ไขข้อข้องใจ? ทำไมใช้รหัส “หมูป่า” เรียกแทนชื่อ 13 ชีวิต ติดถ้ำหลวง



ประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สะท้อนเรื่องสื่อกับการนำเสนอข่าว การช่วยเหลือเด็กและเยาชน 13 คนติดถ้ำหลวง ว่า ไม่ควรเปิดเผยชื่อเด็ก ขณะจนท.นำออกจากถ้ำ เพราะการนำใครออกมาก่อน นั่นหมายถึงเด็กมีความพร้อมก่อน นอกจากนี้ การใช้ชื่อ "หมูป่า" แทนชื่นจริงเด็กและเยาวชนนั้น ในกระบวนการส่งกลับ การไม่เปิดเผยชื่อขณะปฏิบัติการ จึงเป็นการคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน



นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สะท้อนข้อคิดและข้อเสนอของการทำหน้าที่สื่อมวลชน ผ่านเพจสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรื่อง "การช่วยเหลือเยาวชนติดถ้ำในขั้นที่ 3 หรือการส่งกลับ ศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หรือศอร. ใช้รหัสเรียก "หมูป่า" แทนการเรียกชื่อเยาวชน มีเหตุผลก็เพราะ





1. การนำใครออกมาก่อน เป็นความพร้อมของเด็กแต่ละคนที่ยังแตกต่างกัน

2. ระหว่างปฏิบัติการ แม้ประเมินแล้วว่าสามารถ "ส่งกลับ" ได้ แต่ก็ยังเป็น "สถานการณ์"

3. แม้การเริ่มต้น "ส่งกลับ" จะได้ "หมูป่า" 4 ตัว มาพักฟื้นที่โรงพยาบาล แต่ก็ยังอยู่ในกระบวนการส่งกลับ - การไม่เปิดเผยชื่อขณะปฏิบัติการ จึงเป็นการคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน และป้องกันความเข้าใจผิด ตลอดจนความรู้สึกใด ๆ ที่ไม่เหมาะสมจากสังคม





เพื่อนร่วมวิชาชีพจึงควรทำความเข้าใจและระมัดระวังการนำเสนอข่าวเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก และป้องกันการเกิดประเด็นทางจริยธรรม โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่สังคมกำลังติดตามและตรวจสอบการทำงานของพวกเรา"

ที่มา : amarintv.com