมันดี
และคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใย
ควรแบ่งเป็นมื้อย่อย 5-7 มื้อต่อวัน
บางคนรู้สึกหิวเป็นระยะตลอดทั้งวันหากปล่อยให้รู้สึกหิวจนแสบท้อง
หรือปวดศีรษะก็จะไม่ดีต่อสุขภาพ
จึงควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ
ประมาณ 5-7 มื้อต่อวัน
เพื่อควบคุมความหิว
และเพื่อให้ร่างกายมีสารอาหารที่ดี
เพียงพอต่อร่างกายอยู่เสมอ
สารเสริมอาหารบางชนิด
สำหรับคนที่รับประทานอาหารแล้วได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
กับสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
หรือมีภาวะที่ขาดสารอาหารบางชนิด
อาจต้องรับประทานอาหารเสริม
เพิ่มเติมตามที่แพทย์สั่ง
ปรึกษาแพทย์
หากคุณมีอาการรุนแรง เรื้อรังหรือ ต้องการรับการตรวจ
วินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อความแน่ใจ
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี
และ เหมาะสำหรับตัวคุณมากที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ. กานต์พิชชา พตั่งฮวดพาเจริญ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาลนครธน
ขอบคุณแหล่งที่มา – GOODLIFE