จากกรณีเจ้าหน้าที่ทหาร
ตำรวจ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.) หรือ หน่วยซีล กู้ภัย
และอื่นๆ ที่ร่วมภารกิจปฏิบัติการช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า
และผู้ฝึกสอน รวม 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย อย่างแข็งขันตลอด 24 ชั่วโมง
และเมื่อเย็นวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา สามารถนำน้องๆ ออกจากถ้ำมาได้แล้วจำนวน
4 คน เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ต.เวียง
อ.เมือง จ.เชียงรายแล้วนั้น
วันที่
9 ก.ค. เดลี่เมล์ เปิดเผย แผนการช่วยเหลือเด็กๆ
และโค้ชทีมหมู่ป่าออกจากถ้ำหลวงว่า นายแพทย์ริชาร์ด แฮร์ริส
วิสัญญีแพทย์และนักสำรวจถ้ำชาวออสเตรเลีย อายุ 53 ปี
หนึ่งในเจ้าหน้าที่ทีมช่วยเหลือ
ผู้อยู่เบื้องหลังการปรับเปลี่ยนแผนพาเด็กที่มีร่างกายอ่อนแอที่สุดออกจากถ้ำก่อน
แทนแผนการเดิมที่จะนำเด็กซึ่งมีร่างกายแข็งแรงที่สุดออกจากถ้ำระหว่างรอให้เด็กในกลุ่มอ่อนแอได้พักฟื้นและสร้างความเข้มแข็งพอที่จะดำน้ำออกมาได้
อย่างไรก็ตาม นายแพทย์แฮร์ริส ระบุว่า หากปล่อยให้เด็กที่อ่อนแอ
รออยู่ในถ้ำซึ่งสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อไป ก็เกรงว่าเด็กๆ
กลุ่มดังกล่าวอาจไม่รอดชีวิต
จึงตัดสินใจโน้มน้าวกระทั่งทีมเจ้าหน้าที่ไทยเห็นพ้องและเปลี่ยนปฏิบัติเป็นนำตัวเด็กที่อ่อนแอออกมาได้ในที่สุด
ทั้งนี้ นายแพทย์แฮร์ริส ได้รับการร้องขอจากนำดำน้ำชาวอังกฤษให้ร่วมทีมนาวิโยธินหน่วยซีลของไทย และทีมนักดำน้ำชาวออสเตรเลียอีก 18 คนในภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่า เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการดำน้ำมานานกว่า 30 ปี และยังคุ้นเคยการทำงานช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ภายในถ้ำมาอย่างโชกโชน
ทั้งนี้ นายแพทย์แฮร์ริส ได้รับการร้องขอจากนำดำน้ำชาวอังกฤษให้ร่วมทีมนาวิโยธินหน่วยซีลของไทย และทีมนักดำน้ำชาวออสเตรเลียอีก 18 คนในภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่า เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการดำน้ำมานานกว่า 30 ปี และยังคุ้นเคยการทำงานช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ภายในถ้ำมาอย่างโชกโชน
โดยหนึ่งในภารกิจสร้างชื่อให้กับนายแพทย์แฮร์ริส
คือ การนำร่าง น.ส.แอ๊กเนส มิโลว์กา
นักดำน้ำสตั้นท์ที่ขาดอากาศหายใจขณะดำน้ำในถ้ำแทงก์เคฟ เมืองทันตานูลา
ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย เมื่อปี 2554 นอกจากนี้ นายแพทย์แฮร์ริส
ยังเป็นหนึ่งในนักดำน้ำสำรวจถ้ำหลายแห่งในออสเตรเลีย เกาะคริสต์มาส
นิวซีแลนด์ และจีน